พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก เหตุไม่ได้ระบุข้อผิดพลาดทางกฎหมายในคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ฎีกาโจทก์ไม่ได้กล่าวว่าข้อนำสืบของจำเลย ข้อวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายในข้อไหนอย่างไรให้ชัดแจ้ง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในคำพิพากษาศาลชั้นต้น และการอุทธรณ์ที่ครอบคลุมข้อผิดพลาดนั้น ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 2,338,295.06บาท แต่ตอนพิพากษา กลับพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 1,338,295.06บาท แก่โจทก์แสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลง แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์โดยตรงว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเกี่ยวกับจำนวนหนี้ดังกล่าว แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในต้นเงินจำนวน2,478,103.24 บาท ไม่ใช่จำนวนเงิน 1,338,295.06 บาท ถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในข้อผิดพลาดและข้อผิดหลงแล้วที่ศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน1,338,295.06 บาท จึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกจะต้องพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 2,338,295.06 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อไม่มีอุทธรณ์/ฎีกา กรณีข้อผิดพลาดเรื่องดอกเบี้ย
เมื่อคดีถึงที่สุดโดยไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น อำนาจในการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงในคำพิพากษาจึงอยู่แก่ศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั้น และไม่ใช่กรณีที่ต้องอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 หาได้จำกัดเฉพาะที่เกิดจากการขีดเขียนหรือถ้อยคำเท่านั้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยจำนวน 239,195.80 บาทแก่โจทก์ด้วย แต่เมื่อพิพากษามิได้นำดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เพราะไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแก้ไขคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์จำกัดเฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย
คำร้องของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองค้างชำระถึงวันฟ้องมีมากกว่าจำนวนหนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนเงินเพิ่มจากเดิมถึงสองหมื่นบาทเศษมิใช่ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาคดีไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขจำนวนหนี้ตามคำพิพากษา: ข้อผิดพลาดเล็กน้อยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำร้องของโจทก์ที่โต้เถียงจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองค้างชำระถึงวันฟ้องมีมากกว่าจำนวนหนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย โดยขอให้แก้ไขจำนวนเงินจาก 1,542,827.30 บาท เป็น 1,563,767.08 บาท เพิ่มจากเดิมถึงสองหมื่นบาทเศษนั้น มิใช่ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจที่จะแก้ไขให้ตามคำร้องดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนหนี้: ข้อผิดพลาดเล็กน้อย vs. จำนวนหนี้ที่ต่างกัน
คำร้องของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองค้างชำระถึงวันฟ้องมีมากกว่าจำนวนหนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนเงินเพิ่มจากเดิมถึงสองหมื่นบาทเศษมิใช่ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาคดีไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4579/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องอาญาเนื่องจากข้อผิดพลาดในการพิมพ์วันเวลาที่กระทำความผิด อนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์ขอแก้ฟ้องวันเวลาที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดโดยอ้างเหตุว่าเนื่องจากพิมพ์ผิดพลาด เป็นการขอแก้รายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องและเหตุที่โจทก์อ้างมานั้นเป็นเหตุอันสมควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ เพราะอาจเกิดบกพร่องเช่นนั้นได้ ทั้งจำเลยให้การปฏิเสธลอย ๆ และชั้นไต่สวนมูลฟ้อง พยานโจทก์ก็เบิกความว่าจำเลยกระทำความผิดตามวันที่ที่โจทก์ขอแก้ จึงไม่ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ชอบที่จะให้โจทก์แก้ฟ้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าสินไหมทดแทน: ข้อผิดพลาดเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ โดยนำค่าซากรถไปหักจากค่าซ่อมรถแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระในส่วนที่เหลือ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขคำพิพากษาโดยให้นำค่าซากรถไปหักออกจากราคารถมิได้เพราะเป็นการแก้ไขจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จะพึงเรียกได้มิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดเจน ต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำเลยต้องระบุข้อผิดพลาดของศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโดยมิได้ระบุให้เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อนในข้อใดแม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำแถลงการณ์ต่อศาลฎีกาก็ตาม คำแถลงการณ์ก็มิได้เป็นส่วนหนึ่งของฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสองประกอบมาตรา 225.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการพิจารณาคดี: ต้องยื่นคำร้องก่อนมีคำพิพากษา แม้จะยื่นภายใน 8 วันหลังทราบเหตุ
โจทก์กับจำเลยทั้งสามตกลงประนีประนอมยอมความกันและศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอ้างว่า การพิจารณาของศาลชั้นต้นผิดระเบียบ เนื่องจากลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในใบแต่งทนายเป็นลายมือชื่อปลอมจำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง เหตุเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องภายในแปดวันนับแต่วันที่ทราบเหตุดังที่อ้างมาก็ตาม แต่ยื่นมาภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27