คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กู้ยืม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องหนี้สัญญา กู้ยืม และการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลมีอำนาจรับฟังได้หากมีเหตุผลความจำเป็น
โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้เงิน2 ฉบับ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2518 ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืนมีจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยทั้งห้ายื่นคำให้การแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่2 มีนาคม 2532 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันชี้สองสถาน จำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพิ่มข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 10 ปี ดังนี้เห็นได้ว่าวันที่โจทก์ยื่นฟ้องและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ปรากฏอยู่ในฟ้องแล้ว และจำเลยทั้งห้าทราบมาแต่แรกที่ได้รับสำเนาฟ้องแล้วว่าการกู้เงินตามที่กล่าวในฟ้องเป็นการกู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืน ซึ่งอายุความฟ้องร้องย่อมเริ่มนับทันทีที่โจทก์ให้กู้ไป จึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งห้าอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อเพิ่มเติมข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความได้ก่อนวันชี้สองสถาน แม้จำเลยทั้งห้าจะยังไม่ได้รับสำเนาสัญญากู้เงินจากโจทก์ก็ตาม ข้อเท็จจริงที่จำเลยอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความก็ปรากฏอยู่ในคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานแล้ว จำเลยทั้งห้าหาจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องจากสำเนาสัญญากู้แต่อย่างใดไม่ทั้งเรื่องที่ขอแก้ไขคำให้การนี้ก็ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้มีข้อต่อสู้เกี่ยวกับอายุความภายหลังวันชี้สองสถาน จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสอง (เดิม) ตามฟ้องโจทก์ปรากฏอยู่แล้วว่า โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เป็นเงิน 544,600 บาท และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วคงค้างอยู่ในวันคิดบัญชีคือวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531เป็นต้นเงิน 164,000 บาท และดอกเบี้ย 150,564.09 บาทดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแจ้งชัดแล้วว่า หนี้ต้นเงินจำนวน164,600 บาท ที่ค้างชำระคิดมาจากยอดหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าว และการกล่าวถึงดอกเบี้ยก็เข้าใจได้อยู่แล้วว่าหมายถึงดอกเบี้ยของต้นเงินที่ค้างชำระอยู่ดังกล่าวโดยนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 นั่นเองส่วนรายละเอียดในการคิดบัญชีนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ได้แสดงความจำนงอ้างสัญญากู้เป็นพยานโดยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคแรกแล้ว แต่ในการสืบพยาน โจทก์มิได้ส่งสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวให้จำเลยทั้งห้าก่อนวันสืบพยานอย่างน้อย 3 วันดังที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90(เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าแก้ไขคำให้การในข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นเรื่องอายุความตามที่จำเลยทั้งห้าฎีกาขึ้นมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมจากการกู้ยืมระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียน การแบ่งทรัพย์สินและผลกระทบต่อหนี้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรส ระหว่างอยู่กินด้วยกันมีทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันหลายรายการ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยากันต่อไป ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ครึ่งหนึ่ง จำเลยให้การไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยกู้ยืมเงินจากนาง ย. และนางสาว อ. มาเพื่อใช้ปลูกบ้านซึ่งเป็นทรัพย์รายการหนึ่งที่ต้องแบ่ง หากโจทก์ประสงค์จะแบ่งทรัพย์ก็จะต้องนำหนี้รายนี้มาแบ่งรับผิดชอบด้วย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะต้องร่วมแบ่งความรับผิดหนี้กู้ยืมนี้หรือไม่ โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง
หนี้เงินกู้ยืมที่จำเลยให้การว่า โจทก์จะต้องร่วมรับผิด ตามสัญญากู้จำเลยผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ แม้จะฟังว่ามีจริง โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นตามป.พ.พ. มาตรา 291 และแม้จะแบ่งความรับผิดชอบก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น โจทก์และจำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวเป็นส่วนเท่า ๆ กันอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 เมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าหนี้ตามสัญญากู้เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ หรือจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวไปแล้ว จำเลยจะขอให้โจทก์แบ่งความรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวในชั้นนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้กู้ยืม: หลักฐานการชำระเงินต้น vs. ดอกเบี้ย และการนำไปชำระหนี้
การนำสืบถึงการชำระเงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดง หรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หรือแทงเพิกถอนในเอกสารตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการนำสืบถึงการชำระต้นเงินเท่านั้น ไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ยด้วย จำเลยจึงนำสืบถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
จำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองชำระให้โจทก์สูงกว่าดอกเบี้ยจากต้นเงินตามสัญญากู้และสัญญาจำนองนับแต่วันกู้ยืมมาจนถึงวันฟ้อง เงินส่วนที่ชำระดอกเบี้ยซึ่งเกินดังกล่าวต้องนำไปชำระต้นเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่เป็นหลักฐานการกู้ยืม และฟ้องขาดอายุความ
เอกสารไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าเป็น "ตั๋วสัญญาใช้เงิน"คงมีแต่ข้อความว่าเป็น "ตั๋ว" เอกสารดังกล่าวจึงขาดสาระสำคัญของตั๋วสัญญาใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983(1)จึงมิใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้โดยอ้างเอกสารซึ่งมีข้อความว่าจำเลยจะจ่ายเงินตามคำสั่งของโจทก์โดยไม่มีถ้อยคำชัดว่าเป็นหนี้เงินกู้หรือหนี้อย่างอื่น โจทก์ย่อมจะนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบว่าเป็นหนี้เงินกู้ได้ เมื่อโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงความเป็นหนี้ลงลายมือชื่อลูกหนี้แล้วและสืบพยานประกอบอธิบายได้ว่าหนี้นั้นเป็นหนี้สินแห่งการกู้ยืมเอกสารนั้นก็เป็นหนังสืออันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมแล้ว โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามหลักฐานเอกสารนั้นมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม)ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ จำเลยมีข้อพิพาทกัน (มาตรา 193/30ที่แก้ไขใหม่) และในเรื่องอายุความนี้ มาตรา 169(เดิม)(มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติว่า อายุความให้นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อจำเลยไม่เคยชำระเงินต้นและดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2519ตามที่ระบุในเอกสาร จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดชำระเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้ใด ๆ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น และการผิดนัดดังกล่าวเอกสารนั้นระบุให้มีผลว่าตั๋วหรือเอกสารนั้นถึงกำหนดได้ทันที และจ่ายเงินโดยไม่ต้องทวงถามสุดแล้วแต่ผู้ถือจะเลือกซึ่งมีความหมายว่า โจทก์มีสิทธิเลือกให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีโดยไม่ต้องทวงถามก่อน ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม2519 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2530 นับจากวันที่ 16 มีนาคม 2519ถึงวันฟ้องเกิน 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสาร 'ทดรองจ่าย' ไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม แม้ลูกหนี้ลงลายมือชื่อรับเงิน
การที่ใบสำคัญคู่จ่ายมีข้อความเพียงว่า ทดรองจ่ายให้คุณสมศักดิ์ (ลูกหนี้) เท่านั้น แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินไว้ด้วย ก็มีความหมายเพียงว่าออกเงินหรือทรัพย์ไปก่อนไม่มีข้อความที่แสดงว่าลูกหนี้ต้องใช้เงินคืนแก่เจ้าหนี้หรือกำหนดการเสียดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นลักษณะของการกู้ยืม จะฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่ได้ จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนอง: แม้การกู้ยืมขาดหลักฐาน แต่จำเลยที่ 2 และ 3 ผู้จำนองยังต้องรับผิดชอบหนี้ตามสัญญา
การนำสืบถึงมูลหนี้เดิมอันเป็นที่มาแห่งหนี้ตามฟ้องเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดีหาเป็นการนำสืบนอกประเด็นไม่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 แม้การกู้ยืมเงินขาดหลักฐานตามกฎหมายก็เพียงต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้นเมื่อหนี้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีอยู่จริงและสมบูรณ์ตามกฎหมาย ย่อมมีการจำนองเป็นประกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 707 และ 681 เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ โจทก์ย่อมบังคับเอากับผู้จำนองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอ และการพิสูจน์หลักฐานการกู้ยืมเงิน โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและสภาพสัญญา
จำเลยฟ้องขอให้บังคับให้โจทก์รับเงินที่จำเลยกู้มาจำนวน16,000 บาทคืน และส่งมอบที่นาจำนวน 22 ไร่คืนแก่จำเลยเท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ส่งมอบหลักฐานเกี่ยวกับที่นาดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยด้วยนั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ของทายาทต่อเจ้าหนี้ แม้ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเดิม ศาลพิพากษายืนตามสัญญา
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่า จำเลยทั้งสองทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ โดยยอมรับว่า ล. เป็นหนี้โจทก์จำนวน 300,000 บาทยังมิได้ชำระและจำเลยทั้งสองยอมชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า คำให้การของจำเลยทั้งสองชอบด้วยกฎหมาย ข้อคัดค้านของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบฟังไม่ขึ้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาว่า ล. เป็นหนี้โจทก์หรือไม่ และจำเลยทั้งสองต้องรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยมา จึงไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่เป็นสาระแก่คดีอันจะทำให้คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีหลักฐานกู้ยืม และข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีเช็คจำนวนน้อย ศาลยกฟ้อง
เช็คฉบับที่ 2 ถึงฉบับที่ 5 สั่งจ่ายเงินไม่เกินฉบับละ5,500 บาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับเช็ค ฉบับที่ 2 ถึงฉบับที่ 5และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ แล้วพิพากษากลับให้ลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง โดยมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดที่เกี่ยวกับเช็คฉบับที่ 2 ถึงฉบับที่ 5 คดีในส่วนนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คือ ยกฟ้องโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์ร่วมว่า จำเลยได้ขอกู้เงินโจทก์ร่วมจำนวน 99,800 บาท โจทก์ร่วมตกลงให้กู้จำเลยได้ออกเช็ค 5 ฉบับ รวมทั้งเช็คพิพาทฉบับที่ 1 มอบให้โจทก์ร่วมพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือของจำเลยมาประกอบ เห็นได้ว่าโจทก์ร่วมให้จำเลยกู้เงินโดยมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ที่บัญญัติในภายหลังว่า การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยซึ่งได้กระทำการเช่นนั้นจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา2 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาที่ไม่สมบูรณ์แบบ ยังใช้เป็นหลักฐานการกู้ยืมได้ หากมีเจตนาและมีการกู้ยืมจริง
จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินโจทก์ไปจริง การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งในสัญญาตอนต้นระบุว่าเป็นผู้กู้ลงลายมือชื่อในช่องพยาน และจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้โดยไม่มีชื่อเป็นผู้กู้ในตอนต้นของสัญญาไม่ทำให้เอกสารดังกล่าวไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามข้อความในเอกสารดังกล่าว
of 19