พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1278/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องห้ามปรามเมื่อจำเลยอ้างสิทธิในฐานะผู้รับโอนจากบุคคลอื่น แม้ไม่มีการจดทะเบียนสมรส
โจทก์ฟ้องว่า นาพิพาทเป็นของโจทก์ ครอบครองมาจำเลยไปขอจดทะเบียน ออกโฉนดว่าเป็นที่ของผู้อื่น ขอให้ห้าม จำเลยต่อสู้ว่าเป็นนาของภริยาจำเลยครอบครองมาไม่ใช่นาของโจทก์ ดังนี้แม้จะปรากฏว่าจำเลยกับภริยาสมรสกันโดยมิได้จดทะเบียน จำเลยก็อาจอ้างอำนาจของคนที่ 3 เป็นข้อต่อสู้ของโจทก์ได้เพราะถ้าข้อเท็จจริงฟังได้สมข้อต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของภริยาจำเลย ไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีอำนาจที่จะห้ามจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าและการฟ้องขับไล่: การเช่าเพื่อค้าไม่คุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
แม้ฝ่ายผู้เช่าจะฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างเจ้าของทรัพย์ที่เช่ากับเจ้าของเดิมอยู่ เจ้าทรัพย์ก็ฟ้องขับไล่ผู้เช่าได้
เช่าห้องเพื่อทำการค้าเป็นส่วนใหญ่ย่อมไม่รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน
เช่าห้องเพื่อทำการค้าเป็นส่วนใหญ่ย่อมไม่รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มเมื่อไม่ได้เป็นเจ้าของ และต้องมีการคัดค้านเมื่อมีการโอนสิทธิ
ผู้ซึ่งอยู่ในที่ดินของคนอื่น แต่เวลาที่เจ้าพนักงานไปรังวัดออกโฉนด และได้โอนตกทอดต่อ ๆ กันมาจนถึงโจทก์ ตนก็มิได้คัดค้านถึงจะอยู่มานานเท่าใดก็ไม่มีสิทธิจะยกอำนาจปกครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเก็บค่าเช่าหลังหย่า: สัญญาที่ทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของสินสมรสเป็นโมฆะ
โจทก์ที่ 1 กับ อ. จดทะเบียนการหย่าโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีการทำบันทึกแบ่งสินสมรส ให้ อ. ดำเนินการเกี่ยวกับสินสมรสและภาระหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นโดยไม่ชักช้า หากยังมีเหลืออยู่เท่าใด อ. จะยกให้แก่บุตรทั้งสอง อ. ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิการเก็บค่าเช่ากับจำเลยที่ 2 ซึ่งตามสัญญา ในข้อ 1 ระบุว่าผู้โอนสิทธิเป็นผู้มีสิทธิในการเก็บค่าเช่าห้องพักบนที่ดิน เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินตามบันทึกแบ่งสินสมรส ซึ่ง อ. ทราบอยู่แล้วว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ อ. การที่ อ. ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิการเก็บค่าเช่า โดยโจทก์ที่ 1 ไม่ทราบเรื่องและไม่ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5537/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเป็นทรัพย์มรดก ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวเจ้ามรดก
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 106 บัญญัติว่า "ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบให้บุคคลอื่น ให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อผู้อนุญาตเห็นว่าผู้รับโอนมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 แล้วแต่กรณี ให้อนุญาตโดยเร็ว" และมาตรา 107 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตตายหรือเป็นคนสาบสูญ และทายาทมีความประสงค์จะดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบต่อไป ให้ทายาทซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 21 หรือในกรณีที่มีทายาทหลายคน ให้ทายาทด้วยกันนั้นตกลงตั้งทายาทคนหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 21 ยื่นคำขอรับโอนใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับใบอนุญาตตายหรือสาบสูญหรือภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตขยายเวลาตามความจำเป็น..." แสดงให้เห็นว่าผู้รับใบอนุญาตอาจโอนโรงเรียนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการโอนระหว่างที่ตนมีชีวิต หรือการโอนทางมรดกเมื่อตนถึงแก่ความตายแล้ว และสิทธิของผู้รับใบอนุญาตซึ่งได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนดังกล่าวไม่ระงับหรือหมดสิ้นไปในทันทีที่ผู้รับใบอนุญาตนั้นถึงแก่ความตาย สิทธิดังกล่าวจึงไม่เป็นสิทธิที่เป็นการเฉพาะตัวของผู้รับใบอนุญาตโดยแท้ ส่วนการที่ทายาทผู้ยื่นคำขอเพื่อรับโอนโรงเรียนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 21 เป็นเรื่องที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯ กำหนดไว้เพื่อประโยชน์ในการให้บริการทางการศึกษา ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมในอันที่จะให้ผู้รับโอนมีทั้งความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมในมาตรฐานเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาต จึงไม่มีผลกระทบต่อสภาพแห่งสิทธิการเป็นผู้รับใบอนุญาตที่ทายาทอาจขอรับโอนได้ตาม มาตรา 107 วรรคหนึ่ง ดังนั้นการได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ส. จึงไม่เป็นการเฉพาะตัวของเจ้ามรดก สิทธิในการรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเป็นทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3604/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้คู่สัญญาจะโอนสิทธิให้ผู้อื่น การซื้อขายที่ดินโดยรู้เงื่อนไขเป็นเหตุเพิกถอนได้
โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสองมิได้ให้การโต้แย้งถึงความมีอยู่หรือความสมบูรณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว กรณีต้องถือว่าจำเลยทั้งสองรับแล้วว่า จำเลยที่ 1 กับโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) ดังนั้น กรณีจึงถือว่าสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญา และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 นั่นคือ การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ด้วยเหตุนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เข้าผูกพันตนตามสัญญากับโจทก์ยอมยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้เป็นของบุตรทั้งสองเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว โดยจำเลยที่ 1 จะไม่โอนขายบ้านและที่ดินดังกล่าวเด็ดขาด แม้ว่าสัญญาดังกล่าวจะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือ บุตรทั้งสอง และบุคคลภายนอกตามที่ระบุไว้ในสัญญายังมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะยังไม่บรรลุนิติภาวะตามเงื่อนไขในสัญญาก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ยังคงต้องผูกพันตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จะย้อนมาอ้างสิทธิว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสหรือไม่อย่างไรไม่ได้ เพราะสิทธิของจำเลยที่ 1 ตามที่มีอยู่เดิมเหนือที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวได้ระงับสิ้นไปแล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้แต่สิทธิและพันธะหน้าที่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14887/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ต้องมีการโอนสิทธิจากคู่ความเดิมหรือผู้มีสิทธิ
ในการพิจารณาว่าบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้รับโอนสินทรัพย์ขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้หรือไม่นั้น แม้ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 มิได้บัญญัติว่าการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามมาตรานี้ต้องเป็นการโอนหรือรับโอนมาจากผู้ใด แต่การที่กฎหมายบัญญัติให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ย่อมมีความหมายว่าต้องเป็นการโอนหรือรับโอนสินทรัพย์มาจากผู้โอนซึ่งเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิม
เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่ความอยู่เดิมมิได้เป็นผู้โอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแก่ผู้ร้องโดยตรง ส่วนบริษัท ร. ผู้โอน มิใช่คู่ความอยู่เดิมหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ตามคำร้องได้
เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่ความอยู่เดิมมิได้เป็นผู้โอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแก่ผู้ร้องโดยตรง ส่วนบริษัท ร. ผู้โอน มิใช่คู่ความอยู่เดิมหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ตามคำร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13708/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ และสิทธิในการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ต้องเป็นการโอนจากคู่ความเดิม
พ.รก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ดังกล่าวเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น" แม้บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าการโอนสินทรัพย์ไปให้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามมาตรานี้ต้องเป็นการโอนหรือรับโอนมาจากผู้ใด แต่การที่กฎหมายบัญญัติให้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่มีการฟ้องร้องหรือที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ ย่อมมีความหมายว่าต้องเป็นการโอนหรือรับโอนสินทรัพย์มาจากผู้โอนซึ่งเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิมดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่ความอยู่เดิมมิได้เป็นผู้โอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วแก่ผู้ร้อง ส่วนบริษัท ร. จำกัด ผู้โอน มิใช่คู่ความอยู่เดิมหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ตามคำร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย 2544: การโอนสิทธิโดยชอบตามกฎหมายเฉพาะไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติ ป.พ.พ.
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 เป็นกฎหมายที่ตราออกมาใช้บังคับเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศตามหมายเหตุแนบท้าย พ.ร.ก. และข้อความในตอนต้นของ พ.ร.ก. ก็ระบุไว้อย่างแจ้งชัดแล้วว่า พ.ร.ก. นี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของกฎหมาย พ.ร.ก. ดังกล่าวมิได้ใช้บังคับกับการทำนิติกรรมทั่ว ๆ ไป ดังเช่นที่ใช้ใน ป.พ.พ. แต่ใช้เป็นกรณีพิเศษเกี่ยวกับหนี้สินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.ก. เท่านั้น บทบัญญัติต่าง ๆ ที่ระบุไว้จึงย่อมแตกต่างไปจากที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. รวมทั้งเรื่องการบังคับจำนองหรือการเอาทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิของผู้รับจำนอง การที่โจทก์บังคับจำนองทรัพย์สินคือที่ดินพิพาทหลุดเป็นสิทธิโดยอาศัยอำนาจตามที่ พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 76 ให้อำนาจไว้โดยชอบแล้ว แม้ไม่ได้ดำเนินการตามที่ ป.พ.พ. บัญญัติไว้ ก็ไม่ทำให้การโอนที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11233/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าและการขัดขวางการใช้เครื่องหมาย การฟ้องร้องต้องอาศัยเหตุแห่งการละเมิดที่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ระหว่างจำเลยทั้งสองและถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ขอให้จำเลยที่ 2 ถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ของจำเลยที่ 2 และขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองขัดขวางหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้า "TAYWIN ORIGINAL STYLE" อ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดข้อตกลงตามสัญญาให้ใช้สิทธิ โดยมิได้อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ดีกว่าจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยทั้งสองมิได้ฟ้องแย้งว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ คดีนี้จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์หรือไม่
การที่จำเลยที่ 2 แจ้งต่อโจทก์ให้โจทก์และผู้เกี่ยวข้องระงับการใช้ แสดง จำหน่าย สั่งเข้า มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากเพิกเฉยจะดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้ใช้ ผู้ละเมิดสิทธิ ผู้เลียน ผู้ปลอม ผู้ลวงขายสินค้าดังกล่าวโดยมิชอบจนถึงที่สุด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ หรือโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด ข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ในขณะฟ้องโจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ และไม่อาจขอบังคับให้ห้ามกระทำการใดที่ยังไม่เกิดขึ้นได้
การที่จำเลยที่ 1 คัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้า ไม่อาจถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือขัดขวางหรือกระทำการอันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE" แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจขอบังคับให้ห้ามจำเลยทั้งสองขัดขวางหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE"
การที่จำเลยที่ 2 แจ้งต่อโจทก์ให้โจทก์และผู้เกี่ยวข้องระงับการใช้ แสดง จำหน่าย สั่งเข้า มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากเพิกเฉยจะดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้ใช้ ผู้ละเมิดสิทธิ ผู้เลียน ผู้ปลอม ผู้ลวงขายสินค้าดังกล่าวโดยมิชอบจนถึงที่สุด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ หรือโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด ข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ในขณะฟ้องโจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ และไม่อาจขอบังคับให้ห้ามกระทำการใดที่ยังไม่เกิดขึ้นได้
การที่จำเลยที่ 1 คัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้า ไม่อาจถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือขัดขวางหรือกระทำการอันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE" แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจขอบังคับให้ห้ามจำเลยทั้งสองขัดขวางหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE"