คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรรมการลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน แม้มีการกระทำผิด
แม้กรรมการลูกจ้างจะกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 ก็ตาม แต่การที่นายจ้างจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างต้องเป็นไปตามข้อตกลงและจำนวนที่กฎหมายกำหนด โดยเขตพื้นที่ต้องสอดคล้องกับหน่วยงานหรือสาขา
คำว่า "สถานประกอบกิจการ" ตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมายความถึงสถานประกอบกิจการทั้งหมดที่เป็นของนายจ้างคนเดียวกันมิได้หมายความถึงแต่ละหน่วยงานหรือแต่ละโรงงานที่แยกออกไป ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งจึงมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียวทำหน้าที่เป็นตัวแทนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการนั้นเว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเช่นว่านั้นอาจตกลงเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะก็ได้ แต่การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้าง และจำนวนคณะกรรมการลูกจ้างแต่ละจังหวัด จะต้องถือเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในแต่ละจังหวัดที่หน่วยงานหรือสาขาซึ่งลูกจ้างประจำทำงานอยู่เป็นเกณฑ์
เขตบำรุงทางขอนแก่นของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีเขตพื้นที่คลุมหลายจังหวัด จึงมิใช่หน่วยงานหรือสาขา (ในจังหวัดอื่น)ตามความหมายของประกาศกรมแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ลงวันที่16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1
นายจ้างตกลงให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างโดยถือเขตพื้นที่แต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์ โจทก์กับพวกจัดการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างผิดไปจากข้อตกลงและมีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คณะกรรมการที่ได้รับเลือกจึงเป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอให้นายจ้างจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างต้องเป็นไปตามข้อตกลงและกฎหมายกำหนด หากไม่ถูกต้อง คณะกรรมการนั้นไม่มีสิทธิ
คำว่า 'สถานประกอบกิจการ' ตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมายความถึงสถานประกอบกิจการทั้งหมดที่เป็นของนายจ้างคนเดียวกันมิได้หมายความถึงแต่ละหน่วยงานหรือแต่ละโรงงานที่แยกออกไป ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งจึงมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียวทำหน้าที่เป็นตัวแทนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการนั้นเว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเช่นว่านั้นอาจตกลงเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะก็ได้ แต่การเลือกตั้งกรรมการลูกจ้าง และจำนวนคณะกรรมการลูกจ้างแต่ละจังหวัด จะต้องถือเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในแต่ละจังหวัดที่หน่วยงานหรือสาขาซึ่งลูกจ้างประจำทำงานอยู่เป็นเกณฑ์
เขตบำรุงทางขอนแก่นของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีเขตพื้นที่คลุมหลายจังหวัด จึงมิใช่หน่วยงานหรือสาขา (ในจังหวัดอื่น)ตามความหมายของประกาศกรมแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ลงวันที่16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1
นายจ้างตกลงให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างโดยถือเขตพื้นที่แต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์ โจทก์กับพวกจัดการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างผิดไปจากข้อตกลงและมีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดคณะกรรมการที่ได้รับเลือกจึงเป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอให้นายจ้างจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างและสหภาพแรงงาน: เหตุผลทางเศรษฐกิจต้องสมควรและไม่เป็นการกลั่นแกล้ง
การที่นายจ้างประสบปัญหาขาดทุนจนต้องลดการผลิตแต่ยังไม่ถึงกับยุบหน่วยงานเสียทั้งหน่วยหรือเลิกกิจการไปยังไม่มีเหตุผลเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้าง อนุกรรมการ และกรรมการสหภาพแรงงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างและสหภาพแรงงานต้องมีเหตุสมควร มิใช่แค่ผลขาดทุนหรือหลัก 'มาทีหลังออกก่อน'
การที่นายจ้างประสบปัญหาขาดทุนจนต้องลดการผลิตแต่ยังไม่ถึงกับยุบหน่วยงานเสียทั้งหน่วยหรือเลิกกิจการไปยังไม่มีเหตุผลเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้าง อนุกรรมการ และกรรมการสหภาพแรงงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด สถานประกอบการมีสิทธิปฏิเสธและไม่จัดประชุม
โรงงานกระดาษบางปะอิน กรมโรงงานอุตสาหกรรม ถือได้ว่าเป็นสถานประกอบกิจการเดียวมีลูกจ้าง 574 คน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 46 (4) ย่อมมีคณะกรรมการลูกจ้างได้สิบเอ็ดคน เมื่อปรากฏว่าโรงงานกระดาษบางปะอินมีคณะกรรมการลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งรวมยี่สิบสองคน จึงเกินกว่าจำนวนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 46 (4) กำหนด จำเลยจึงชอบที่จะ ปฏิเสธไม่รับรองคณะกรรมการลูกจ้างและไม่จัดให้มีการประชุมหารือกับ คณะกรรมการลูกจ้างเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด สถานประกอบกิจการมีสิทธิปฏิเสธและไม่จัดประชุมได้
โรงงานกระดาษบางปะอิน กรมโรงงานอุตสาหกรรม ถือได้ว่าเป็นสถานประกอบกิจการเดียวมีลูกจ้าง 574 คน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 46(4) ย่อมมีคณะกรรมการลูกจ้างได้สิบเอ็ดคน เมื่อปรากฏว่าโรงงานกระดาษบางปะอินมีคณะกรรมการลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งรวมยี่สิบสองคน จึงเกินกว่าจำนวนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 46(4) กำหนด จำเลยจึงชอบที่จะปฏิเสธไม่รับรองคณะกรรมการลูกจ้างและไม่จัดให้มีการประชุมหารือกับ คณะกรรมการลูกจ้างเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างที่ศาลแรงงานอนุญาต ย่อมไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
นายจ้างขออนุญาตศาลแรงงานให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต คดีถึงที่สุด แล้วต่อมาลูกจ้างร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ดังนี้ แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานก็ไม่มีผลบังคับเพราะไม่มีอำนาจวินิจฉัยได้ทั้งนี้เนื่องจากมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ ได้ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ฉะนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามที่ศาลแรงงานอนุญาตแล้ว จึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างที่ศาลแรงงานอนุญาต ย่อมไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
นายจ้างขออนุญาตศาลแรงงานให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต คดีถึงที่สุด แล้วต่อมาลูกจ้างร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ดังนี้ แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานก็ไม่มีผลบังคับเพราะไม่มีอำนาจวินิจฉัยได้ทั้งนี้เนื่องจากมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ ได้ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ฉะนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามที่ศาลแรงงานอนุญาตแล้ว จึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940-942/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกปฏิบัติในการลงโทษทางวินัย: กรณีการแต่งกายและฐานะกรรมการลูกจ้าง
ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นกรรมการลูกจ้าง การที่ผู้คัดค้านทั้งสามติดตาม จ. ซึ่งเป็นเพื่อนพนักงานไปยังฝ่ายบุคคลโดยได้รับอนุญาตจากหัวหน้างานซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา และเมื่อไปถึงก็ไม่ปรากฏว่า ภ. ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านทั้งสามกลับมาทำงานแต่อย่างใด การกระทำของผู้คัดค้านทั้งสามจึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง
ผู้ร้องออกประกาศเรื่อง ระเบียบการแต่งกายของพนักงานเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีแก่บริษัท โดยผู้ร้องได้กำหนดระเบียบ ข้อ 4 ห้ามพนักงานชายทุกคนสวมใส่ตุ้มหูและไว้ผมยาว (ซึ่งเป็นการสร้างบุคลิกภาพไม่เหมาะสมในการเป็นพนักงานที่ดีของบริษัท) ซึ่งผู้ร้องสามารถกระทำได้ ประกาศดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ แต่เมื่อได้ความว่ามีลูกจ้างผู้ร้องคนอื่นซึ่งเป็นพนักงานชายใส่ตุ้มหูหรือต่างหูมาทำงานอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบตามประกาศดังกล่าวโดยผู้ร้องมิได้ลงโทษ คงลงโทษเฉพาะผู้คัดค้านที่ 1 เพราะเหตุที่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นกรรมการลูกจ้าง จึงเป็นการเลือกปฏิบัติ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านที่ 1 ด้วยวาจา ฐานแต่งกายผิดระเบียบของผู้ร้องได้
of 8