คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำหนด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่นำส่งสำเนาฎีกาตามกำหนด ถือเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา
จำเลยฎีกาแล้วไม่นำส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์ภายในกำหนดที่ศาลสั่ง เป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 174 ข้อ 2 นั้น ที่จำเลยแถลงว่าทนายจำเลยติดว่าความที่ศาลต่างจังหวัด ไม่ได้มานำส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์นั้น ไม่เป็นเหตุสมควรที่จะผ่อนผันให้ได้ ศาลฎีกาจึงต้องจำหน่ายคดีจากสารบบความศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: สิทธิของผู้เช่าเมื่อเจ้าของบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด
ทำหนังสือสัญญาเช่าสวนกัน 3 ปี นับแต่วันที่ระบุไว้ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 10 เดือนข้างหน้า ดังนี้ เมื่อก่อนถึงกำหนดวันดังระบุไว้ ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิ์บอกเลิกสัญญา ถ้าผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนถึงกำหนดวันเช่าที่ระบุไว้ ผู้เช่าฟ้องเรียกค่าเสียหายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: สิทธิของผู้เช่าเมื่อถูกบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด
ทำหนังสือสัญญาเช่าสวนกัน 3 ปี นับแต่วันที่ระบุไว้ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 10 เดือนข้างหน้า ดังนี้ เมื่อก่อนถึงกำหนดวันดังระบุไว้ ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ถ้าผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนถึงกำหนดวันเช่าที่ระบุไว้ ผู้เช่าฟ้องเรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นดีกาภายในกำหนดหลังศาลอุธรณ์พิพากษาใหม่ คู่ความไม่อาจขอให้ส่งสำนวนให้ศาลดีกาพิจารณาได้
คดีที่สาลดีกาย้อนสำนวนไปไห้สาลอุธรน์พิจารนาพิพากสาไหม่นั้น เมื่อสาลอุธรน์พิพากสาไหม่และส่งไปอ่านไห้ความฟังแล้ว แต่คู่ความไม่ยื่นดีกาเสียหายไนอายุดีกานั้นเกินกำหนดแล้ว คู่ความจะมาร้องขอต่อสาลชั้นต้นไห้ส่งสำนวนไปยังสาลดีกาอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ภายในกำหนด + ขอเป็นคนอนาถาภายหลัง: ศาลรับได้ แม้เสียค่าธรรมเนียมเกินกำหนด
คู่ความยื่นอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดอายุความอุทธรณ์หนึ่งเดือน พร้อมด้วยยื่นคำร้องขอว่าความอย่างคนอนาถา หลังจากนั้น 7 วันก็ขอเสียค่าธรรมเนียมและวางเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเช่นนี้ ศาลสั่งรับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาได้ แม้วันเสียค่าธรรมเนียมและวางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้วจะเกินอายุความอุทธรณ์หนึ่งเดือนก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความอุธรณ์: การยื่นอุธรณ์ใหม่หลังพ้นกำหนดและอายุความ ย่อมขาดอายุความ
สาลชั้นต้นสั่งว่าอุธรน์ฟุ่มเฟือยก้าวร้าวไห้ทำมายื่นไหม่พายไน 3 วันผู้อุธรน์ร้องอุธรน์คำสั่ง สาลอุธรน์สั่งยก ผู้อุธรน์จึงทำอุธรน์มายื่นไหม่ แต่เปนเวลาเกินกำหนด 3 วัน และเลยอายุความอุธรน์แล้วดังนี้ ถือว่าฟ้องอุธรน์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์จำกัดเฉพาะคำสั่งที่ถูกอุทธรณ์ภายในกำหนด หากพ้นกำหนดแล้วศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัย
อำนาจศาลอุทธรณ์เมื่อศาลเดิมมีคำสั่งอย่างใด ถ้าคู่กรณีย์ไม่อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดอุทธรณ์แล้วศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจที่จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งซึ่งคู่กรณีย์ได้ยื่นเมื่อพ้นกำหนดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินค่าธรรมเนียมไม่ตรงตามกำหนดส่งผลต่อการรับอุทธรณ์
คู่ความไม่ได้วางเงินค่าธรรมเนียมภายในกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9952-9953/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา และการพิจารณาคำร้องอุทธรณ์ที่เกินกำหนดตาม ป.วิ.อ.
โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลล่างทั้งสองรับรองให้โจทก์ร่วมฎีกา อุทธรณ์คำสั่งโจทก์ร่วมดังกล่าวจึงมิใช่อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ร่วม แต่เป็นอุทธรณ์คำสั่งในเรื่องที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์คำสั่งโจทก์ร่วมดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ร่วมโดยเห็นว่าโจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์คำสั่งหลังจากครบกำหนดแล้ว เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม กรณีเช่นนี้คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นที่สุดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15049/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีอธิบดียังมิได้กำหนดประเภทยาเสพติด
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ คำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาจึงครอบคลุมถึงเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่าตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย เมื่ออธิบดีกรมตำรวจยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง
of 7