คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนขายที่ดิน: ดอกเบี้ยเริ่มนับจากคำสั่งศาล
การเพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อและผลกระทบต่อการฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล
การขายทอดตลาดฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองนั้นถ้าศาลสั่งเพิกถอนการขาย มีผลเสมือนไม่มีการขาย แม้มีการโอนทรัพย์นั้นให้ผู้ซื้อ แล้วก็จะต้องเพิกถอนการโอนไม่ว่าผู้รับโอนจะสุจริตหรือเสียค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการเพิกถอนการขายทอดตลาด ผู้ซื้อมีสิทธิรับโอนทั้งมีสิทธิโอนให้ผู้อื่นโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ยังไม่ได้การรับโอนและการโอนไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องผู้ซื้อและผู้รับโอนต่อ ๆ มาซึ่งทรัพย์นั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถแยกจากทะเบียน การโอนทะเบียนหลังยึดไม่ใช่ความผิด
การโอนรถทางทะเบียนนั้น เป็นเพียงหลักฐานเพื่อแสดงว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิใช้รถซึ่งเป็นมาตรการในการควบคุมการใช้รถ ตามนัย พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 6,17 เท่านั้นมิใช่เป็นหลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโอนรถไปเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2528ภายหลังการยึดหนึ่งวัน และนำสืบเพียงว่า วันที่ 17 มกราคม2528 เป็นเพียงการโอนทางทะเบียน มิใช่โอนกรรมสิทธิ์ในตัวรถเช่นนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในรถคันที่โจทก์ฟ้องไปก่อนการยึดแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะเพิ่งโอนทะเบียนรถไปหลังจากการยึด 1 วัน ก็เป็นเพียงโอนทางทะเบียน มิใช่โอนกรรมสิทธิ์ในตัวรถ ดังนั้นจำเลยย่อมไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี เจ้าหนี้มีสิทธิขอเพิกถอนได้
การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนยกบ้านพิพาทให้ผู้ร้องหลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำบ้านพิพาทไปเป็นประกันเงินกู้แก่โจทก์จากนั้นจำเลยที่ 2 ยังคงอยู่ในบ้านพิพาทตามเดิม พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 จดทะเบียนยกบ้านให้ผู้ร้องเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดีเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีกการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนบ้านพิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 กรณีเป็นการพิจารณาชั้นบังคับคดี ซึ่งเจตนารมณ์ของการบังคับคดียอมให้ว่ากล่าวเรื่องการโอนโดยไม่สุจริตได้ภายหลังการยึดทรัพย์แล้วศาลจึงมีอำนาจชี้ขาดเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีร้องขัดทรัพย์ได้โดยไม่จำต้องให้โจทก์ไปดำเนินการฟ้องร้องขอให้ทำลายการโอนหรือเพิกถอนการฉ้อฉลก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี เจ้าหนี้มีสิทธิขอเพิกถอนได้
จำเลยที่ 2 ภริยาของจำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกบ้านพิพาทให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของจำเลยทั้งสองภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองนำบ้านพิพาทไปประกันเงินกู้ให้โจทก์ ระยะเวลาห่างกันประมาณเดือนเศษ หลังจากโอนบ้านพิพาทให้ผู้ร้องแล้ว จำเลยที่ 2 ยังคงอยู่ตามเดิมพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 จดทะเบียนยกบ้านให้ผู้ร้องเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดีเท่านั้น เมื่อปรากฎว่านอกจากบ้านพิพาทแล้ว จำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์อย่างอื่นอีก การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 เสียเปรียบ อันเป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนรายนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 คดีนี้เป็นการพิจารณาชั้นบังคับคดีเจตนารมณ์ของการบังคับคดียอมให้ว่ากล่าวเรื่องดังกล่าวได้ภายหลังการยึดทรัพย์แล้วศาลจึงมีอำนาจชี้ขาดตามความในบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้โดยมิพักต้องให้โจทก์ไปดำเนินการฟ้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลเสียก่อน การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารสัญญากู้ระหว่างจำเลยทั้งสองกับโจทก์ให้ผู้ร้องก่อนวันสืบพยาน 3 วัน เป็นเพราะผู้ร้องเป็นบุตรของจำเลยทั้งสอง และเป็นผู้รับโอนบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 2โจทก์จึงเข้าใจว่าผู้ร้องคงทราบเรื่องที่จำเลยทั้งสองกู้เงินโจทก์ตามฟ้องแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบผู้ร้อง เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี สมควรรับฟังสัญญากู้ดังกล่าว การรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: การโอนมรดกและการซื้อขายทรัพย์สินระหว่างสมรส ไม่ถือเป็นสินส่วนตัว
ตามภาพถ่ายโฉนดที่ดินระบุว่าผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ ตั้งบ้านพิพาทในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ผู้ตาย แสดงว่าผู้ร้องไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทเป็นส่วนตัว กรณี ดังกล่าวยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องได้ที่ดินและบ้านพิพาทมาระหว่าง สมรสโดยการรับมรดกจากมารดาของตน ต่อมาผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดก ได้ขายที่ดินให้อ.เสร็จเด็ดขาดไปแล้วหลังจากนั้นอ. นำที่ดินไปแบ่งแยกขายให้แก่บุคคลภายนอก และโอนขายที่ดินที่เหลือ พร้อมบ้านพิพาทให้ผู้ร้อง เมื่อไม่ปรากฎว่าผู้ร้องนำเงินสินส่วนตัว ไปซื้อที่ดินและบ้านพิพาทคืนมาจึงฟังไม่ได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาท เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง แต่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาของจำเลยจึงมีสิทธินำ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมา ชำระหนี้แก่โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย
คดีเดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ร.หาก ส. จะขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่แทนโจทก์ ตามปกติย่อมกระทำได้โดยยื่นคำร้องในคดีเดิม หรืออาจฟ้องโจทก์แยกจากคดีเดิมได้โดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นแต่ให้สิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิมก่อนการปัน มรดก เสร็จสิ้นลงเท่านั้น หาเป็นการตัดสิทธิมิให้ฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากไม่
คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีใหม่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. แทนนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ โจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของ ร. อีกต่อไป
การที่ ส. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกทำตามมติที่ประชุมทายาทโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการจัดการตามอำนาจหน้าที่และมิใช่เป็นการทำนิติกรรมที่ตนมีส่วนได้เสียอันเป็นปรปักษ์ต่อกองมรดก นิติกรรมจึงมีผลสมบูรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5577/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินไม่ปิดอากรแสตมป์ ไม่กระทบการรับฟังเป็นพยานหลักฐาน สิทธิครอบครองย้ายตามการโอน
ประมวลรัษฎากรไม่ได้บังคับว่าสัญญาซื้อขายจะต้องปิดอากรแสตมป์ ดังนั้น แม้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟัง เป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๑๘.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5575/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่เปลี่ยนมือจนกว่าจะจดทะเบียน แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความ การโอนที่ดินจึงไม่เป็นยักยอก
จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยยกที่ดินให้ว.ครึ่งหนึ่งโดยใส่ชื่อว. เป็นเจ้าของรวมในโฉนด แต่เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนใส่ชื่อ ว.เป็นเจ้าของรวมว. ก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเพียงผู้เดียว การที่จำเลยโอนที่ดินทั้งหมดให้ ถ. จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4731/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการบอกกล่าวเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ ผู้รับโอนย่อมได้สิทธิ แม้การโอนเดิมไม่ชอบ
โจทก์ครอบครองทำกินในที่พิพาทตลอดมา โจทก์เคยบอกจำเลยว่าได้ซื้อที่พิพาทมาจากผู้อื่นจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทโดยสุจริตโดยครอบครองเพื่อตนแล้ว เมื่อเป็นเวลาเกินกว่า1 ปี และจำเลยไม่ได้ฟ้องเอาคืนภายในเวลาดังกล่าว ที่พิพาทจึงตกเป็นของโจทก์.
of 15