พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างโดยปริยาย: การก่อสร้างและการรับค่าจ้าง
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโรงงานและอาคารสำนักงานมีปัญหาว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยหรือไม่ ไม่ว่าโจทก์จะอาสาขอทดลองทำถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กให้แก่จำเลยตามที่จำเลยอ้างหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยอมให้โจทก์เข้าก่อสร้างทำงานนี้ ก็ต้องถือว่าจำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์โดยปริยายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมให้ก่อสร้างถือเป็นการว่าจ้างโดยปริยาย แม้จะไม่มีสัญญาจ้างโดยตรง และการรับผิดชอบงานจนแล้วเสร็จ
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโรงงานและอาคารสำนักงาน เท่านั้น การที่โจทก์ให้ก่อสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้วย ไม่ว่าโจทก์จะอาสาขอทดลองทำถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กให้แก่ จำเลยตามที่จำเลยอ้างโดยจำเลยมิได้ว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยอมให้โจทก์เข้าก่อสร้างทำงานนี้ ก็ต้องถือว่าจำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์โดยปริยายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผล แห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง: การยอมให้เริ่มงานถือเป็นการตกลงว่าจ้างโดยปริยาย แม้จะมีการโต้แย้งเรื่องความชำรุด
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโรงงานและอาคารสำนักงานมีปัญหาว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยหรือไม่ ไม่ว่าโจทก์จะอาสาขอทดลองทำถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กให้แก่จำเลยตามที่จำเลยอ้างหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยอมให้โจทก์เข้าก่อสร้างทำงานนี้ ก็ต้องถือว่าจำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์โดยปริยายแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองอาคารบนที่ดินของผู้อื่น: ผู้ลงทุนก่อสร้างไม่ใช่ผู้มีอำนาจพิเศษ
การที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ประกอบการค้าในสวนลุมพินีต่อไปอีก 30 ปี และจำเลยที่ 1 ตกลงจะสร้าง อาคารใหม่ขึ้นอีก 1 แห่ง แต่ขณะนั้นจำเลยที่ 1 ไม่มีเงิน เพียงพอ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงให้ผู้ร้องเป็นผู้ลงทุน ก่อสร้างอาคารให้โจทก์ เช่นนี้ต้องถือว่าผู้ร้องสร้างอาคารพิพาท โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยินยอมให้ผู้ร้องประกอบการค้าในอาคารที่ก่อสร้างได้ แต่ก็เป็นการเข้าไปอยู่ในอาคารและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1และที่ 2 ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบริวารไม่ใช่ผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ยกประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาให้ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ให้การชัดแจ้งว่า คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แล้วศาลล่างทั้งสองยอมรับวินิจฉัยให้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทตามหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ซึ่งเป็นการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร 16 ชั้น 1 หลัง เพื่อใช้พักอาศัยแต่อาคารพิพาทที่จำเลยร่วมก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว 2 หลังติดกัน อาคารพิพาทมีลักษณะเป็นโกดัง มิใช่อาคารประเภทเดียวกับที่ขออนุญาต ทั้งจำเลยร่วมสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้อาศัยฐานรากของอาคาร 16 ชั้น และจำเลยร่วมยังก่อสร้างอาคารพิพาทหลังจากหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารขาดอายุแล้ว ดังนี้จึงเป็นการที่จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต
เมื่อการก่อสร้างอาคารพิพาทไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน เป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ.2522 ข้อ 80 ที่บัญญัติให้อาคารพิพาทต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วมรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42
จำเลยร่วมเช่าที่ดินจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดิน แล้วปลูกสร้างอาคารพิพาท ซึ่งตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่า ให้อาคารพิพาทที่สร้างขึ้นตกเป็นสิทธิของผู้ให้เช่า กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินนั้นโดยอาศัยสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยต้องมีหน้าที่รื้อถอนอาคารพิพาทดังกล่าว และโจทก์แจ้งคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยรับทราบคำสั่งดังกล่าว กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมทราบคำสั่งนั้นด้วยแล้ว
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ให้การชัดแจ้งว่า คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แล้วศาลล่างทั้งสองยอมรับวินิจฉัยให้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทตามหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ซึ่งเป็นการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร 16 ชั้น 1 หลัง เพื่อใช้พักอาศัยแต่อาคารพิพาทที่จำเลยร่วมก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว 2 หลังติดกัน อาคารพิพาทมีลักษณะเป็นโกดัง มิใช่อาคารประเภทเดียวกับที่ขออนุญาต ทั้งจำเลยร่วมสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้อาศัยฐานรากของอาคาร 16 ชั้น และจำเลยร่วมยังก่อสร้างอาคารพิพาทหลังจากหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารขาดอายุแล้ว ดังนี้จึงเป็นการที่จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต
เมื่อการก่อสร้างอาคารพิพาทไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน เป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ.2522 ข้อ 80 ที่บัญญัติให้อาคารพิพาทต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วมรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42
จำเลยร่วมเช่าที่ดินจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดิน แล้วปลูกสร้างอาคารพิพาท ซึ่งตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่า ให้อาคารพิพาทที่สร้างขึ้นตกเป็นสิทธิของผู้ให้เช่า กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินนั้นโดยอาศัยสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยต้องมีหน้าที่รื้อถอนอาคารพิพาทดังกล่าว และโจทก์แจ้งคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยรับทราบคำสั่งดังกล่าว กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมทราบคำสั่งนั้นด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลฎีกายืนคำพิพากษาให้รื้อถอน
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ยกประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาให้ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ให้การชัดแจ้งว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทแล้วศาลล่างทั้งสองยอมรับวินิจฉัยให้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทตามหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ซึ่งเป็นการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร16 ชั้น 1 หลัง เพื่อใช้พักอาศัยแต่อาคารพิพาทที่ จำเลยร่วมก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว 2 หลังติดกัน อาคารพิพาทมีลักษณะเป็นโกดัง มิใช่อาคารประเภทเดียวกับที่ขออนุญาตทั้งจำเลยร่วมสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้อาศัยฐานรากของอาคาร 16 ชั้น และจำเลยร่วมยังก่อสร้างอาคารพิพาทหลังจากหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารขาดอายุแล้วดังนี้จึงเป็นการที่จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อการก่อสร้างอาคารพิพาทไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ท้องถิ่น และจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยมิได้เว้นที่ว่าง อันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า10 เมตร ทุกด้านเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2522 ข้อ 80 ที่บัญญัติให้อาคารพิพาทต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้านซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วมรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 จำเลยร่วมเช่าที่ดินจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินแล้วปลูกสร้างอาคารพิพาท ซึ่งตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่าให้อาคารพิพาทที่สร้างขึ้นตกเป็นสิทธิของผู้ให้เช่ากรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินนั้นโดยอาศัยสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยต้องมีหน้าที่รื้อถอนอาคารพิพาทดังกล่าว และโจทก์แจ้งคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาทจำเลยรับทราบคำสั่งดังกล่าว กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมทราบคำสั่งนั้นด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารขัดกับผังเมืองรวมและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้
ตามวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น รวม 4 คูหา ในที่ดินของจำเลยโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างเพราะอาคารที่จำเลยก่อสร้างอยู่ในบริเวณที่จะขยายถนน อันเป็นเขตที่ให้ใช้ผังเมืองรวมบังคับตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ.2531) ออกตามความใน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม2531 และมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ.2531) ซึ่งมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี จะสิ้นผลใช้บังคับไป แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 323(พ.ศ.2540) ออกตามความใน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ใช้บังคับอีก มีกำหนด 5 ปีโดยกำหนดไว้ในข้อ 2 ว่า ให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบล อำเภอและจังหวัด ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ ซึ่งตามรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้กำหนดบริเวณถนนที่จะก่อสร้างใหม่และถนนเดิมที่จะขยายเขตทางตรงกับที่กำหนดไว้ในรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 41(พ.ศ.2531) ตามฟ้อง ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้ ดังนั้น เมื่อการก่อสร้างอาคารตามฟ้องของจำเลยต้องห้ามตามกฎกระทรวงฉบับที่ 323 (พ.ศ.2540) และฝ่าฝืน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารขัดผังเมืองรวม การยกกฎกระทรวงใช้บังคับย้อนหลัง และสิทธิในการรื้อถอนอาคาร
ตามวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยได้ก่อสร้างอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น รวม 4 คูหา ในที่ดินของจำเลย โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างเพราะอาคารที่จำเลยก่อสร้างอยู่ในบริเวณที่จะขยายถนนอันเป็นเขตที่ให้ใช้ผังเมืองรวมบังคับตามกฎกระทรวงฉบับที่ 41(พ.ศ. 2531) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2531 และมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี แม้ในระหว่างพิจารณา ของศาลชั้นต้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2531) ซึ่งมีระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี จะสิ้นผลใช้บังคับไป แต่ใน ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 323(พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ใช้บังคับอีก มีกำหนด 5 ปีโดยกำหนดไว้ในข้อ 2 ว่า ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบล อำเภอและจังหวัด ภายในแนวเขตตามแผนที่ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ซึ่งตามรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้กำหนดบริเวณถนนที่จะก่อสร้างใหม่ และถนนเดิมที่จะขยายเขตทางตรงกับที่กำหนดไว้ในรายการประกอบแผนผัง แสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 41(พ.ศ. 2531) ตามฟ้อง ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้ ดังนั้นเมื่อการก่อสร้างอาคารตามฟ้องของจำเลยต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 323(พ.ศ. 2540) และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6598/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้างที่ไม่ชอบ การกำหนดระยะเวลาสัญญา และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
แม้การดำเนินการก่อสร้างของโจทก์ล่าช้า คนงานน้อย เครื่องมือไม่ทันสมัย ไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญา แต่สัญญาว่าจ้างฉบับพิพาทระบุเพียงว่า ผู้รับจ้างจะทำการก่อสร้างให้อยู่ภายในสัญญาจะเกินสัญญาไม่ได้เท่านั้น สัญญาว่าจ้างมิได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้ชัดแจ้ง ทั้งโจทก์ก็ประสงค์จะทำงานต่อไปหากจำเลยเห็นว่าโจทก์ทำงานล่าช้ามาก จะเกิดความเสียหาย จำเลยทั้งสองจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อน ตามป.พ.พ.มาตรา 387 แต่จำเลยมิได้กระทำ แต่จำเลยกลับให้โจทก์หยุดดำเนินการก่อสร้างทันที และว่าจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างแทนโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวย่อมเป็นการใช้สิทธิในการเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อความเสียหายใด ๆอันเกิดจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 605
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6598/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้างโดยไม่ชอบ ผู้รับจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
แม้การดำเนินการก่อสร้างของโจทก์ล่าช้า คนงานน้อยเครื่องมือไม่ทันสมัย ไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญาแต่สัญญาว่าจ้างฉบับพิพาทระบุเพียงว่า ผู้รับจ้างจะทำการก่อสร้างให้อยู่ภายในสัญญาจะเกินสัญญาไม่ได้เท่านั้นสัญญาว่าจ้างมิได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้ชัดแจ้งทั้งโจทก์ก็ประสงค์จะทำงานต่อไปหากจำเลยเห็นว่าโจทก์ทำงานล่าช้ามาก จะเกิดความเสียหาย จำเลยทั้งสองจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 แต่จำเลยมิได้กระทำ แต่จำเลยกลับให้โจทก์หยุดดำเนินการ ก่อสร้างทันที และว่าจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างแทนโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ด้วยเหตุ ดังกล่าวย่อมเป็นการใช้สิทธิในการเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 605