คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายจราจร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10076/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดผิดตามกฎหมายจราจร แม้ไม่ขับรถขณะเสพ ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลงโทษฐานขับขี่ภายใต้อิทธิพลยาเสพติด
ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง มุ่งประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพยาเสพติดให้โทษเข้าสู่ร่างกายเนื่องจากฤทธิ์ของยาเสพติดให้โทษทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อสมองซึ่งควบคุมระบบประสาทของผู้ขับขี่ซึ่งจะทำให้สมรรถภาพในการควบคุมยานพาหนะด้อยประสิทธิภาพลง อันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้ และมิได้บัญญัติว่าผู้ขับขี่นั้นต้องขับรถในทางเดินรถด้วย แต่ต้องพิจารณาเพียงว่า ผู้เสพนี้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถหรือไม่ หากผู้เสพปฏิบัติหน้าที่ขับรถไม่ว่าจะเสพในขณะขับรถหรือก่อนหน้านั้น ผู้นั้นได้กระทำผิดในข้อหาดังกล่าวแล้ว คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถได้เสพเมทแอมเฟตามีนในขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถบรรทุกสิบล้อ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 43 ทวิ แล้ว และชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 แล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยและสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14975/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความประมาทในการขับขี่และการชนเนื่องจากรถเบี่ยงเลน ไม่เข้าข่ายประมาทตามกฎหมายจราจร
แม้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัยในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ" ก็ตาม แต่ได้ความว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถจักรยานยนต์เยื้องไปทางด้านหลังซ้ายรถยนต์ที่ ร. ขับ ดังนี้ จำเลยจึงขับรถอยู่คนละช่องเดินรถกับรถที่ ร. ขับ และเหตุที่รถที่จำเลยขับชนรถที่ ร. ขับเนื่องมาจาก ร. เบี่ยงรถมาทางด้านซ้าย กรณีจึงถือไม่ได้ว่ารถที่ ร. ขับเป็นรถคันหน้าที่จำเลยต้องขับรถให้ห่างพอสมควรที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัยเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถตามบทบัญญัติดังกล่าว ทั้งได้ความว่าจำเลยขับรถด้วยความเร็วเพียง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่ทรัพย์สิน จำเลยจึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษตามกฎหมายจราจรที่แก้ไขใหม่ การพักใช้ใบอนุญาต และความผิดตามกฎหมายหลายบท
คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ แต่ขณะจำเลยกระทำความผิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา 9 และให้ใช้ความใหม่ตามมาตรา 157/1 แทน การที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ เป็นการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์ไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้าง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157 ทวิ และมีคำขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ที่จะต้องพักใช้ ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเป็นการมิชอบ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 127 ทวิ โดยไม่ระบุวรรคนั้นเป็นการไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13982/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายยาเสพติดและกฎหมายจราจร และการรับฎีกา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 จะเป็นบทหนัก แต่ความผิดตามบทมาตราดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ด้วย ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนี้จึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13813/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและกฎหมายจราจร/ขนส่ง การพิจารณาความผิดกรรมเดียวและความผิดตามกฎหมายที่ลงโทษหนักที่สุด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลย ในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องข้อหาตามพ.ร.บ.จราจรทางบก แต่ก็ยังคงลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ วรรคสอง ประกอบพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 55, 76 และการปรับบทลงโทษตามกฎหมายจราจรทางบก ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
ป.อ. มาตรา 55 และ 76 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจเป็นเรื่องๆไป แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี หาได้เป็นบทบังคับให้ศาลต้องลดมาตราส่วนโทษให้จำเลย หรือลงโทษจำคุกจำเลยให้น้อยลงอีก หรือยกโทษจำคุก หรือปรับจำเลยแต่อย่างเดียวทุกกรณีเสมอไปไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพันและเครื่องหมายห้ามเลี้ยวขวา จำเลยให้การรับสารภาพ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง, 22 (1), 152 ด้วย แม้โจทก์จะขอมาท้ายฟ้องให้ลงโทษตามมาตรา 152 โดยไม่ได้อ้างมาตรา 21, 22 มาด้วยศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยได้เพราะไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลล่างทั้งสองยังมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225
of 6