คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายเฉพาะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับคดีอาญาเนื่องจากจำเลยเสียชีวิต และการยกเว้นโทษตามกฎหมายเฉพาะ
จำเลยที่ 2 ตายในระหว่างอายุความอุทธรณ์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับจำเลยนั้นย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 ดังนั้น เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ตาย
ในระหว่างอายุความฎีกาได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 ออกใช้บังคับซึ่งมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้โอกาสแก่ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนหรือวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะในการสงครามนำมามอบให้นายทะเบียนท้องที่ภายใน 90 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 4 จะมีอาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะการสงครามไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 4 ก็ได้ยกเว้นโทษตามกฎหมาย และเป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 จะไม่อุทธรณ์ฎีกาต่อมาก็ได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนและการยกเว้นโทษตามกฎหมายเฉพาะ
จำเลยมีอาวุธปืนเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 7,72 ระหว่างฎีกามี พระราชบัญญัติ ฉบับที่ 6พ.ศ.2518 มาตรา 3 ให้นำอาวุธปืนมาขอรับอนุญาตใน 90 วันโดยไม่ต้องรับโทษถือเป็นกฎหมายยกเว้นโทษ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง ของกลางไม่ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำตาม พ.ร.บ.ฝิ่น พ.ศ.2472 และประมวลกฎหมายอาญา: ศาลเพิ่มโทษได้เฉพาะตามกฎหมายเฉพาะ
มาตรา 68 พระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 เป็นบทเพิ่มโทษซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติฝิ่นซ้ำอีก หลังจากพ้นโทษในการกระทำผิดครั้งแรกไปยังไม่ครบสามปีแสดงว่าไม่เข็ดหลาบ จึงต้องเพิ่มโทษให้หนักกว่าโทษที่ลงในการกระทำความผิดครั้งแรก และเมื่อศาลได้เพิ่มโทษตามพระราชบัญญัติฝิ่นแล้ว จะเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญาด้วยอันเป็นการเพิ่มโทษจำเลยถึงสองทางหาได้ไม่
การเพิ่มโทษตามมาตรา 68 พระราชบัญญัติฝิ่นพ.ศ. 2472แม้จะมิได้บัญญัติให้วางโทษสำหรับการกระทำผิดครั้งหลังที่มีโทษจำคุกและปรับไว้ ศาลก็ชอบที่จะวางโทษทั้งจำทั้งปรับจึงจะต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์ในความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้: ศาลพิจารณาจากบทบัญญัติทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาได้ แม้มีกฎหมายเฉพาะ
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ++
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - รอย่อ
++ แจ้งการอ่านแล้ว / โปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ให้ลูกจ้างของตนนำไปบรรทุกถ่านจากผู้ที่ลักลอบเผา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นถ่านที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์เป็นพิเศษซึ่งไม่อาจใช้บังคับแก่รถยนต์ของกลางคันนี้ได้ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ไม่มีข้อความใดบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นอันจะแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ ต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาใช้บังคับในการที่จะริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 531/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บำเหน็จตกทอดไม่ใช่ทรัพย์มรดก สิทธิเกิดจากกฎหมายเฉพาะ
ในเรื่องบำเหน็จตกทอดตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการฯนั้น เป็นเรื่องของรัฐให้สิทธิแก่ทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะโดยตรงที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ และยังกำหนดอายุของบุตรที่จะได้รับบำเหน็จตกทอดไว้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด มิได้ให้เป็นสิทธิเป็น ทรัพย์แก่ข้าราชการผู้ได้รับบำนาญปกติอยู่ก่อนตายหรือในขณะที่ถึงแก่ความตายแต่อย่างใด แตกต่างกับกฎหมายว่าด้วยมรดก จึงจะปรับให้เป็นมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ศาลแขวงพิจารณา ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะ หากไม่ได้รับอนุญาต ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
เมื่อคดีอยู่ในอำนาจของศาลแขวงแล้ว การอุทธรณ์ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503มาตรา 10 คือ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรานี้ แต่ถ้ามีการรับรองให้อุทธรณ์ตามมาตรา 22 ทวิก็อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า 'รับเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ สำเนาให้ฝ่ายหนึ่งแก้' เพียงเท่านี้ยังไม่ถือว่าผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะในคำสั่งมิได้ชี้แจงเหตุผลว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ตาม มาตรา 22 ทวิ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า คดีโจทก์มีมูล จะเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 170 ต้องเป็นการอุทธรณ์เรื่องการไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่มิต้องบังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499เมื่ออุทธรณ์ครั้งแรกของโจทก์ถูกห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมายอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก แล้วศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2785/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หัวหน้าการชลประทานราษฎร์ไม่มีอำนาจฟ้องละเมิดต่อการชลประทานราษฎร์ที่ตนดูแล หากไม่มีอำนาจตามกฎหมายเฉพาะ
หัวหน้าการชลประทานส่วนราษฎร์ไม่มีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดต่อการชลประทานราษฎร์ที่ตนเป็นหัวหน้า
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 33/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องอาศัยกฎหมายเฉพาะเพื่อยืนยันฐานะเจ้าพนักงานของผู้เสียหาย ไม่เป็นการอ้างกฎหมายใหม่เพื่อลงโทษหนักขึ้น
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า จำเลยได้ทำร้ายผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายได้รับอันตรายสาหัสเพราะเหตุที่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ต่อมาโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยอ้างพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 16 การขอเพิ่มเติมฟ้องนี้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่ามีกฎหมายรับรองความเป็นเจ้าพนักงานของผู้เสียหาย หาได้เป็นการอ้างกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อให้ศาลลงโทษจำเลยหนักขึ้นประการใดไม่ ฉะนั้น การที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้อง จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824-825/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ราชพัสดุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โอนไม่ได้เว้นแต่มีกฎหมายเฉพาะ
ที่ราชพัสดุได้เคยใช้เป็นที่ปลูกสร้างโรงงานฆ่าสัตว์แต่เลิกไป ปัจจุบันใช้เป็นที่ปลูกบ้านพักนายอำเภอและโรงเก็บรถดับเพลิง เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยใช้เป็นที่ปลูกสร้างสำนักราชการบ้านเมืองอันราชการใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304(3) จะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะ หรือพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 1305 เท่านั้นและจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินมิได้ตามมาตรา 1306
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดพิกัดศุลกากร: พิจารณาโทษหนักเบาตามกฎหมายเฉพาะ และการจ่ายเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่
การคำนวณค่าปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 นั้น ต้องถือเอาราคาของในท้องตลาดอันเป็นราคาที่แท้จริง และรวมค่าอากรเข้าด้วย เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีเท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้น พระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอก ฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือน จึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 (อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบ จำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกัน ส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3 ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2000.64 บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ 1000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 บัญญัติว่า เรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี... ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ (อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวน ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่ อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
of 11