คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อตกลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีอำนาจพิจารณาคดีได้หากจำเลยไม่โต้แย้งหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างถึงสัญญาซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งจำเลยซื้อจากโจทก์มีกำหนด 1 ปี โจทก์จะส่งมอบให้แก่จำเลยไตรมาสละ 2 เที่ยว คิดราคาตามปริมาณน้ำมันที่ปรากฏในใบตราส่งแต่ละเที่ยว โจทก์ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้จำเลยแล้วหลายเที่ยว เป็นเงิน 25,829,671.26 ดอลลาร์สหรัฐ จำเลยชำระหนี้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้แล้วบางส่วน คงค้างชำระเป็นเงิน 11,708,362.76 ดอลลาร์สหรัฐ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยเป็นการบรรยายฟ้องให้พอเข้าใจได้ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 30 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2540 ข้อ 6 แล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีนี้ก่อน แล้วจึงไปยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ คดีนี้มิใช่คดีที่ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 ไม่เป็นฟ้องซ้อน
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงว่าบรรดาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการ ย่อมหมายรวมถึงการผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายด้วย หากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโต้แย้งการเรียกร้องให้ชำระหนี้ดังกล่าว
โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังมิได้ชำระเป็นเงิน 13,811,352.76 ดอลลาร์สหรัฐ จำเลยมิได้โต้แย้งหรือปฏิเสธหนี้ดังกล่าว กลับมีหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ และมีหนังสือขอชำระหนี้โดยการโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อลูกหนี้รายอื่นและเสนอนำทรัพย์สินมาจำนองเป็นประกัน นอกจากนี้จำเลยได้ชำระหนี้ที่ค้างชำระบางส่วน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่โจทก์ทั้งยังยอมให้โจทก์เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน 2,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งธนาคารก็ได้ชำระให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับสภาพหนี้ตามสัญญาซื้อขายให้แก่โจทก์แล้ว ไม่อาจถือได้ว่ามีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งอันเกิดจากหรือเนื่องจากสัญญาซื้อขายอันโจทก์จะต้องเสนอต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี เมื่อมีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการยังไม่สิ้นสุด
การตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทโดยคู่สัญญาไม่จำต้องนำคดีมาสู่ศาลก่อน ซึ่งตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 23 และ 30 บัญญัติให้คู่ความนำคดีมาร้องขอต่อศาลในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เมื่อมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 โดยอนุญาโตตุลาการ หลังจากมีข้อพิพาทแล้วจำเลยที่ 3 เสนอข้อพิพาทให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอนุญาโตตุลาการ และจำเลยที่ 1 ตั้งจำเลยที่ 4 เป็นอนุญาโตตุลาการ แม้โจทก์จะมีข้อโต้แย้งว่าสัญญาอนุญาโตตุลาการสมบูรณ์หรือไม่ หรืออนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะไปว่ากล่าวเป็นข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ เมื่อไม่ปรากฎว่าได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการและอนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยแล้ว กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับและดอกเบี้ยต้องมีข้อตกลงชัดเจน, ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเป็นโมฆะ, สถานะลูกหนี้มีผลต่อการใช้เช็ค
การที่คู่สัญญาจะมีสิทธิคิดเบี้ยปรับจากคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาได้นั้น ต้องมีการตกลงไว้ในสัญญาโดยชัดแจ้งว่า มีเงื่อนไขในการกำหนดเบี้ยปรับกันอย่างไรผิดสัญญาข้อใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 หาใช่เป็นการคิดเอาตามอำเภอใจแต่ฝ่ายเดียวไม่
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. แม้หนี้เดิมจะเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้ามิใช่หนี้กู้ยืมก็ตาม แต่ก็เป็นหนี้เงินที่ต้องชำระต่อกันจึงต้องอยู่ภายใต้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7และมาตรา 224 ซึ่งคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปีและห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอีกด้วย การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงิน 2 ล้านบาทมาเป็นจำนวน 6 ล้านบาทเศษ ในเวลาประมาณ 2 ปี นับว่าเป็นจำนวนดอกเบี้ยสูงมากคิดแล้วเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละร้อยต่อปีทั้งการเปลี่ยนเช็คแต่ละฉบับโดยนำดอกเบี้ยมารวมเป็นต้นเงินตามเช็คฉบับใหม่มีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยอันต้องห้ามตามกฎหมาย ประกอบกับตลอดเวลาที่ค้าขายติดต่อกัน จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เพื่อชำระหนี้มีจำนวนประมาณ 30 ฉบับ และทุกฉบับขึ้นเงินไม่ได้ทั้งโจทก์ผู้รับโอนเช็คพิพาทจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ยังรับว่าเช็คที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปเปลี่ยนจากจำเลยทุกครั้งเป็นเช็คที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปแลกเงินสดจากโจทก์ และเมื่อถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จะส่งเช็คฉบับนั้นนำไปขอเปลี่ยนเช็คฉบับใหม่จากจำเลยทุกคราวไป แสดงให้เห็นว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. และโจทก์ต่างรู้ถึงฐานะทางการเงินของจำเลยทั้งสองเป็นอย่างดีว่ามีความขัดสนรุนแรงเพียงใดดังนั้น การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท4 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวนเงินสูงลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันเดียวกันโดยให้เวลาเพียง 2 เดือนเศษ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ย่อมทราบดีว่าขณะที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คนั้น จำเลยไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองอยู่ในภาวะที่ถูก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. บีบบังคับให้ต้องสั่งจ่ายเช็คที่มีดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วย การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้ว่าโจทก์จะไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งและการรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
เมื่อบริษัท ส. และบริษัท ว. ผู้ส่ง กับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง ได้ตกลงกันชัดแจ้งในการยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 และมีผลให้บริษัททั้งสองไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ แม้โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัททั้งสองไปก็เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทำไว้กับบริษัททั้งสอง แต่ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิจากบริษัททั้งสองนำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของขนส่งกับผู้ส่งมีผลผูกพันผู้รับประกันภัยที่รับช่วงสิทธิ
บริษัท ส. ผู้ส่งกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 มีผลให้บริษัท ส. ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ส. ไปก็เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทำไว้กับบริษัท ส. แต่หาอาจก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิจากบริษัท ส. มาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098-4185/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกโดยสมัครใจตามโครงการร่วมใจจาก มิใช่การเลิกจ้าง
โจทก์สมัครเข้าร่วมโครงการร่วมใจจาก และได้ทำหนังสือลาออกหลังจากได้รับอนุมัติจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้าง เพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 เสนอให้ตามโครงการดังกล่าว จึงเป็นการทำข้อตกลงให้โจทก์ลาออกมิใช่เลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทน-การให้สัตยาบัน: ตัวการผูกพันตามข้อตกลงที่ตัวแทนทำ แม้มีข้อจำกัดอำนาจ
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและรับเหมาก่อสร้างบ้านกับรับเงินแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นแต่เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และส่วนใหญ่จะเป็นผู้ทำสัญญากับลูกค้าด้วยตนเอง เมื่อมีปัญหาจำเลยที่ 3 จะเป็นผู้เจรจาตกลงซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า จำเลยที่ 3 มีอำนาจในการดำเนินการกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนในกิจการของตน การที่จำเลยที่ 3เจรจาตกลงทำบันทึกเอกสารหมาย จ.5 จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผ่อนชำระเงินคืนให้โจทก์ถึง 8 งวด ตามบันทึกข้อตกลงและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขายที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์ตกลงคืนให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 แล้ว มีผลผูกพันให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีขับไล่ถึงที่สุดแล้ว การอ้างข้อตกลงเช่าใหม่ไม่กระทบคำพิพากษาเดิม
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลย ต่อมาจำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลย ศาลพิพากษาให้โจทก์ออกไป และส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลย คดีถึงที่สุด การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ห้ามจำเลยเข้ามารบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าจำเลยยังมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป เนื่องจากโจทก์และจำเลยได้มีข้อตกลงการเช่าขึ้นมาใหม่โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าและไม่มีสัญญาเช่าระหว่างกันนั้น โจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยตามข้อตกลงการเช่าที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้าง เพียงแต่ขอให้ห้ามจำเลยเข้ามารบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทเท่านั้น เป็นการยกข้ออ้างขึ้นมาเพื่อไม่ให้โจทก์ต้องถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีก่อนนั่นเอง ข้อตกลงการเช่าตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องมาจากสัญญาเช่าในคดีก่อนซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินพิพาทของจำเลยเป็นการชอบแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป และให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริการออกไปจากที่ดินพิพาท การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน: ข้อตกลงให้ชำระเพิ่มจากดอกเบี้ยตามอัตราแลกเปลี่ยน ถือเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ 500,000 บาทโดยมิได้ระบุให้ใช้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ระบุว่า "วันนี้ 1 อัตราดอลลาร์อเมริกันเท่ากับ24.29บาทในกรณีที่เงินดอลลาร์อเมริกันมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นผู้กู้ยอมชำระอัตราเพิ่มขึ้นด้วย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ผู้กู้ชำระเงินเพิ่มในกรณีที่เงินดอลลาร์สหรัฐมีอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มสูงขึ้น หาใช่เป็นการแสดงว่าเป็นการกู้เงินหรือต้องใช้เงินกู้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐไม่ จำเลยต้องชำระหนี้ตามจำนวนในสัญญาให้โจทก์เป็นเงินไทย ทั้งข้อตกลงดังกล่าวก็มิใช่เป็นเบี้ยปรับหรือการกำหนดค่าเสียหาย แต่เป็นการกำหนดให้ผู้กู้ต้องรับผิดเกินกว่าหนี้ที่ผู้กู้จะต้องชำระให้แก่ผู้ให้กู้อันเป็นการให้ค่าตอบแทนเพิ่มจากดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน กรณีจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 จึงตกเป็นโมฆะมิอาจบังคับได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกได้ทันทีหากผิดนัดชำระ ตามข้อตกลง แม้ขัดกับบทบัญญัติกฎหมาย แต่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ข้อสัญญาระบุว่า กรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งข้อสัญญาดังกล่าวแม้จะมีข้อความแตกต่างจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 วรรคแรก แต่กฎหมายบทนี้มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้
ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด และคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,345 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
of 118