พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13140/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหกรณ์: การมอบอำนาจโดยคณะกรรมการดำเนินการตามกฎหมายแพ่งและผลของการเพิกถอนคำวินิจฉัย
ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองขอนแก่นให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นที่ไม่ตัดสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์โจทก์ของ บ. ตามหนังสือสำนักงานสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นที่ ขก 0010/022 ลงวันที่ 22 เมษายน 2547 อันมีผลทำให้การสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการของ บ. เป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลืออีก 14 คนได้พ้นสภาพจากการเป็นคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ไปด้วย คณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลือจึงยังมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการส่วนที่เหลือทั้งสิบสี่คนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ มอบอำนาจให้ บ. และหรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ จึงเป็นเสียงข้างมากตามบทบัญญัติมาตรา 71 แห่ง ป.พ.พ. ดังกล่าว หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7817/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งและการยินยอมตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรม แต่จำเลยที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้อง เป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้
เมื่อจำเลยที่ 3 รับว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหนังสือแก่จำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์จึงยกการโอนสิทธิเรียกร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 3 ได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยที่ 3 หรือจำเลยที่ 3 ต้องให้ความยินยอมด้วยเป็นลายลักษณ์อักษรและจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะมาระงับไม่ให้จำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ไป จึงไม่อาจบอกปัดความรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้ระงับการจ่ายเงิน
เมื่อจำเลยที่ 3 รับว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหนังสือแก่จำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์จึงยกการโอนสิทธิเรียกร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 3 ได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยที่ 3 หรือจำเลยที่ 3 ต้องให้ความยินยอมด้วยเป็นลายลักษณ์อักษรและจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะมาระงับไม่ให้จำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 3 จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ไป จึงไม่อาจบอกปัดความรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้ระงับการจ่ายเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณหนี้ค้างชำระและหักชำระหนี้ตามกฎหมายแพ่ง จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดการชำระหนี้ที่ชัดเจน
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยให้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยและให้ชำระดอกเบี้ยเดือนละครั้ง จำเลยไม่ผ่อนชำระให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์อีกและได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมทั้งสองฉบับสัญญาครั้งละครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้จำเลยยังเป็นหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญาฉบับอื่นๆ อีกหลายฉบับ โดยโจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว เมื่อโจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว เมื่อจำเลยเป็นหนี้อยู่หลายจำนวนรวมกันและชำระหนี้รวมกันแต่ละเดือนก็ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนว่าห้ามมิให้นำ ป.พ.พ. มาตรา 329 ที่ให้นำเงินที่จำเลยชำระไปหักใช้ดอกเบี้ยก่อนส่วนที่เหลือจึงนำไปชำระหนี้ต้นเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานมาใช้บังคับ
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือน และยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ไม่ได้ความว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวดๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะไม่มีจำนวนหนี้ค้างชำระที่แน่นอน
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือน และยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ไม่ได้ความว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวดๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะไม่มีจำนวนหนี้ค้างชำระที่แน่นอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเหมา: การลดจำนวนเบี้ยปรับให้เหมาะสมตามหลักกฎหมายแพ่ง
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ และสัญญาจ้างเหมาเป็นสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างทางลาดยางถนนบนคันกั้นน้ำเค็มเบอร์ 1 ในเขตโครงการก่อสร้างทางชลประทานที่ 5 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะตามภารกิจหลักของโจทก์ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ข้อตกลงตามสัญญาจ้างเหมาะระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็เป็นความผูกพันตามหลักกฎหมายแพ่งว่าด้วยนิติกรรมสัญญาทั่วไป หาได้ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษใดๆ แก่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเพิ่มเติมขึ้นแต่อย่างใดไม่ และต้องอยู่ภายใต้บังคับตามหลักเกณฑ์การพิจารณาปรับลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105-2106/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการมอบอำนาจช่วง: การตีความขอบเขตอำนาจตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจ ระบุให้ พ. มีอำนาจกระทำการต่างๆ แทนโจทก์รวมทั้งมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์และให้มอบอำนาจช่วงได้ด้วย โดยแยกรายละเอียดดังกล่าวเป็นข้อๆ ไว้ ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงไม่ถูกจำกัดอำนาจในการยื่นฟ้องคดีต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 801 วรรคสอง (5) เพราะหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ระบุให้อำนาจแก่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ไว้แจ้งชัดแล้ว ทั้งเป็นการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีแทนโจทก์ มิใช่เป็นการมอบอำนาจเฉพาะการตามมาตรา 800 ที่จะต้องระบุชื่อผู้ซึ่งจะต้องถูกฟ้องคดีตามที่มอบอำนาจไว้ นอกจากนี้การมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีนั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อจำกัดแจ้งชัดจากโจทก์ผู้มอบอำนาจเอง ก็ย่อมหมายถึงให้ดำเนินคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะได้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ด้วย ดังนั้น พ. ซึ่งมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์โดยสมบูรณ์ในขณะที่ยื่นฟ้อง จึงมีอำนาจมอบอำนาจช่วงตามหนังสือมอบอำนาจช่วงให้ ม. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความคดีเช็ค: เริ่มนับวันรุ่งขึ้นตามหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการกำหนดนับระยะเวลาอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญาจึงอยู่ในบังคับของหลักทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งกำหนดมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน จึงเริ่มนับอายุความในวันรุ่งขึ้น คดีนี้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับแรก เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 การนับอายุความต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2539 และจะครบกำหนด 3 เดือน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดอายุความวันสุดท้าย คดีโจทก์ตามเช็คฉบับแรกจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องโดยมิได้ทำเป็นหนังสือ และสิทธิการรับมรดกของทายาทประเภทต่างๆ
แม้หากฟังได้ว่าผู้ตายบอกยกเงินค่าที่ดินที่จะได้รับจากจำเลยให้แก่โจทก์ แต่เนื่องจากเป็นหนี้ที่จำเลยมีต่อผู้ตายแล้วยังมิได้ชำระ การให้เงินค่าขายที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์อันเป็นสิทธิเรียกร้องของผู้ตายที่มีต่อจำเลยจึงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องของผู้ตายให้แก่โจทก์ไม่มีการทำเป็นหนังสือย่อมไม่มีผลผูกพันผู้ตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทและลูกหนี้ของผู้ตาย ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ เมื่อผู้ตายมีจำเลยและ ท. เป็นทายาทประเภทพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายประเภทคู่สมรส จึงมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (2) โจทก์ได้รับเงินกึ่งหนึ่งของทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับมรดกของผู้ตายตามสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการเบียดบังทรัพย์สินเช่าซื้อ: ศาลกำหนดดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุ ...หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ แม้ดอกเบี้ยของราคาใช้แทนค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถจักรยานยนต์ และค่าหนังสือบอกกล่าวทวงถามตลอดจนค่าติดตามเอารถคืน มิใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่โจทก์ร่วมสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดที่ให้พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่เป็นค่าเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยที่เบียดบังเอารถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไปเป็นของจำเลยโดยทุจริต จึงชอบที่โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ การที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 26,016 บาท นั้น เป็นกรณีที่หากจำเลยไม่ส่งมอบรถจักรยานยนต์ดังกล่าวคืนให้โจทก์ร่วม จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมเพื่อราคาวัตถุอันไม่อาจส่งมอบได้เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกิดขึ้นระหว่างผิดนัด โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในเงิน 26,016 บาท ได้ตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคานั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 225 เมื่อไม่ปรากฏว่าเวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาอันหมายถึงเวลาที่ไม่สามารถส่งมอบรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อเกิดขึ้นเมื่อใด โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยราคาใช้แทนนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาอันเป็นวันที่ศาลกำหนดราคาใช้แทนให้ ดังนั้น การที่โจทก์ร่วมมีคำขอและฎีกาขอเรียกดอกเบี้ยของราคาใช้แทนนับแต่วันผิดนัดถึงวันฟ้อง อันเป็นช่วงเวลาก่อนวันที่ศาลมีคำพิพากษาจึงไม่อาจกำหนดให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันแก่หนี้ของคู่สมรส: ต้องมีหนี้เกิดขึ้นก่อนจึงจะให้สัตยาบันได้
เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) มิได้ให้นิยามหรือคำจำกัดความของคำว่าสัตยาบันไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ซึ่งพอสรุปได้ว่า สัตยาบัน คือ การยืนยันรับรองความตกลงหรือการรับรองนิติกรรม และเป็นที่เข้าใจกันได้ว่า บุคคลจะยืนยันรับรองความตกลงหรือรับรองนิติกรรมใดได้ ย่อมต้องมีข้อตกลงหรือนิติกรรมเช่นนั้นเกิดขึ้นเสียก่อนแล้วจึงให้สัตยาบัน การให้สัตยาบันของสามีหรือภริยาแก่หนี้ที่อีกฝ่ายก่อขึ้นตามมาตรา 1490 (4) ย่อมมีลักษณะเฉกเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ต้องมีหนี้เกิดขึ้นเสียก่อนสามีหรือภริยาถึงจะให้สัตยาบันได้ การให้ความยินยอมในขณะที่ยังไม่มีความตกลง ไม่มีนิติกรรมหรือไม่มีหนี้เกิดขึ้น ย่อมไม่ต้องด้วยความหมายของการให้สัตยาบัน โจทก์ไม่อาจถือเอาหนังสือยินยอมคู่สมรสที่จำเลยที่ 7 ทำไว้ต่อโจทก์ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 มาเป็นการให้สัตยาบันแก่หนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในภายหลังเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 และวันที่ 3 มิถุนายน 2558 ได้ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4)