คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5914/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีศาลลบแก้ไขคำสั่ง และจำเลยไม่ทราบคำสั่งที่แก้ไข
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอุทธรณ์ของจำเลยลงวันที่ 8 ตุลาคม 2546 ปรากฏมีรอยลบด้วยหมึกสีขาวในตอนท้าย แล้วมีข้อความเขียนทับลงบนรอยลบดังกล่าวใหม่เป็นที่ประจักษ์ดังที่จำเลยกล่าวอ้าง อันเป็นการขูดลบโดยศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 46 วรรคสอง เป็นการไม่ชอบ และตามสำนวนที่ปรากฏต่อมาว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมฉบับลงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 อ้างว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลได้ทันตามกำหนด อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดแย้งกับคำสั่งของศาลชั้นต้นบนรอยลบด้วยหมึกสีขาวที่มีข้อความสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไปแล้ว และเมื่อตามรูปคดีประกอบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอุทธรณ์ในส่วนไม่มีรอยลบด้วยหมึกสีขาวตอนแรกที่ว่า การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่นั้นเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้พิจารณาคดีใหม่ซึ่งอาจมีผลให้จำเลยชนะคดีโจทก์ได้ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แล้ว ข้อความเดิมต่อจากข้อความดังกล่าวนี้ก็ไม่อาจจะเป็นอย่างอื่นได้นอกจากเป็นข้อความที่สั่งกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ประกอบกับจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 ภายหลังวันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์เพียง 5 วัน พฤติการณ์แห่งคดีตามสำนวนที่ปรากฏแก่ศาลเช่นนี้ จึงมีเหตุอันควรแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แก้ไขคำสั่งเดิมแล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวดังที่กล่าวอ้างมาในคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง มิฉะนั้นก็ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาวางต่อศาลได้ทันตามกำหนด
เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเช่นนี้ ย่อมมีเหตุผลสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยหาจำต้องให้จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนเสียก่อนอีกไม่ ดังนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งแก้ไขกระบวนพิจารณาที่มิชอบของศาลชั้นต้นดังกล่าวเสีย โดยเพียงแต่กำหนดระยะเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้จำเลยสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5847/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล: ศาลต้องปฏิบัติตามขั้นตอน พ.ร.บ. วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ก่อนมีคำสั่ง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 ได้บัญญัติถึงกระบวนการวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลไว้ให้ต้องปฏิบัติ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ทันทีและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหานี้แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลสาบสูญ: รถยนต์ถูกพบยึด ไม่ถือเป็นยานพาหนะสูญหาย ใช้ระยะเวลา 5 ปี ตามกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า พบรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ ช. ใช้เดินทางกรณีจึงมิใช่ยานพาหนะที่ ช. เดินทางสูญหาย อันจะเข้าหลักเกณฑ์ระยะเวลา 2 ปี ที่จะร้องขอให้ ช. เป็นคนสาบสูญตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่จะต้องใช้หลักเกณฑ์ระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำคู่ความไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อการพิจารณาคดีและการพิพากษา
คำให้การจำเลยไม่มีลายมือชื่อจำเลยหรือทนายจำเลยผู้ยื่นคำให้การ จึงเป็นคำคู่ความที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ทนายจำเลยลงลายมือชื่อในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การจำเลยแผ่นแรก ไม่ใช่เป็นการลงลายมือชื่อในคำคู่ความตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่แก้ไขข้อบกพร่องของคำคู่ความดังกล่าวให้บริบูรณ์เสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ควรพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชี้ขาดตัดสินฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ไปโดยที่ยังมิได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง โดยให้จำเลยลงลายมือชื่อในคำให้การเสียให้บริบูรณ์ตามกฎหมายแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเกินกำหนดระยะเวลา ทำให้คำอุทธรณ์นั้นไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 แล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล 1 ใน 2 ส่วน หากจำเลยที่ 3 ไม่เห็นพ้องด้วยก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคท้าย ที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 3 มีฐานะยากจน ไม่สามารถหาเงินมาชำระค่าธรรมเนียมศาล 1 ใน 2 ส่วนได้ ขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยที่ 3 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นการอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งหมด อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์จนถึงชั้นฎีกานั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสีย่ค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารปลอม สัญญาที่กรอกข้อความภายหลังเกินจริง ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ 20,000 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยแก่โจกท์ประมาณ 50,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 1 หยุดชำระดอกเบี้ยดังกล่าว โจทก์จึงนำสัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 พิมพ์ลายนิ้วมือไว้มากรอกข้อความในภายหลังเกินกว่าความเป็นจริง โดยจำเลยทั้งสองมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความของพนักงานอัยการต้องมีการแต่งตั้งทนายความตามกฎหมาย
ในการดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล หรือในการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาแทนเจ้าพนักงานผู้ซึ่งถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งพนักงานอัยการรับแก้ต่างตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 11 (2) (3) พนักงานอัยการมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความฯ ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการตั้งทนายความให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการดำเนินคดีแทนเจ้าพนักงานต้องมีการแต่งตั้งทนายความถูกต้องตามกฎหมาย
ในการดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล หรือในการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาแทนเจ้าพนักงานผู้ซึ่งถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งพนักงานอัยการรับแก้ต่างตาม พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) (3) พนักงานอัยการมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการตั้งทนายความให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4978/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยมิได้รับอนุญาตและการทำให้แท้งลูกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะฯ กับความผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอมตามประมวลกฎหมายอาญา มีลักษณะแห่งการกระทำความผิดแตกต่างกัน ทั้งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้คนละฉบับ การกระทำความผิดของจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914-4915/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
เช็คทั้งสองฉบับเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายชำระค่าผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยจากการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คไปแลกเงินสดจากโจทก์ร่วมซึ่งคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 กำหนดให้เรียกดอกเบี้ยเงินกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้มีความผิดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) การออกเช็คทั้งสองฉบับของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
of 238