คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กองมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้รับโอนที่ดินเดิม ทำให้ไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ค. ได้จดทะเบียนโอนที่ดินของค.ให้อ.ไปแล้วต่อมาอ. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินดังกล่าว และไม่อาจร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ อ.ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนได้เสียในการขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อมีการโอนมรดกเฉพาะส่วนไปแล้ว
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ค. เจ้าของที่ดินเดิมได้จดทะเบียนโอนมรดกที่ดินเฉพาะส่วนของ ค.ให้แก่อ.ผู้ตายไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของ อ.หรือเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของ อ. ในอันที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหนี้มรดก: ทายาทผู้รับมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้ของกองมรดก แม้จะมีการยกทรัพย์สินให้ก่อนเสียชีวิต
พ.บิดาจำเลยเป็นหนี้กู้ยืมโจทก์ เมื่อ พ.ตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทจะต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ แต่ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกของ พ. ที่ตกทอดได้แก่จำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้หนี้ดังกล่าว ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่า จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่นาของ พ.ที่นำมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินโจทก์ ให้จำเลยใช้หนี้กู้ยืมแก่โจทก์ตามฟ้องจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้จำเลยจะอ้างว่ายึดทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้ก็แต่ในกรณีที่จำเลยไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับมรดกของ พ.เท่านั้น ดังนั้น แม้ พ.จะยกที่พิพาทอีก 2 แปลง ให้จำเลยก่อนตาย ซึ่งทำให้ไม่เป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ พ.ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ จำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นสามีภรรยาและเป็นเจ้าของร่วมกันในที่พิพาทไม่อาจขอให้ปล่อยที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหนี้มรดก: ทายาทมีหน้าที่ชำระหนี้ของกองมรดก แม้จะอ้างว่าทรัพย์สินเป็นของตนเองก่อนเสียชีวิต
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับมรดกที่นาที่ พ. นำมาเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินโจทก์ ให้จำเลยใช้หนี้ที่ พ. เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นคำพิพากษาที่ให้จำเลยรับผิดใช้หนี้แก่โจทก์โดยเหตุที่จำเลยเป็นทายาทผู้ได้รับมรดกของ พ. จำเลยจึงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ จำเลยจะอ้างว่าจะยึดทรัพย์ของจำเลยไม่ได้ก็แต่ในกรณีที่จำเลยไม่ได้เป็นผู้ได้รับทรัพย์มรดกใด ๆของ พ. เท่านั้น แต่ตามคำร้อง ของ จำเลยไม่ได้ยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในการขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่โจทก์นำยึด เมื่อจำเลยต้องรับผิดในหนี้เงินกู้ที่ พ. ต้องชำระต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธินำยึดที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ซึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นของตนเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ จำเลยและผู้ร้องที่ 2 เป็นสามีภริยากันเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินพิพาท ไม่อาจขอให้ปล่อยทรัพย์สินดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายและสิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดก
การที่ ค. เจ้าบ้านแจ้งย้ายผู้คัดค้านเข้ามาอยู่ในบ้านต่อนายทะเบียนในฐานะบุตรของตน ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ ค. บิดารับรองแล้ว ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้สืบสันดานของ ค. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในฐานะทายาทของ ค. ตามมาตรา 1713 เมื่อผู้คัดค้านบรรลุนิติภาวะแล้ว มีอาชีพรับราชการและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 1718 จึงมีเหตุสมควรตั้งผู้ร้องกับผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ค. ร่วมกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาจากข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน และประโยชน์ของกองมรดก
การขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก เพียงแต่บรรยายถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรจะต้องมีผู้จัดการมรดกเท่านั้น ส่วนการที่ศาลจะตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดกนั้นแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก และภายใต้บังคับบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1718 ฉะนั้น แม้คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องของผู้ร้องคัดค้านที่ 2 จะมิได้บรรยายว่าผู้คัดค้านที่ 2 ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ ก็เป็นคำร้องขอที่ชอบ เพราะคำร้องขอเช่นว่านี้ไม่จำต้องบรรยายบทบังคับให้ศาลต้องปฏิบัติไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5750-5751/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาท
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติแห่ง บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477มาตรา 4 ระบุว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เมื่อปรากฏว่า ถ. บิดาผู้ร้องแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับมารดาผู้ร้องก่อนที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 ใช้บังคับผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ถ. และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. ส่วนผู้คัดค้านเมื่อจดทะเบียนสมรสกับ ถ. โดยถูกต้องตามกฎหมายมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. เช่นกัน ทั้งสองฝ่ายย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ด้วยกัน
ผู้ร้องฎีกาว่า ทรัพย์มรดกเป็นสินสมรสเพราะเป็นทรัพย์สินที่ ถ.บิดาผู้ร้องกับมารดาผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะประเด็นพิพาทแห่งคดีมีเพียงว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านฝ่ายใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ผู้ตายเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าผู้ร้องรับเงินค่าสิทธิการเช่าบ้านมา200,000 บาท แล้วยักยอกไว้ 165,000 บาท าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์-มรดกโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่า ตนทำให้เสื่อมประโยชน์ทายาทคนอื่น ผู้ร้องต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกและผู้ร้องมีพฤติการณ์และการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์กับกองมรดกนั้นผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำร้องคัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลจะตั้งฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ย่อมแล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ดังนั้น เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าการจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ หากให้จัดการร่วมกันแล้วจะเป็นประโยชน์แก่กองมรดกและทายาททุกคน ก็สมควรตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาความสุจริตและประโยชน์แก่กองมรดก
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจ คำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกด้วย ถึงแม้ไม่มีผู้คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง และผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องไม่มีความสุจริตใจในการรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก จึงไม่เหมาะสมที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาค้ำประกันหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: สิทธิโจทก์ในการยึดทรัพย์จากกองมรดก
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีในส่วนแพ่ง ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับ โดยให้จำเลยหาประกันสำหรับจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ร. ได้เข้ามาทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่าเมื่อคดีถึงที่สุด หากจำเลยแพ้คดีและไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ร.ยอมให้บังคับคดีเอาจากที่ดินของ ร. แปลงที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน ดังนี้ จึงเป็นการที่ ร.ยอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันหนี้ของจำเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ร.จะพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยกลับเป็นฝ่ายชนะคดีหรือจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วเท่านั้น ระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด ร.ไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาค้ำประกันโดยที่โจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยเพราะมิใช่เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ซึ่งผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699 และแม้ ร.จะถึงแก่กรรมไปก่อนที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้นั้น โจทก์ก็มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินอันเป็นกองมรดกของ ร.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันและการบังคับคดีแก่กองมรดกของผู้ค้ำประกันเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีในส่วนแพ่ง ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับ โดยให้จำเลยหาประกันสำหรับจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นร.ได้เข้ามาทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า เมื่อคดีถึงที่สุดหากจำเลยแพ้คดีและไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ร.ยอมให้บังคับคดีเอาจากที่ดินของร.แปลงที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน ดังนี้ จึงเป็นการที่ ร.ยอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันหนี้ของจำเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ร.จะพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยกลับเป็นฝ่ายชนะคดีหรือจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วเท่านั้น ระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด ร.ไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาค้ำประกันโดยที่โจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยเพราะมิใช่เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ซึ่งผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699และแม้ ร.จะถึงแก่กรรมไปก่อนที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ก็ตามแต่เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้นั้น โจทก์ก็มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินอันเป็นกองมรดกของ ร.ได้
of 15