คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขั้นตอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและการปฏิบัติตามขั้นตอนของเจ้าพนักงานบังคับคดี
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินโจทก์ ให้จำเลยรื้อถอนรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์ และห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไปปรากฏว่าขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยอมรับว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่พิพาท เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองได้ ไม่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกคำพิพากษา
ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ป.วิ.พ.มาตรา 296 เบญจ กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้น และในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองจึงไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีดังกล่าวและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน ศาลมีอำนาจยกการบังคับคดีได้
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์และห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวอีกต่อไปขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3จำเลยรับว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่พิพาทเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3และศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองได้แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296เบญจกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้นและในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองย่อมไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีเฉพาะบ้านพิพาทและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดิน: ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ก่อนฟ้องคดี
คดีนี้โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าที่ดินพิพาทและแจ้งให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยไม่ออกไป โจทก์ก็ฟ้องคดีทันที ส่วนจำเลยเมื่อถูกโจทก์ฟ้องขับไล่ก็ฟ้องแย้งขอซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ทันทีเช่นกัน โดยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 กำหนดไว้ ตามมาตรา 34,35,54,56 เมื่อ คชก. ตำบลท่าเสา และ คชก. จังหวัดสมุทรสาครยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวของโจทก์ จำเลย การฟ้องคดีของโจทก์ก็ดี การฟ้องแย้งของจำเลยก็ดีเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 57 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย และจำเลยก็ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งขอซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่นา โจทก์ไม่อุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติ โจทก์ยกขึ้นฎีกาอีกไม่ได้ กรณีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9608/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร และอำนาจฟ้องคดีเมื่อไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42และมาตรา 43 วรรคสาม จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่วนการที่จำเลยยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนต่อโจทก์เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นต้องจัดส่งอุทธรณ์และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในภายหลัง โดยทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การที่จำเลยยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนต่อโจทก์เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งต้องถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แล้ว จำเลยจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยชอบแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงาน-ท้องถิ่นตามมาตรา 52 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ศาลฎีกาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่เมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดชี้สองสถานและการไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ศาลฎีกาเห็นชอบตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182 เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องและศาลรับคำฟ้องแล้ว ศาลย่อมนัดชี้สองสถานไปได้ โดยแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันเท่านั้น ไม่ต้องนับจากวันที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำให้การ จะทำให้คดีล่าช้าโดยไม่จำเป็น และวันนัดชี้สองสถานนั้นศาลอาจอนุญาตให้เลื่อนไปได้หากมีเหตุสมควร ทั้งการนัดชี้สองสถานตั้งแต่วันที่ศาลรับคำฟ้องเช่นในคดีนี้ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องเสียเปรียบ เพราะจำเลยที่ 1 สามารถแถลงเสนอประเด็นข้อพิพาทหรือตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาทต่อศาลได้ เมื่อศาลทำการชี้สองสถานแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลไม่ถูกต้องอย่างไร เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน การกำหนดวันชี้สองสถานของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอดำเนินคดีอนาถาไม่เป็นไปตามขั้นตอน, การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล, และผลของการไม่นำค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาล
คำร้องฉบับลงวันที่23ธันวาคม2537ของจำเลยทั้งสองมิใช่เป็นเรื่องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา205วรรคสองเพราะมิได้มีการพิจารณาคดีโดยขาดนัดและการที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่โดยอ้างว่าเสมียนทนายจดวันนัดผิดนั้นหากเป็นจริงก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองขาดการเอาใจใส่การพิจารณาคดีของศาลไม่ใช่เหตุที่ยกขึ้นมาอ้างเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องจึงชอบแล้ว คำร้องฉบับลงวันที่30ธันวาคม2537ของจำเลยทั้งสองมีข้อความทำนองเดียวกับคำร้องฉบับลงวันที่23ธันวาคม2537โดยมิได้ดำเนินการสาบานตัวให้คำชี้แจงว่าตนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคหนึ่งจึงมิใช่คำร้องขอดำเนินคดีอนาถาใหม่ทั้งกรณีของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องขอดำเนินคดีอนาถาในชั้นอุทธรณ์เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดยมิได้มีการสืบพยานแม้แต่ปากเดียวกรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่หาได้ไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคห้าที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องจึงชอบแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่23ธันวาคม2537วันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาว่าหากจำเลยทั้งสองประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน7วันเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีประกันสังคมต้องวางเงินตามประกาศกระทรวงมหาดไทย หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทนซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ60แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีมาสู่ศาลโจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามวรรคสี่ของข้อ60แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวโดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงจะฟ้องคดีได้ โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มีลูกจ้างไม่ถึงสิบคนจึงไม่อยู่ในบังคับของสำนักงานประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533เป็นการยกกฎหมายคนละเรื่องคนละฉบับไม่อาจนำมาปรับกับคดีที่โจทก์ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9341/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง & การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนรับฎีกาตามมาตรา 248 และ 243(2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคู่ความยื่น ฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 แล้วศาลชั้นต้นต้องส่งฎีกาไปให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งคำร้องของผู้ฎีกาก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาดังกล่าวโดยสั่งในฎีกาด้วยว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและมิได้ดำเนินการตามที่ผู้ยื่นฎีการ้องขอ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาจึงไม่ชอบด้วยเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8363/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเพิกถอนสัมปทานป่าไม้ และการปฏิบัติตามขั้นตอนการขอรับเงินชดเชย
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า การประกาศยกเลิกสัมปทานทำไม้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่มีต่อโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 68 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นการจงใจกระทำผิดกฎหมายผิดสัญญาและเป็นการละเมิดต่อโจทก์และเรียกค่าเสียหาย อันเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในลักษณะละเมิดและผิดสัญญา มิใช่เป็นการฟ้องเรียกเงินชดเชยความเสียหายเพียงประการเดียวจึงไม่อยู่ในบังคับของเงื่อนไขในการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 68 ทศโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ สัมปทานทำไม้เป็นการอนุญาตให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายเท่านั้น มิใช่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยออกคำสั่งให้สัมปทานการทำไม้หวงห้ามทุกชนิดทั่วประเทศรวมทั้งของโจทก์สิ้นสุดลง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 ทวิแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ เงินประกันการปฏิบัติตามสัมปทานการทำไม้หวงห้ามเป็นเงิน ที่โจทก์ผู้รับสัมปทานวางไว้เพื่อเป็นประกันในการที่โจทก์ จะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัมปทาน ผู้ให้ สัมปทานจะริบได้ต้องเป็นกรณีมีการเพิกถอนสัมปทานโดย ผู้รับสัมปทานปฏิบัติผิดข้อกำหนดหรือเงื่อนไขตามสัมปทานการทำไม้ ข้อ 33 เท่านั้น แต่กรณีที่รัฐบาลออกกฎหมายและมีคำสั่งให้สัมปทานการทำไม้ทั่วประเทศสิ้นสุดลง มิใช่เป็นการสั่งเพิกถอนตามสัมปทานข้อ 33 จึงไม่มีสิทธิที่จะริบเงินประกันต้องคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายต่ออธิบดีกรมป่าไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 68 อัฏฐแล้ว แต่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงบางส่วน โจทก์ไม่พอใจ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยตามมาตรา 68 ทศเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2533 และได้นำคดีมาฟ้องจำเลยในวันที่ 22 มกราคม 2533 ซึ่งรัฐมนตรียังไม่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จะวินิจฉัยเป็นการยื่นฟ้องที่ผิดขั้นตอนของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินชดเชยค่าจ้างคนงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8363/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปิดป่าโดยรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นละเมิด สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยต้องยื่นตามขั้นตอน
โจทก์บรรยายฟ้องพอสรุปได้ว่าการประกาศยกเลิกสัมปทานทำไม้ของจำเลยทั้งสองที่มีต่อโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 68 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการจงใจกระทำผิดกฎหมายผิดสัญญาและเป็นการละเมิดต่อโจทก์และเรียกค่าเสียหายตามฟ้องอันเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์ในลักษณะละเมิดและผิดสัญญามิใช่เป็นการฟ้องเรียกเงินชดเชยความเสียหายเพียงประการเดียวกรณีไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 68 ทศ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ คำว่า "สัมปทาน" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 หมายถึง การอนุญาตให้มีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการบางอย่างเช่นเหมืองแร่และป่าไม้และตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ได้บัญญัติไว้ว่า "ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐบาลมีอำนาจให้สัมปทานในการทำไม้ชนิดใด หรือเก็บของป่าอย่างใดโดยมีขอบเขตเพียงใดและในสัมปทานนั้นจะให้มีข้อกำหนดและเงื่อนไขอย่างใดก็ได้"เนื้อความสัมปทานทำไม้ของห้าม เป็นเรื่องที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 1 ให้บริษัทตากทำไม้ จำกัดโจทก์เข้าทำไม้หวงห้ามภายในเขตพื้นที่ที่กำหนด โดยกำหนดเวลาและเงื่อนไขให้โจทก์ต้องปฏิบัติด้วย และตามข้อกำหนดในสัมปทานโจทก์เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่โดยเสียผลตอบแทนให้รัฐบาลเพียงเล็กน้อยเป็นเงินค่าภาคหลวงและค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ของสัมปทาน การให้สัมปทานเป็นวิธีการอนุญาตวิธีหนึ่งซึ่งผู้ได้รับสัมปทานมีสิทธิที่จะทำกิจการที่ได้รับสัมปทานโดยไม่ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนดังนี้ สัมปทานทำไม้ตามฟ้องจึงเป็นเอกสารการอนุญาตให้โจทก์มีสิทธิทำไม้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายเท่านั้น มิใช่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้สัมปทานตามฟ้องสิ้นสุดลงเป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวที่ได้ระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งว่าเนื่องจากปัจจุบันนี้พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงจนเป็นเหตุให้เกิดสภาวะการขาดความสมดุลของสภาพแวดล้อม กรณีเป็นการจำเป็นต้องใช้พื้นที่ป่าไม้ในเขตสัมปทาน เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่จะแสดงว่า จำเลยทั้งสองออกคำสั่งเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นการออกโดยกฎหมายให้อำนาจไว้ จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์ได้ยื่นคำร้องเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายต่ออธิบดีกรมป่าไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 68 อัฎฐแล้ว แต่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงบางส่วน โจทก์ไม่พอใจ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 68 ทศ และได้นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองในขณะที่รัฐมนตรียังไม่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และยังไม่พ้นกำหนดเวลาที่จะวินิจฉัย การที่โจทก์มายื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก่อนที่รัฐมนตรีจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์หรือก่อนที่จะพ้นกำหนดเวลาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการยื่นฟ้องที่ผิดขั้นตอนของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินชดเชยค่าจ้างคนงานได้
of 19