พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2188/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกเพื่อการฎีกา: โทษแต่ละกระทงมิใช่โทษรวม
โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 นั้น หมายถึงโทษแต่ละกระทง มิใช่หมายถึงเอาโทษของแต่ละกระทงมารวมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาตามกระทงความผิดที่เข้าเกณฑ์ แม้ขอเพิ่มโทษตามมาตราที่เบากว่าก็ทำได้
เมื่อศาลพิพากษาเรียงกระทงลงโทษและความผิดแต่ละกระทงที่ลงโทษเข้าเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษได้ ย่อมเพิ่มโทษได้ทุกกระทงความผิดที่ลงโทษนั้น
โจทก์ขอให้เพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93เมื่อไม่เข้าเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษตามมาตรา 93 แต่เข้าเกณฑ์เพิ่มโทษตามมาตรา 92 ได้ ศาลย่อมเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าให้ได้
โจทก์ขอให้เพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93เมื่อไม่เข้าเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษตามมาตรา 93 แต่เข้าเกณฑ์เพิ่มโทษตามมาตรา 92 ได้ ศาลย่อมเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาตามกระทงความผิด แม้ไม่เข้าเกณฑ์มาตรา 93 ก็เพิ่มโทษตามมาตรา 92 ได้
เมื่อศาลพิพากษาเรียงกระทงลงโทษและความผิดแต่ละกระทงที่ลงโทษเข้าเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษได้ ย่อมเพิ่มโทษได้ทุกกระทงความผิดที่ลงโทษนั้น
โจทก์ขอให้เพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93เมื่อไม่เข้าเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษตามมาตรา 93 แต่เข้าเกณฑ์เพิ่มโทษตามมาตรา 92 ได้ ศาลย่อมเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าให้ได้
โจทก์ขอให้เพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93เมื่อไม่เข้าเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษตามมาตรา 93 แต่เข้าเกณฑ์เพิ่มโทษตามมาตรา 92 ได้ ศาลย่อมเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของการยกฟ้องในข้อหาหลักต่อการลงโทษในความผิดอื่นที่จำเลยให้การรับสารภาพ
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาพยายามฆ่าและมีอาวุธปืนผิดกฎหมายไว้ในครอบครอง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทำผิดทั้งสองฐาน แต่ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าอันเป็นกระทงหนัก จำเลยอุทธรณ์เฉพาะข้อหาฐานพยายามฆ่า แต่ในระหว่างพิจารณาศาลอุทธรณ์มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2510 ออกมา ให้ผู้มีอาวุธปืนโดยไม่รับอนุญาตไปขอรับอนุญาตภายใน 90 วัน โดยไม่ต้องรับโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องทั้งสองข้อหา และโจทก์ฎีกาคัดค้านขึ้นมา ดังนี้ แม้ความผิดฐานมีอาวุธปืนจะถึงที่สุดแล้ว แต่โดยเหตุที่ศาลฎีกายกฟ้องฐานพยายามฆ่า เมื่อจะลงโทษความผิดฐานมีอาวุธปืน ซึ่งศาลชั้นต้นมิได้กำหนดโทษฐานนี้ไว้ คดีก็ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 ซึ่งบัญญัติว่าแม้คดีถึงที่สุดแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น จึงเป็นอันว่าศาลฎีกาจะกำหนดโทษให้ลงแก่จำเลยในความผิดฐานนี้อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเปิดทางให้โจทก์ฎีกาในกระทงความผิดที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาต่างจากศาลชั้นต้น แม้จะรวมฟ้องเป็นคดีเดียวกัน
การที่จะปรับบทว่าคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ชอบที่จะต้องพิจารณาในฐานความผิดเป็นกระทงๆ ไป เสมือนมิได้รวมแต่ละกระทงความผิดฟ้องมาในคดีเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้คนตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 กระทงหนึ่ง และผิดฐานขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติรถยนต์ฯ มาตรา 16, 33อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษฐานขับรถโดยประมาทซึ่งเป็นกระทงหนักแต่กระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลดโทษให้แล้วคงจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารูปคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทพิพากษาแก้ให้ปรับจำเลย 50 บาท ตามพระราชบัญญัติรถยนตร์มาตรา 16,33 นอกนั้นให้ยกเสีย ดังนี้ ในกระทงความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นพิพากษากลับกันตรงข้ามนั้น ไม่ใช่เป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขตามนัยแห่งกฎหมาย จึงปรับบทให้ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหาได้ไม่ โจทก์ชอบที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงความผิดฐานนี้ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2507)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้คนตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 กระทงหนึ่ง และผิดฐานขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติรถยนต์ฯ มาตรา 16, 33อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษฐานขับรถโดยประมาทซึ่งเป็นกระทงหนักแต่กระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลดโทษให้แล้วคงจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารูปคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทพิพากษาแก้ให้ปรับจำเลย 50 บาท ตามพระราชบัญญัติรถยนตร์มาตรา 16,33 นอกนั้นให้ยกเสีย ดังนี้ ในกระทงความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นพิพากษากลับกันตรงข้ามนั้น ไม่ใช่เป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขตามนัยแห่งกฎหมาย จึงปรับบทให้ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหาได้ไม่ โจทก์ชอบที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในกระทงความผิดฐานนี้ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ฟ้องหลายกระทง ศาลพิจารณาเฉพาะกระทงที่อยู่ในอำนาจตนได้ แม้ฟ้องรวมกระทงที่ต้องส่งไปศาลทหาร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 และ 285 แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์มีข้อเท็จจริงไม่เข้าลักษณะความผิดตาม มาตรา 285 ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารเลย แต่เข้าลักษณะการกระทำผิดตามมาตรา 276 ถึงแม้โจทก์จะอ้างมาตรา 285 มาด้วย ก็ไม่เป็นเหตุทำให้ฟ้องของโจทก์ต้องขึ้นศาลทหาร และศาลชั้นต้นก็ไต่สวนประทับฟ้องเฉพาะในข้อกล่าวหาตาม มาตรา 276 ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาได้โดยไม่จำต้องสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องมายื่นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาในการลงโทษกระทงความผิดอื่น แม้ศาลชั้นต้นไม่ลงโทษ หากศาลฎีกายกฟ้องกระทงหลัก
เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯลฯไว้เพราะได้ลงโทษในกระทงหนักแล้ว คือ ความผิดฐานพยายามฆ่าคน หากศาลฎีกาวินิจฉัยฟังว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษฐานพยายามฆ่าคน ดังนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะกำหนดโทษให้จำเลยต้องรับโทษในความผิดตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯลฯ ได้ ทั้งนี้โดยเห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นวางโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าคน นั้น คงจะได้พิจารณาว่า เป็นการลงโทษหนักอยู่แล้ว จึงวางแต่กระทงหนัก เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษฐานพยายามฆ่าคน ศาลฎีกาก็ควรวางโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่ได้รับอนุญาต (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญา: เลือกโทษหนักกว่าเมื่อมีความผิดหลายกระทง
ความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 301 วรรถ 3 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉะบับที่ 4) พ.ศ.2477 มาตรา 7 นั้น กำหนดโทษไว้หนักกว่าความผิดฐานฆ่าคนตายตามมาตรา 250 ประกอบด้วยมาตรา 60
ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 301 วรรค 3 แล้ว แม้โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 250,60 ด้วย ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีความผิดตามมาตรา 250 ประกอบด้วยมาตรา 60 ด้วยหรือไม่
ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 301 วรรค 3 แล้ว แม้โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 250,60 ด้วย ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยจะมีความผิดตามมาตรา 250 ประกอบด้วยมาตรา 60 ด้วยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษกระทงความผิด – ศาลมีอำนาจไม่เรียงกระทงและไม่ต้องลงโทษขั้นต่ำทุกกระทง
กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 71 บัญญัติว่า ในคำพิพากษาอันเดียวกันศาลจะลงโทษทุกกระทงก็ได้ ดังนี้ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลจะไม่เรียงกระทงลงโทษก็ได้ และเมื่อไม่เรียงกระทงลงโทษแล้ว ก็ไม่จำต้องลงโทษไม่น้อยกว่าอัตราขั้นต่ำของทุกกระทงความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ - กระทงความผิดที่ไม่อุทธรณ์ และการพิจารณาความผิดหลายกรรม
กระทงความผิดที่คู่ความมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์และแยกกันได้เด็ดขาดจากกระทงความผิดที่อุทธรณ์มานั้นย่อมถึงที่สุดเพียงศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา
การที่จำเลยยิงปืน 2 นัดถูกผู้เสียหายคนหนึ่งตาย อีก 2 คนบาดเจ็บหากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แยกทำร้ายผู้เสียหายคนใดเป็น 2 กรรมแล้วถือว่าจำเลยทำผิดกระทงเดียว
พฤติการณ์ที่ถือว่าป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
การที่จำเลยยิงปืน 2 นัดถูกผู้เสียหายคนหนึ่งตาย อีก 2 คนบาดเจ็บหากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แยกทำร้ายผู้เสียหายคนใดเป็น 2 กรรมแล้วถือว่าจำเลยทำผิดกระทงเดียว
พฤติการณ์ที่ถือว่าป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ