พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5114/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การรับสารภาพต้องชัดเจนถึงการกระทำความผิด หากไม่ชัดเจนและโจทก์ไม่สืบพยาน ศาลยกฟ้องได้
คำให้การของจำเลยที่ยื่นต่อศาลมีความว่า "จำเลยได้มาอาศัยอยู่กับ ม.ซึ่งหลบหนีไปแล้ว วันเกิดเหตุผู้เสียหายมาสมัครไปทำงานต่างประเทศกับ ม. ม.ให้จำเลยเขียนใบรับเงินให้เนื่องจากเห็นว่าจำเลยมีความรู้และขณะนั้นเสมียนไม่มาทำงาน แล้วผู้เสียหายมอบเงินให้ ม.จำเลยไม่รู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด แต่เมื่อเป็นความผิดจำเลยก็รับสารภาพ.........." ดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นคำให้การที่รับสารภาพว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องเมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน จึงลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4441/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์หรือไม่ และการเปลี่ยนแปลงข้อหาเป็นทำร้ายร่างกาย
จำเลยกับผู้เสียหายอยู่กินด้วยกันฉัน สามีภริยาและทำงานอยู่ที่เดียวกัน จำเลยเป็นผู้ซื้อสร้อยคอทองคำให้ผู้เสียหาย บางครั้งจำเลยก็นำไปใช้เอง วันเกิดเหตุจำเลยทราบว่าผู้เสียหายจะไปเที่ยวจึงได้ไปพูดห้ามปราม ผู้เสียหายไม่ยอมเชื่อ จึงเกิดการโต้เถียง กัน จำเลยโมโหจึงดึง สร้อยคอที่ผู้เสียหายใส่อยู่ขาดและเอาสร้อยนั้นไป แสดงว่าจำเลยเอาสร้อยไปเพื่อต้องการมิให้ผู้เสียหายนำสร้อยติดตัวไปด้วยเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตอันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์ จำเลยดึง สร้อยที่ผู้เสียหายใส่อยู่ขาดแล้วผลักผู้เสียหายเซ ไปผู้เสียหายมีบาดแผลเพราะโดน เล็บ ที่หน้าอกแต่โลหิตไม่ไหลเป็นความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจ ตาม ป.อ. มาตรา 391 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งรวมการกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายอยู่ในตัว ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ไม่มีสิทธิขอคืน
เมื่อคดีเดิม ซึ่งศาลสั่งริบเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางเพราะเห็นว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา การที่ผู้ร้องมาร้องขอคืนเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางจึงไม่มีข้อที่จะวินิจฉัยได้อีกว่าเครื่องรับโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นการพนันหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงไม่อาจมาร้องขอคืนเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิ่งราวทรัพย์: การกระทำเข้าข่ายลักทรัพย์โดยฉกฉวย แม้จะมีการโต้แย้งเรื่องอำนาจการสอบสวนของพนักงาน
จำเลยขายสร้อยให้ผู้เสียหาย 4 เส้นในราคา 100 บาทเศษแต่จำเลยกลับหยิบเอาธนบัตรฉบับละ 500 บาทจำนวน 1 ฉบับจากในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปโดยพลการในทันทีที่ผู้เสียหายเปิดกระเป๋าสตางค์ ซึ่งผู้เสียหายยังมิทันได้หยิบธนบัตรดังกล่าวส่งให้จำเลย แล้วจำเลยก็หลบหนีไปเช่นนี้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งหรือเข้าใจผิดเพราะสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่องแต่อย่างไร การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าจำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานครร้อยตำรวจโทส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานครร้อยตำรวจโทส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้หลังการลักทรัพย์สำเร็จ: ไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
จำเลยเข้าไปเอาทรัพย์สินซึ่งเก็บรักษาอยู่ในบ้านได้แล้วออกจากบ้านวิ่งไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของพวกที่จอดรอดอยู่หลบหนีไปเป็นการลักทรัพย์สำเร็จแล้วจึงหลบหนีไปโดยใช้รถจักรยานยนต์ รถจักรยานยนต์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลาง: ศาลไม่พิจารณาการกระทำความผิดที่สิ้นสุดแล้ว และต้องมีหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของ
ในชั้นขอคืนของกลางศาลจะไม่วินิจฉัยปัญหาในเรื่องการกระทำความผิดของจำเลยซึ่งถึงที่สุดไปแล้วให้อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยับยั้งการกระทำความผิดพยายามฆ่า: การไม่ลงมือยิงหลังจากมีโอกาส ถือเป็นยับยั้งเสียเอง
เมื่อธ.วิ่งหนีจำเลยไปแล้วจำเลยไม่ได้วิ่งไล่ตามไปยิงโดยกลับใจเอาปืนมาจ้องว.แทนทั้งที่มีโอกาสจะยิงธ.ได้จึงเป็นการยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอดเมื่อจำเลยจ้องปืนไปทางว.แล้วว.พูดว่าไม่เกี่ยวและหลบเข้าไปทางหลังบ้านจำเลยเดินไปอีกทางหนึ่งโดยไม่ตามเข้าไปยิงว.ทั้งที่มีโอกาสจะยิงได้เป็นการยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอดจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานพยายามฆ่าธและว..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2913/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น: คำพูดเร้าใจหลังการลงมือ
การที่จำเลยวิ่งไปพูดกับนายน.ว่า'ยิงแล้วยิงให้ตายยิงแล้วยิงให้ตาย'ภายหลังจากที่นายน.ลงมือกระทำความผิดใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายไป1นัดแล้วคำพูดของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นการร่วมกับนายน.ยิงผู้ตายและมิใช่เป็นผู้ก่อให้นายน.กระทำความผิดหากแต่เป็นคำพูดยุยงสนับสนุนเร้าใจให้นายน.ยิงผู้ตายให้ถึงแก่ความตายหนักแน่นยิ่งขึ้นเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นการสนับสนุนให้นายน.กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา86.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำความผิด: ทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ ไม่ใช่ชิงทรัพย์
จำเลยโกรธผู้เสียหายที่เดินชนจำเลยแล้วไม่ขอโทษ จำเลยจึงพาพวกอีกคนหนึ่งมารุมชกต่อย เตะ และใช้ไม้ตีผู้เสียหายจนล้มลง บังเอิญนาฬิกาข้อมือของผู้เสียหายหลุดตกและผู้เสียหายเก็บนาฬิกาข้อมือนั้นกลับคืนมาได้ แต่จำเลยใช้ไม้ตีผู้เสียหายอีกแล้วถือโอกาสแย่งเอานาฬิกาข้อมือของผู้เสียหายไปหลังจากนั้นจำเลยยังใช้ไม้ตีซ้ำ จนผู้เสียหายแกล้งทำเป็นสลบ จำเลยกับพวกจึงวิ่งหนีไปดังนี้ ถือได้ว่าการชกต่อยเตะตีทำร้ายติดต่อกันเนื่องมาจากสาเหตุเดิมคือโกรธที่เดินชนหาใช่ทำร้ายโดยมีเจตนาจะเอาทรัพย์มาแต่แรกไม่ และการที่จำเลยแย่งเอานาฬิกาข้อมือของผู้เสียหายไปในลักษณะดังกล่าว ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย อันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐาน ทำร้ายร่างกายและฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 กระทงเดียว ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 กระทงหนึ่ง และฐานลักทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 อีกกระทงหนึ่ง ซึ่งมีโทษเบากว่า ข้อหาฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ที่แก้ไขใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 กระทงเดียว ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 กระทงหนึ่ง และฐานลักทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 อีกกระทงหนึ่ง ซึ่งมีโทษเบากว่า ข้อหาฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขโทษจำคุกตามกฎหมายใหม่ที่บัญญัติขึ้นภายหลังการกระทำความผิด
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทุกกรรมรวม 3 กระทง กระทงแรกประหารชีวิตอีก 2 กระทงลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลย 1 ใน 3 กระทงแรกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต อีก 2 กระทงลงโทษกระทงละ8 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี รวมจำคุกจำเลย 51 ปี 4 เดือน ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีการแก้ไขและบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขึ้นใหม่อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย โดยในกรณีคดีนี้เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วจำคุกได้ไม่เกิน 50 ปี ศาลฎีกาแก้เป็นให้จำคุกจำเลยมีกำหนด 50 ปี