คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การดำเนินคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์หลังฟ้องคดี การระงับคดีอาญาเฉพาะการร้องทุกข์ ไม่กระทบต่อคดีที่ฟ้องต่อศาล
การถอนคำร้องทุกข์ที่จะทำให้คดีระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) นั้นต้องเป็นการถอนโดยเจตนาที่จะไม่เอาความแก่จำเลยอีกต่อไป แต่การที่โจทก์ขอถอนคำร้องทุกข์โดยเหตุที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแล้ว ไม่ประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนพยานหลักฐานของโจทก์อีก จึงคงระงับไปแต่เฉพาะเรื่องการร้องทุกข์ ส่วนคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลไว้แล้วนั้นหาระงับไปไม่ ศาลย่อมดำเนินคดีต่อไปได้ เสมือนว่าไม่มีการร้องทุกข์มาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมและการจงใจทิ้งฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการชำระค่าขึ้นศาลครบถ้วนก่อนการสืบพยาน ไม่ถือเป็นการจงใจทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระเพิ่มเติม โจทก์แถลงรับว่าจะนำมาชำระก่อนวันนัดสืบพยานคราวหน้า หากไม่นำมาชำระให้ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป ก่อนวันนัดสืบพยาน 1 วัน โจทก์ขอชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมเพียงบางส่วน ส่วนที่ยังขาดขอขยายเวลาไปอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต โจทก์แถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ รุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันนัด โจทก์ได้นำค่าขึ้นศาลส่วนที่เพิ่มมาชำระจนครบถ้วน ก่อนเวลาศาลจะเรียกเข้าห้องพิจารณาเพื่อดำเนินการสืบพยาน ดังนี้ จะถือว่าโจทก์จงใจทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมและการจงใจทิ้งฟ้อง ศาลมิถือว่าเป็นการจงใจทิ้งฟ้องหากโจทก์ได้ชำระค่าขึ้นศาลครบถ้วนก่อนการสืบพยาน
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระเพิ่มเติม โจทก์แถลงรับว่าจะนำมาชำระก่อนวันนัดสืบพยานคราวหน้า หากไม่นำมาชำระให้ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป ก่อนวันนัดสืบพยาน 1 วัน โจทก์ขอชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมเพียงบางส่วน ส่วนที่ยังขาดขอขยายเวลาไปอีก 30 วันศาลชั้นต้นไม่อนุญาต โจทก์แถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ รุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันนัด โจทก์ได้นำค่าขึ้นศาลส่วนที่เพิ่มมาชำระจนครบถ้วน ก่อนเวลาศาลจะเรียกเข้าห้องพิจารณาเพื่อดำเนินการสืบพยาน ดังนี้ จะถือว่าโจทก์จงใจทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และการดำเนินคดีแทนตัวการที่ถึงแก่ความตาย
การที่คู่ความตั้งแต่งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น เป็นการตั้งแต่งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น เมื่อโจทก์ผู้เป็นตัวการถึงแก่กรรมกรณีจึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828ซึ่งบัญญัติว่า เมื่อสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปเพราะตัวการตายตัวแทนต้องจัดการอันสมควรทุกอย่าง เพื่อจะปกปักรักษาประโยชน์ อันเขาได้มอบหมายแก่ตนไปจนกว่าทายาทหรือผู้แทนของตัวการจะเข้าปกปักรักษาประโยชน์นั้นๆ ได้ ดังนี้ ทนายโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนย่อมมีหน้าที่ต้องจัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ทนายโจทก์ฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายหาเป็นโมฆะไม่ แม้ตัวโจทก์จะถึงแก่ความตายไปก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษา และยังไม่มีทายาทร้องขอเข้ารับมรดกความและแต่งทนายโจทก์เป็นทนายความของผู้รับมรดกความก็ตาม
จำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 คันที่เกิดเหตุรถชนกันไปปฏิบัติงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มาตั้งแต่ก่อนวันเกิดเหตุโดยไม่ปรากฏว่าผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 ทักท้วงหรือมีบุคคลอื่นขับขี่รถยนต์คันนั้น วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวบรรทุกเครื่องสูบน้ำไปช่วยสูบน้ำให้หมู่บ้านชาวเขาอันเป็นการกระทำเกี่ยวกับหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 2 ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ข้อที่จำเลยที่ 2อ้างว่าได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ทำงานในตำแหน่งผู้ชำนาญงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ใช้ในการก่อสร้าง ไม่มีหน้าที่ขับรถยนต์นั้นเป็นระเบียบข้อบังคับอันเป็นเรื่องภายในของจำเลยที่ 2 จะอ้างมาต่อสู้หรือใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้
หลังจากเลิกงานขนน้ำเพื่อช่วยเหลือชาวเขาอันเป็นการงานในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 1 ยังมิได้เอารถเข้าเก็บแต่ได้ขับไปที่แห่งอื่นจนกระทั่งเกิดเหตุชนรถยนต์ของทางราชการทหารอากาศ เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย ดังนี้แม้จะเกิดเหตุหลังจากเลิกงานแล้ว ก็ถือว่ายังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 เพราะการปฏิบัติหน้าที่ยังไม่เสร็จสิ้นโดยอยู่ในระหว่างที่จำเลยที่ 1จะต้องนำรถยนต์มาเก็บที่สำนักงานของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2512 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนบังคับคดีเมื่อจำเลยไม่ทราบการดำเนินคดีและศาลบังคับคดีไม่เป็นไปตามลำดับในคำพิพากษา
ตามคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยอ้างว่า การดำเนินคดีของโจทก์ตั้งแต่ฟ้องจนมีการบังคับคดี จำเลยไม่ทราบเพราะจำเลยไปอยู่ที่อื่นเพิ่งทราบเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์จำเลยในวันที่ 7 เมษายน 2511 แล้วในวันที่ 22 เดือนเดียวกัน จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงเป็นการยื่นคำขอภายใน 15 วันนับแต่วันที่จำเลยทราบถึงการยึดทรัพย์ เพราะก่อนนั้นเป็นเวลาที่จำเลยยังไม่ทราบอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้(อ้างฎีกาที่ 1296/2510)
แม้ศาลยังมิได้อนุญาตในการที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ แต่โจทก์ก็ได้ขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีข้ามชั้นไม่เรียกตามลำดับในคำพิพากษาคือ ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนขายที่ดินให้โจทก์และให้จำเลยรับเงินที่ยังเหลือ 2,000 บาทจากโจทก์ หากจำเลยไม่จัดการโอน ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 13,000 บาท และให้จำเลยเสียค่าปรับอีก 13,000 บาทแก่โจทก์ จึงต้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินและรับเงินจากโจทก์เสียก่อน แต่โจทก์กลับขอให้ยึดที่ดินของจำเลยขาดทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์ทีเดียวและศาลชั้นต้นได้สั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติที่มิได้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาเป็นชั้น ๆ จึงเป็นกรณีที่ดำเนินการบังคับคดีผิดไปจากคำพิพากษาศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีโดยจำเลย ศาลชอบที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
จำเลยพยายามที่จะให้คดีดำเนินไปอย่างล่าช้า กล่าวคือในเบื้องต้นจำเลยทำเป็นฟ้องแย้งแล้วปล่อยระยะเวลาให้ล่วงเลยไปโดยไม่นำเจ้าพนักงานไปส่งหมายเรียกและฟ้องแย้งให้โจทก์. ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีฟ้องแย้ง. วันชี้สองสถานฝ่ายจำเลยไม่มาศาล.วันสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยแถลงว่าปวดฟันขอเลื่อน ศาลอนุญาตและได้กำชับว่าหากมีกรณีขอเลื่อนไปอีกศาลจะไม่อนุญาตถ้าไม่มีเหตุผลที่หนักแน่นสมควร. นัดที่ 2 โจทก์ขอเลื่อน นัดที่ 3 จำเลยขอเลื่อนโดยอ้างเหตุป่วยปวดฟัน. ศาลอนุญาตให้เลื่อน และสั่งว่าจะอนุญาตให้จำเลยขอเลื่อนไปครั้งนี้ครั้งเดียว ในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนไปอีกไม่ว่ากรณีใด. นัดที่ 4 ทนายจำเลยขอเลื่อนอีก อ้างเหตุปวดฟัน. โจทก์คัดค้าน ศาลจึงไม่อนุญาตให้เลื่อน. ตามพฤติการณ์ที่ฝ่ายจำเลยดำเนินคดีตลอดมาดังกล่าวนี้ เป็นการประวิงคดี. ศาลจึงไม่อนุญาตให้เลื่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมหลังคดีเปลี่ยนประเภท และการพิจารณาถึงเจตนาของโจทก์ในการดำเนินคดี
คดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในภายหลัง.แม้ศาลกำหนดให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลที่เพิ่มขึ้นมาชำระก่อนวันนัดพิจารณา. แต่ต่อมาได้มีการเลื่อนการพิจารณาโดยคู่ความแถลงว่า. คดีอาจมีทางตกลงกัน แล้วตกลงกันไม่ได้.พฤติการณ์ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์มิได้จงใจขัดขืนไม่ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มตามที่ศาลสั่ง. ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง.โดยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด. ไม่ควรที่ศาลจะด่วนสั่งจำหน่ายคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง และการดำเนินคดีกับจำเลยร่วม
เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยและจำเลยร่วมแล้วแม้จำเลยและจำเลยร่วมจะคัดค้านไม่ยอมให้ถอน แต่ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของศาลในการที่จะพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร เพราะศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต หรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 175 วรรคสอง
ในคดีที่ศาลอาจยกข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างเพื่อวินิจฉัย แล้วพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) นั้น เป็นเรื่องที่แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรจะยกขึ้นหรือไม่ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเลยดำเนินคดีโดยโจทก์ ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีจากสารบบความได้
ศาลชั้นต้นสั่งเลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องจากวันที่ 28 ตุลาคม 2508 โดยให้นัดไต่สวมมูลฟ้องใหม่ในวันที่ 13 ธันวาคม 2508 อันให้เวลาโจทก์ถึง 46 วัน และศาลก็สั่งให้แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบ ถ้าส่งหมายนัดไม่ได้ ก็ให้ปิดหมาย ซึ่งถ้าโจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง ก็น่าจะกระทำได้ก่อนกำหนด ไม่ใช่รอให้ถึงวันนัดโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งแล้วมายื่นคำร้องขอแก้ฟ้องเอาในวันนัด เพื่ออาศัยเป็นเหตุที่จะเลื่อนคดีต่อไป เช่นนี้ ย่อมเป็นการละเลยเพิกเฉยในการดำเนินคดี ศาลย่อมสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์เสียจากสารบบความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์และการดำเนินคดีที่ถูกต้อง: คดีมีข้อพิพาทต้องยื่นฟ้อง
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสให้อำนาจภริยาผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินบริคณห์อย่างไรผู้ร้องจึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการสินบริคณห์ตามกฎหมาย การที่ภริยาผู้ร้องเข้าแย่งจัดการ ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจะนำคดีมาสู่ศาล ได้ 2 อย่างคือ คดีมีข้อพิพาทกับคดีที่ไม่มีข้อพิพาท
คดีของผู้ร้องปรากฏว่ามีคำขอให้บังคับคดีแก่ภริยาผู้ร้องโดยขอให้ศาลสั่งห้ามภริยาไม่ให้เข้าจัดการในที่ดินสินบริคณห์เป็นการโต้แย้งสิทธิซึ่งได้ตั้งพิพาทกันในทางแพ่งจึงเป็นคดีมีข้อพิพาทอันจะต้องเริ่มคดีด้วยการทำเป็นคำฟ้องมายื่นต่อศาลเรียกเอาภริยาเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อให้โอกาสแก่ภริยาต่อสู้คัดค้านป้องกันสิทธิและ เพื่อที่จะบังคับคดีเอาแก่ภริยาได้ตามคำร้องขอของผู้ร้อง จึงต้อง เสนอคดีโดยทำเป็นคำฟ้องมายื่นต่อศาล
of 9