คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำหนดระยะเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน การเลิกจ้างตามกำหนดไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยจ้างโจทก์โดยมีกำหนดระยะเวลาเป็นช่วงๆ ช่วงละ 6 เดือน ครั้งสุดท้ายมีกำหนดระยะเวลา 4 เดือน สัญญาจ้างระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ทุกช่วงจึงถือว่า เป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลานั้น จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอน: สิทธิในการรับค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีความว่า "เริ่ม 1 เมษายน 2525 เป็นเวลา 1 ปีหรือมากกว่า ตามที่ทั้งสองฝ่ายจะได้ตกลงกันเมื่อสิ้นสุดการจ้าง งานปีแรก" นั้น มิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน เพราะจะจ้างอย่างน้อย 1 ปีแล้วไม่จ้างต่อไปอีกก็ได้ หรือเมื่อครบ 1 ปี แล้วอาจตกลงจ้างกันต่อไปเกินกว่า 1 ปีก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอน ค่าชดเชยยังคงต้องจ่าย
สัญญาจ้างที่มีความว่า 'เริ่ม 1 เมษายน 2525 เป็นเวลา 1 ปี หรือมากกว่า ตามที่ทั้งสองฝ่ายจะได้ตกลงกันเมื่อสิ้นสุดการจ้างงานปีแรก' นั้น มิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนเพราะจะจ้างอย่างน้อย 1 ปีแล้วไม่จ้างต่อไปอีกก็ได้ หรือเมื่อครบ 1 ปีแล้วอาจตกลงจ้างกันต่อไปเกินกว่า 1 ปีก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผูกพันตามหนังสือให้คำมั่นซื้อขายที่ดิน: กำหนดระยะเวลาและผลของการไม่ปฏิบัติตาม
หนังสือให้คำมั่นของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยระบุไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยต้องยื่นคำเสนอว่าจะซื้อที่พิพาทคืนภายในกำหนดเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2515 การที่จำเลยเพิ่งเสนอว่าจะซื้อที่พิพาทคืนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2522. จึงล่วงเลยกำหนดระยะเวลาตามคำมั่นเสียแล้ว คำเสนอขอซื้อของจำเลยจึงไร้ผล
การที่ศาลชั้นต้นในคดีอื่นมีคำสั่งห้ามโอนที่พิพาทเป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น มิได้เป็นข้อห้ามหรือขัดข้องแก่การที่จำเลยจะยื่นคำเสนอขอซื้อที่พิพาทคืน เพราะการเสนอขอซื้อเป็นคนละขั้นตอนกับการจำหน่ายจ่ายโอน คำสั่งห้ามชั่วคราวดังกล่าวจึงไม่มีผลให้ระยะเวลาตามคำมั่นต้องสะดุดหยุดลง
ข้อฎีกาที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2020/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: กำหนดระยะเวลาชำระค่าที่ดินเป็นสาระสำคัญ หากผิดนัดสิทธิบังคับคดีระงับ
สัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดว่า โจทก์ยอมชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญา และจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันได้รับชำระเงินนั้น เป็นการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเพื่อให้โจทก์ชำระค่าที่ดิน อันเป็นสารสำคัญของสัญญาซึ่งคู่สัญญาต่างก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาตามข้อสัญญาดังกล่าว เป็นคนละเรื่องกับสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งมีกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา เมื่อโจทก์มิได้ชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยภายในกำหนดระยะเวลาตามข้อสัญญา โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดและไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลยให้โอนขายที่ดินแก่ตนได้ โจทก์จะอ้างว่ามีสิทธิบังคับคดีได้ภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือมีคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา และผลของการต่อสัญญา ไม่ทำให้เกิดสิทธิค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยครั้งแรกได้กำหนดระยะเวลาไว้โดยมีข้อสัญญาว่า "เมื่อครบกำหนดแล้วสัญญานี้จะมีผลใช้บังคับต่อไปโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย และต้องทำสัญญากันใหม่อีกชั้นหนึ่ง" ครบกำหนดตามสัญญาฉบับแรกแล้วได้มีการทำสัญญากันใหม่อีกโดยกำหนดเวลาไว้เช่นกัน และข้อกำหนดในสัญญาเช่นเดิม ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวมิใช่เงื่อนไขที่ทำให้ระยะเวลาที่กำหนดไว้เปลี่ยนแปลงไป แต่มีความหมายเพียงว่าถ้าโจทก์จำเลยประสงค์จะว่าจ้างกันต่อไปก็ต้องตกลงกันใหม่เป็นคราวๆถ้าไม่มีการตกลงทำสัญญากันใหม่ หรือไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมให้โจทก์ทำงานต่อไป สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยก็เป็นอันสิ้นสุดลง สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 วรรคท้าย ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา การต่อสัญญา และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยครั้งแรกได้กำหนดระยะเวลาไว้โดยมีข้อสัญญาว่า 'เมื่อครบกำหนดแล้วสัญญานี้จะมีผลใช้บังคับต่อไปโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย และต้องทำสัญญากันใหม่อีกชั้นหนึ่ง' ครบกำหนดตามสัญญาฉบับแรกแล้วได้มีการทำสัญญากันใหม่อีกโดยกำหนดเวลาไว้เช่นกัน และข้อกำหนดในสัญญาเช่นเดิม ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวมิใช่เงื่อนไขที่ทำให้ระยะเวลาที่กำหนดไว้เปลี่ยนแปลงไป แต่มีความหมายเพียงว่าถ้าโจทก์จำเลยประสงค์จะว่าจ้างกันต่อไปก็ต้องตกลงกันใหม่เป็นคราวๆถ้าไม่มีการตกลงทำสัญญากันใหม่ หรือไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมให้โจทก์ทำงานต่อไป สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยก็เป็นอันสิ้นสุดลง สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 วรรคท้าย ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างงานไม่มีกำหนดระยะเวลา สิทธิการรับค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
เอกสารของจำเลยที่ตอบรับโจทก์เข้าทำงานไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยตกลงจ้างกันเป็นกำหนดระยะเวลาเท่าใด ข้อความเกี่ยวกับเงินโบนัสก็เป็นเพียงเงื่อนไขว่ากรณีที่โจทก์ปฏิบัติงานจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมก็จะได้รับเงินโบนัสเท่ากับเงินเดือน 2 เดือนเท่านั้น ข้อความดังกล่าวมิได้แสดงว่าจำเลยตกลงจ้างโจทก์จนถึงเดือนธันวาคม ทั้งข้อตกลงที่ว่าในวันสุดท้ายของการสิ้นสุดตามสัญญาจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามกฎหมายแรงงาน ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่จำเลยทั้งสองยอมจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เมื่อสิ้นสุดตามสัญญาซึ่งเกิดขึ้นได้ในกรณีบอกกล่าวเลิกสัญญาตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้น ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์ไว้โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา vs. หลีกเลี่ยงค่าชดเชย: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นสัญญาจ้าง 4 ฉบับ
เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การคงมีประเด็นโต้เถียงกันเพียงว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ และโจทก์จำเลยรับข้อเท็จจริงกันว่าจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาแต่ละฉบับระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้ จึงถือได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการจ้างที่กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยโดยฟังว่าสัญญาจ้างทั้ง 4 ฉบับ ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทดลองงานและการบอกกล่าวล่วงหน้า: สัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาไม่ต้องใช้มาตรา 582
โจทก์เป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลย มีข้อตกลงกำหนดให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นระยะเวลา 180 วัน หากผลงานเป็นที่พอใจโจทก์จะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ สัญญานี้ไม่ใช่เป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อสัญญามีข้อตกลงให้สิทธิจำเลยที่จะขอเลิกสัญญาโดยบอกล่าวล่วงหน้า 1 วัน จึงเป็นข้อตกลงที่มีผลบังคับได้
of 9