คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การละเมิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง: การมอบรถให้ลูกจ้างเก็บและยินยอมให้ใช้รถนอกเวลาทำงาน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถของจำเลยที่ 2 มีที่พักอยู่ในบริเวณบริษัทซึ่งใช้เป็นโรงรถด้วย เมื่อเลิกงานจำเลยที่ 1 รวมทั้งพนักงานขับรถคนอื่น ๆ จะนำรถเข้าจอดในโรงรถเอากุญแจรถแขวนไว้ข้างฝาผนังโรงรถ พนักงานขับรถสามารถหยิบกุญแจไปได้ ตอนเช้าพนักงานขับรถแต่ละคนก็ขับรถคันที่ตนขับประจำออกไปปฏิบัติงาน เท่ากับว่าจำเลยที่ 2 มอบรถให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บหลังเลิกงานเพื่อนำรถออกปฏิบัติงานในวันต่อไป แม้จะให้เอากุญแจรถแขวนไว้ข้างฝาก็มิได้เก็บมิดชิดรัดกุม ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้พนักงานขับนำรถออกไปใช้เมื่อหมดเวลาทำงานหรือในวันหยุดได้ด้วย ดังนั้นแม้วันเกิดเหตุจะเป็นวันหยุดงานและเกิดเหตุนอกเวลาทำงานและจำเลยที่ 1 เอารถคันเกิดเหตุออกไปส่งญาติ ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถออกไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของจำเลยที่ 1.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้าง/เจ้าของรถต่อการละเมิดของลูกจ้าง/ผู้ขับขี่ และประเด็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 5 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลยที่ 4 ชนรถโจทก์เสียหายดังนี้คำฟ้องของโจทก์ย่อมมีความหมายว่า จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 เป็นเพียงผู้แทนของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น ซึ่งพอเข้าใจว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 และได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 โดยจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทำแทน จึงเป็นคำฟ้องที่ให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425 และ มาตรา 820 แล้ว
การที่จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5และศาลกะประเด็นข้อพิพาทว่า การที่จำเลยที่ 1 ขับรถก่อการละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 หรือไม่เป็นการกะประเด็นกว้างๆซึ่งย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และที่กะประเด็นอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 เพียงใดหรือไม่ย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะส่วนตัว และหมายถึงจำเลยที่ 5 โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นผู้แทน ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้าง/เจ้าของรถต่อการละเมิดของลูกจ้าง/ผู้ขับขี่ และประเด็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 5 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลยที่4 ชนรถโจทก์เสียหายดังนี้คำฟ้องของโจทก์ย่อมมีความหมายว่า จำเลยที่ 4 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 เป็นเพียงผู้แทนของจำเลยที่5 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น ซึ่งพอเข้าใจว่าจำเลยที่1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 และได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่5 โดยจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทำแทน จึงเป็นคำฟ้องที่ให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425 และ มาตรา 820 แล้ว
การที่จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และศาลกะประเด็นข้อพิพาทว่า การที่จำเลยที่ 1 ขับรถก่อการละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 หรือไม่เป็นการกะประเด็นกว้างๆ ซึ่งย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 5 และที่กะประเด็นอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยที่2 ถึงที่ 6 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 เพียงใดหรือไม่ย่อมหมายถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะส่วนตัว และหมายถึงจำเลยที่ 5 โดยมีจำเลยที่ 4เป็นผู้แทน ดังนั้น ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าที่ทำให้สับสน: ห้ามใช้ชื่อ/เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของผู้อื่นจนเกิดความเสียหาย
จำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้นามภาษาไทยว่า 'บริษัทยอร์ค จำกัด' แม้จำเลยจะใช้นามเป็นภาษาอังกฤษซึ่งส่วนหนึ่งมีคำว่า 'YORK' ตรงกับส่วนหนึ่งของนามโจทก์ที่2 แต่นามภาษาไทยและนามเต็มภาษาอังกฤษก็แตกต่างกับนามโจทก์ที่ 2 จำแนกได้ชัดแจ้งว่ามิใช่นิติบุคคลเดียวกันอนึ่ง โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศไม่ปรากฏว่าได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งไม่ได้ความว่าการใช้นามของจำเลยทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ประการใด จึงไม่มีเหตุจะห้ามจำเลยใช้นามของจำเลย
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'YORK' ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวก 6 และ 18 ผู้อื่นจึงไม่มีสิทธินำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจำเลยใช้คำว่า 'YORKINC.LTD.' สำแดงให้ปรากฏกับสินค้าจำพวก 6 ประเภทเครื่องปรับอากาศที่จำเลยผลิตออกจำหน่าย โดยคำว่า 'YORK' ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่มีลักษณะเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 คำว่า 'INC.LTD.' ใช้ตัวอักษรขนาดเล็ก ได้ความว่า ส. กรรมการแต่ผู้เดียวของบริษัทจำเลยเคยเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยมาก่อน สินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศของจำเลยก็มีรูปลักษณะส่วนใหญ่เหมือนของโจทก์ที่ 1 แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้ปรากฏควบคู่อยู่ด้วยแต่ก็เป็นตัวอักษรขนาดเล็ก พฤติการณ์ต่างๆ ประกอบกันฟังได้ชัดแจ้งว่า จำเลยมุ่งหวังใช้คำว่า'YORK' ให้เป็นที่สังเกตในลักษณะเครื่องหมายการค้า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 หรือโจทก์ที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยการกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์ที่ 1 มีสิทธิขอให้ห้ามได้
ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่นั้น มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิในนามทางการค้า: การใช้ชื่อบริษัทคล้ายคลึงกันทำให้เกิดความเข้าใจผิดและเสียหาย
โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ประเภท บริษัทจำกัด โดยโจทก์จดทะเบียนก่อนใช้ชื่อว่า บริษัทยูเนี่ยนการ์เมนท์ จำกัด จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อว่า บริษัทดียูเนี่ยนการ์เมนท์ จำกัด เป็นการเลียนแบบถือได้ว่า เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18,420 โจทก์ขอให้ห้ามใช้ชื่อได้
แม้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัท แต่จำเลยทั้งสี่ก็ต้อง รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในมูลละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำสั่งไล่ออก และการละเมิดของข้าราชการ: ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยหากผู้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ถูกกล่าวหาว่าทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยที่ 1 ตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 อธิบดีกรมศุลกากรได้มีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการตามมติของ อ.ก.พ.กระทรวงการคลัง เป็นการปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของทางราชการฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ เมื่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์สั่งไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบอย่างไรแล้ว ศาลไม่มีอำนาจหน้าที่เข้าไปวินิจฉัยชี้ขาดอีกโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งหรือพิพากษาให้จำเลยเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 355/2516)
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่เมื่อพิจารณาฟ้องทั้งหมดแล้วได้ความว่า จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนโดยชอบธรรม และผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษโจทก์ตามอำนาจหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว การกระทำดังที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีได้ยักยอกเงินของทางราชการไปในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการโจทก์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งคณะกรรมการได้ทำบันทึกเสนอโจทก์ผ่านกองวิชาการว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดด้วย แม้โจทก์จะไม่ได้เซ็นทราบในความเห็นนี้ แต่การที่กองวิชาการบันทึกเสนอความเห็นให้สอบสวนเพิ่มเติมเพื่อที่จะรู้ว่ายังมีใครอีกบ้างที่จะต้องรับผิดเป็นจำนวนเท่าใดและโจทก์ได้มีคำสั่งในบันทึกดังกล่าวเห็นชอบด้วยถือได้ว่าโจทก์ทราบตัวบุคคลผู้ที่จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วในวันนั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช่ค่าสินไหมทดแทน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิด
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีได้ยักยอกเงินของทางราชการไปในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ โจทก์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่ง คณะกรรมการได้ทำบันทึกเสนอโจทก์ผ่านกองวิชาการว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดด้วย แม้โจทก์จะไม่ได้เซ็นทราบในความเห็นนี้ แต่การที่กองวิชาการบันทึกเสนอความเห็นให้สอบสวนเพิ่มเติมเพื่อที่จะรู้ว่ายังมีใครอีกบ้างที่จะต้องรับผิดเป็นจำนวนเท่าใดและโจทก์ได้มีคำสั่งในบันทึกดังกล่าวเห็นชอบด้วยถือได้ว่าโจทก์ทราบตัวบุคคลผู้ที่จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วในวันนั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช่ค่าสินไหมทดแทน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างและผลของการโอนการครอบครองรถยนต์ของผู้เอาประกันภัย
เมื่อจำเลยที่ 2 นายจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถยนต์บรรทุกซึ่งจำเลยที่ 1 ขับประจำ เข้าร่วมในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 3 บริษัทจำเลยที่ 3 ย่อมอยู่ในฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้าง มิใช่ในฐานะตัวการฉะนั้น การที่จำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุโอนการครอบครองรถยนต์ให้จำเลยที่ 2 ตามสัญญาเช่าซื้อ โดยไม่บอกกล่าวให้จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยทราบ ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 พ้นจากความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 875 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์และการปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า: จำเลยพิมพ์ปกหนังสือละเมิดลิขสิทธิ์และใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยพิมพ์ปกหนังสือแบบเรียนซึ่งเป็นหนังสือที่โจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ขึ้นมีจำนวนถึง 5,000 แผ่น แสดงว่าเป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการพิมพ์คัดลอกหนังสือแบบเรียนนั้นขึ้นใหม่ทั้งเล่มเพื่อขาย การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะหาใช่ลักษณะของการทำเอกสารปลอมไม่ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 แต่การที่จำเลยเอาเครื่องหมายอักษร "ประชาช่าง" อยู่ภายในวงกลมของโจทก์ร่วมมาพิมพ์ไว้ที่ปกหนังสือของกลาง เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าหนังสือที่ใช้ปกดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมนั้น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272
of 11