พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไร ถือเป็นการค้า ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้
โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 และเพิ่งแบ่งที่ดินบางส่วนมาสร้างตึกแถวขึ้นภายหลัง เพื่อประสงค์จะขายตึกแถวพร้อมที่ดินโดยแบ่งเป็นคูหาตึกแถวที่สร้างขึ้นใหม่จึงเป็นตึกแถวที่โจทก์สร้างขึ้นมาเพื่อขายหากำไรโดยเฉพาะเงินได้จากการขายตึกแถวเป็นเงินได้พึงประเมินตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) เพราะคำว่า 'การอื่น' นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(8) นั้นหมายถึงเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40(1)ถึง (7) ก็ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8).
โจทก์ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 และเพิ่งแบ่งที่ดินบางส่วนมาสร้างตึกแถวขึ้นภายหลัง เพื่อประสงค์จะขายตึกแถวพร้อมที่ดินโดยแบ่งเป็นคูหาตึกแถวที่สร้างขึ้นใหม่จึงเป็นตึกแถวที่โจทก์สร้างขึ้นมาเพื่อขายหากำไรโดยเฉพาะเงินได้จากการขายตึกแถวเป็นเงินได้พึงประเมินตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) เพราะคำว่า 'การอื่น' นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(8) นั้นหมายถึงเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40(1)ถึง (7) ก็ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าหลังการซื้อขายฝาก และการทำละเมิดจากการกีดขวางการค้า
โจทก์เช่า แผงตลาดจากบริษัทฐ. อยู่ก่อนที่จำเลยที่ 2 จะซื้อที่ดินที่ตั้งแผงจากบริษัท ฐ. เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อมาแล้วก็ขายฝากให้แก่บริษัท ค. ไปในวันเดียวกัน กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งก่อสร้างย่อมตก เป็นของผู้รับซื้อฝากซึ่งรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าแผงเดิม ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกการเช่า กับโจทก์ และโจทก์ยังมีสิทธิอยู่ในแผงของตน ต่อไป เมื่อจำเลยให้คนงานล้อมรั้วปิดกั้นแผงทำให้ลูกค้าไม่เข้าซื้อสินค้าของโจทก์จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ จำเลยที่ 2 ขายฝากที่ดินตรงที่ตั้งแผงที่โจทก์เช่า อยู่ให้แก่บริษัท ค. ตั้งแต่ก่อนฟ้องแย้ง และขณะฟ้องแย้งยังมิได้จดทะเบียนไถ่ถอนคืน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งมิใช่ผู้รับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าในขณะฟ้องแย้ง การที่จำเลยที่ 2 บอกเลิกการเช่า กับโจทก์จึงไม่ชอบ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากแผงที่เช่า โจทก์ฟ้องตั้งทุนทรัพย์พิพาทมาเพียง 32,400 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ตามฟ้องแย้งมาด้วยก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องชั่งผิดอัตรา: ไม่เข้าข่ายเอาเปรียบทางการค้า แต่เป็นความผิดกรรมเดียว
เมื่อน้ำหนักจริง 1 กก. ใช้เครื่องชั่งของจำเลยจะชั่งได้เพียง 800 ก. จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายย่อมเสียเปรียบ ผู้ซื้อในการที่น้ำหนักจริงของสินค้าของตนขาดหายไป 200 ก.กทุก 1 กก.ของน้ำหนักจริง ดังนั้น การที่จำเลย มีและใช้เครื่องชั่งดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการเอาเปรียบ ในการค้า ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 270 จำเลยมีและใช้เครื่องชั่งที่ผิดอัตราอันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัดฯ มาตรา 31 ในวันเวลาเดียวกัน เท่ากับว่าจำเลยมีเจตนาอันเดียวการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวเมื่อศาลล่างลงโทษมาเป็น 2 กระทง แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์ชำระหนี้ถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษี หากเกี่ยวเนื่องกับการค้า
โจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการ การที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคารตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้หนี้ของโจทก์ลดลงนับได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ตอบแทนแล้ว ถือได้ว่าเป็นการขายตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ซึ่งให้ความหมายของคำว่า'ขาย'ว่า'หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝากแลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีประโยชน์ตอบแทนด้วย'
แม้ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจะมิใช่เป็นประโยชน์ตอบแทนทางการค้าหรือเป็นการปลดเปลื้องหนี้สินบางส่วน มิใช่รายรับเนื่องจากการประกอบการค้าโดยตรงแต่เมื่อโจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการ การที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคารก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบการค้าของโจทก์นั่นเอง หนี้ที่ลดลงก็เป็นประโยชน์ซึ่งมีมูลค่าที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้า จึงเป็นรายรับตามประมวลรัษฏากรมาตรา 79 อันโจทก์จะต้องเสียภาษีการค้า
แม้ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจะมิใช่เป็นประโยชน์ตอบแทนทางการค้าหรือเป็นการปลดเปลื้องหนี้สินบางส่วน มิใช่รายรับเนื่องจากการประกอบการค้าโดยตรงแต่เมื่อโจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการ การที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคารก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบการค้าของโจทก์นั่นเอง หนี้ที่ลดลงก็เป็นประโยชน์ซึ่งมีมูลค่าที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้า จึงเป็นรายรับตามประมวลรัษฏากรมาตรา 79 อันโจทก์จะต้องเสียภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3984/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซื้อขายไม่เคลือบคลุม - สำเนาเอกสารใช้แทนต้นฉบับได้ - หนี้ร่วมจากการค้า
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้ซื้อลูกไก่อาหารไก่และ อาหารหมู ไปจากโจทก์รวม 26 ครั้ง เป็นเงิน 115,835 บาท จำเลยทั้งสองได้รับ สินค้าไปตามสำเนาภาพถ่ายใบรับฝากสินค้าท้ายฟ้อง จำเลยค้างชำระ ค่าสินค้าเป็นเงิน 51,930 บาท เป็นคำฟ้อง ที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนข้อที่ว่าใครเป็นผู้ซื้อ ผู้รับสินค้าและเป็นสินค้าชนิดใดนั้นเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ผู้ขายได้มอบต้นฉบับใบรับฝากสินค้าให้แก่จำเลยผู้ซื้อไป คงเก็บไว้แต่สำเนา ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ ศาลรับฟังสำเนาแทนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นสามีของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองประกอบการค้า ร่วมกันในสถานที่เดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในหนี้สิน ที่ทำการค้าร่วมกัน
โจทก์ผู้ขายได้มอบต้นฉบับใบรับฝากสินค้าให้แก่จำเลยผู้ซื้อไป คงเก็บไว้แต่สำเนา ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ ศาลรับฟังสำเนาแทนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นสามีของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองประกอบการค้า ร่วมกันในสถานที่เดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในหนี้สิน ที่ทำการค้าร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการค้า: การพิสูจน์เจตนาซื้อเพื่ออุตสาหกรรมมีผลต่ออายุความสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ประกอบการค้าพิมพ์หนังสือและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ กับ จำหน่ายเครื่องอุปกรณ์การพิมพ์ทุกชนิด ฟ้องเรียกราคาค่าอุปกรณ์การพิมพ์ที่จำหน่ายจากจำเลยโดยมิได้บรรยายฟ้องหรือนำสืบเลยว่า จำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวไปเพื่อวัตถุประสงค์อย่างไรหรือเพื่อใช้ประกอบกิจการใด และตามทางนำสืบของจำเลยปรากฏว่าจำเลยประกอบกิจการค้าหลายอย่างหลายประการคำว่า "อุตสาหกรรม" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) ตอนท้าย นั้น หมายถึงการประดิษฐ์หรือผลิตทำสิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายขายสินค้านั้น ๆ ไป ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์ในเรื่องนี้การที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยซื้อสินค้านั้นไปเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยเองจึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอุปกรณ์การพิมพ์ที่ขายแก่จำเลยตามฟ้องอยู่ในกิจการค้าของโจทก์และทำในฐานะเป็นพ่อค้าขายสินค้านั้นดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 165 (1) จึงต้องฟังว่าโจทก์เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของแก่จำเลยสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดสองปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท: ใช้เครื่องชั่งผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้า
จำเลยมีไว้เพื่อใช้ซึ่งเครื่องชั่งที่ผิดอัตรา และได้ใช้เครื่องชั่งนั้นในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่น ซึ่งต่างก็มีวัตถุประสงค์เพื่อเอาเปรียบในการค้าเช่นเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ศาลล่างทั้งสองลงโทษเป็น 2 กระทง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนแบบลักษณะสำคัญของเครื่องหมายการค้าผู้อื่นจนเกิดความเข้าใจผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปตัวการ์ตูนทรงกระบอกรูปขวดมีหมวก ตา ปาก มือ เท้าและลำตัว ซึ่งดัดแปลงมาจากขวดของน้ำมันพืชกุ๊ก ส่วนเครื่องหมายค้าของจำเลยเป็นรูปตุ๊กตาประดิษฐ์ มีหมวก ตา ปาก มือ เท้าและลำตัวมือขวา ถือตะหลิวหงายขึ้น ทรงลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก โดยจำเลยลอกเลียนเอาจุดเด่นของรูปตัวการ์ตูนที่ประดิษฐ์ขึ้นของโจทก์ไปดัดแปลงบางส่วน เมื่อพิจารณารวมทั้งเครื่องหมายจะ เห็นความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายทั้งสองอย่างเห็นได้ชัด ถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ ทำให้สาธารณชนเสื่อมความเชื่อถือในสินค้าของโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่าได้รับความเสียหาย ศาลย่อมวินิจฉัยค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความ ร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองบานประตูไม้สักเพื่อการค้าเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้จะใช้ในการรับเหมา
แม้มาตรา5 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ จะบัญญัติให้คัดสำเนาประกาศปิดตามสถานที่ซึ่งเกี่ยวข้องก็เป็นเพียงกำหนดวิธีการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติในการประกาศเท่านั้นหาใช่บทบัญญัติอันเป็นองค์ประกอบความผิดไม่จึงไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องมาด้วย หากจำเลยเห็นว่ายังไม่ได้มีการปิดประกาศตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งจะใช้บังคับจำเลยไม่ได้ ก็ชอบที่จะยกขึ้นต่อสู้ให้เป็นประเด็นแต่จำเลยมิได้ต่อสู้เช่นนั้นคงต่อสู้ว่าจำเลยมีบานประตูไม้สักไว้ในความครอบครองโดยชอบ ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าบานประตูไม้สักเป็นเครื่องใช้ซึ่งอยู่ในข่ายควบคุมประกาศดังกล่าว จำเลยมิได้หลงต่อสู้ประการใด ฟ้องของโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่
บานประตูไม้สักมีสภาพเป็นเครื่องใช้ แม้จะเหลือจากการรับเหมาก่อสร้างก็ยังคงมีสภาพเป็นเครื่องใช้อยู่เช่นเดิม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าประเภทรับเหมาก่อสร้างแม้จะมีบานประตูไม้สักไว้ใช้ในการรับเหมาก่อสร้าง ก็เป็นการมีไว้ในความครอบครองเพื่อการค้าเช่นเดียวกัน หาจำเป็นต้องมีไว้เพื่อขายโดยตรงไม่
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ซึ่งมีบานประตูไม้สักไว้ในครอบครองเพื่อการค้าจำเลยในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ลงมือกระทำการย่อมจะต้องรับผิดในทางอาญาด้วย คดีนี้ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในฐานะตัวการผู้ร่วมกระทำผิดมิได้ลงโทษจำคุกในฐานะที่เป็นผู้แทนนิติบุคคล จึงไม่ขัดกับมาตรา 7 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บานประตูไม้สักมีสภาพเป็นเครื่องใช้ แม้จะเหลือจากการรับเหมาก่อสร้างก็ยังคงมีสภาพเป็นเครื่องใช้อยู่เช่นเดิม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าประเภทรับเหมาก่อสร้างแม้จะมีบานประตูไม้สักไว้ใช้ในการรับเหมาก่อสร้าง ก็เป็นการมีไว้ในความครอบครองเพื่อการค้าเช่นเดียวกัน หาจำเป็นต้องมีไว้เพื่อขายโดยตรงไม่
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ซึ่งมีบานประตูไม้สักไว้ในครอบครองเพื่อการค้าจำเลยในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ลงมือกระทำการย่อมจะต้องรับผิดในทางอาญาด้วย คดีนี้ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในฐานะตัวการผู้ร่วมกระทำผิดมิได้ลงโทษจำคุกในฐานะที่เป็นผู้แทนนิติบุคคล จึงไม่ขัดกับมาตรา 7 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางการค้าต่างชาติ: อำนาจฟ้องคดีในไทย & การพิสูจน์สิทธิทางการค้า
โจทก์อยู่ต่างประเทศ อ้างสิทธิคำว่า HILTON เป็นนามทางการค้าของโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยใช้นามเดียวกันโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 กรณีเช่นนี้หาได้มีกฎหมายจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในประเทศไทยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยให้การว่าไม่รับรองและขอปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ เกี่ยวกับการใช้นามทางการค้าตามฟ้อง และต่อสู้ด้วยว่า นามที่จำเลยใช้ไม่ใช่นามเดียวกับโจทก์ จำเลยไม่รับรองและปฏิเสธการเป็นนิติบุคคลและวัตถุประสงค์ของโจทก์ รวมทั้งเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีด้วย จึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องได้ โจทก์จึงยังมีหน้าที่นำสืบอยู่ ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีโดยไม่มีการสืบพยานหาได้ไม่
จำเลยให้การว่าไม่รับรองและขอปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ เกี่ยวกับการใช้นามทางการค้าตามฟ้อง และต่อสู้ด้วยว่า นามที่จำเลยใช้ไม่ใช่นามเดียวกับโจทก์ จำเลยไม่รับรองและปฏิเสธการเป็นนิติบุคคลและวัตถุประสงค์ของโจทก์ รวมทั้งเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีด้วย จึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องได้ โจทก์จึงยังมีหน้าที่นำสืบอยู่ ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีโดยไม่มีการสืบพยานหาได้ไม่