คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2852/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อพิพาท: สิทธิเรียกร้องที่มีข้อโต้แย้งยังนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
สิทธิในการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 จะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 344 ด้วย ดังนั้น หากสิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะเอาสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กันไม่ได้
เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะซื้อขายสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ประมูลขายได้ครั้งแรก และจำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์วางเป็นหลักประกันซองการประกวดราคา และเรียกเงินค่าชดใช้ที่จำเลยต้องซื้อสินค้าดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้นหรือไม่ และจำเลยได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลเรียกเงินจำนวนที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ คดียังอยู่ระหว่างพิจารณา สิทธิเรียกร้องของจำเลยจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยไม่อาจนำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้าครั้งหลังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2852/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหักกลบลบหนี้ต้องไม่ขัดแย้งกับข้อพิพาทค้างคawาน หากสิทธิเรียกร้องมีข้อโต้แย้งยังนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
สิทธิในการหักกลบลบหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จะต้องอยู่ ในบังคับของมาตรา 344 ด้วย ดังนั้น หากสิทธิเรียกร้อง ใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะเอาสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมา หักกลบลบหนี้กันไม่ได้ เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติ ตามข้อตกลงจะซื้อขายสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ประมูลขาย ได้ครั้งแรก และจำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ วางเป็นหลักประกันซองการประกวดราคา และเรียกเงิน ค่าชดใช้ที่จำเลยต้องซื้อสินค้าดังกล่าวในราคาที่สูงขึ้น หรือไม่ และจำเลยได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลเรียกเงิน จำนวนที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ คดียังอยู่ ระหว่างพิจารณา สิทธิเรียกร้อง ของ จำเลยจึงเป็น สิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยไม่อาจนำสิทธิ เรียกร้องดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายสินค้า ครั้งหลังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์คดีไม่มีทุนทรัพย์: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท จำเลยไม่ได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ย่อมเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์โดยยอมรับในอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่บ้านพิพาทปลูกอยู่ แต่โจทก์ฟ้องบังคับขับไล่จำเลยในขณะบ้านพิพาทยังปลูกอยู่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ บ้านพิพาทจึงมีสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์ แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าบ้านพิพาทที่ปลูกอยู่หากให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละเท่าใด แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วฟังว่า บ้านพิพาทหากจะให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละไม่เกิน 4,000 บาท และโจทก์ก็มิได้ฎีกาว่า บ้านพิพาทหากให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละเกินกว่า 4,000 บาท จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าบ้านพิพาท หากให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละไม่เกิน 4,000 บาท คดีส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัย และพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ส่วนนี้ของโจทก์เสีย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อต้นกาแฟของโจทก์ โดยลักลอบเก็บผลกาแฟและตัดฟันต้นกาแฟของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารทำละเมิดต่อต้นกาแฟของโจทก์ ดังนี้ คำขอของโจทก์เป็นการขอให้สั่งห้ามจำเลยงดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อต้นกาแฟ อันเป็นการกระทบต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่เหนือต้นกาแฟนั้นในขณะฟ้องและต่อไปภายหน้า เมื่อจำเลยมิได้ให้การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าต้นกาแฟเป็นของจำเลย ทั้งปัญหาที่ว่าโจทก์จะมีสิทธิปลูกต้นกาแฟในที่ดินดังกล่าวต่อไปหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไป ฉะนั้น คดีโจทก์ส่วนที่ห้ามจำเลยและบริวารทำละเมิดต่อต้นกาแฟของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหานี้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่นำสืบว่าโจทก์เสียหายอย่างใด เพียงใด จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้เช่าที่ดินช่วงเทศกาล ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก หากมีข้อพิพาทเรื่องค่าเช่า
โจทก์ยินยอมให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์ ดังนี้การที่จำเลยเข้าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุกคดีโจทก์จึงไม่มีมูลที่ศาลจะรับไว้พิจารณา เหตุที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์เนื่องมาจากโจทก์ขอเก็บเงินค่าที่ดินตามเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์ให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าขายของ แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าเช่าที่ดินแก่โจทก์จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทกันในทางแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เช่าที่ดินเป็นรายวันและในวันเกิดเหตุโจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้วกลับเข้ามาใหม่อีกพฤติการณ์จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเนื่องมาจากวันเกิดเหตุ ย่อมไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อนุญาโตตุลาการ: สิทธิอุทธรณ์จำกัดตาม พรบ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 การวินิจฉัยข้อพิพาทภายในสัญญา
ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ทำสัญญาตกลงกันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับสัญญาจ้างเหมาให้คู่สัญญาเสนอข้อพิพาทนั้นให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงใช้วิธีระงับข้อพิพาทกับอนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทนั้น ซึ่งการระงับข้อพิพาทดังกล่าวมีพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มาตรา 22 ได้บัญญัติบังคับไว้แล้วว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดให้เป็นที่สุด และผูกพันคู่กรณีเมื่อผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีเขตอำนาจให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้น กรณีของผู้คัดค้านจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ จึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 มาตรา 26 เท่านั้น เหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น สรุปได้ว่า อนุญาโตตุลาการมิได้วินิจฉัยชี้ขาดไปตาม ข้อเท็จจริงและสัญญา ไม่หยิบยกพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้าน เห็นว่าสำคัญขึ้นวินิจฉัย ไม่รับฟังความเห็นของร. ซึ่งเป็นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญกลางที่อนุญาโตตุลาการแต่งตั้งขึ้น จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการทั้งสิ้นการที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกัน ย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบ ส่วนการที่ผู้คัดค้านอ้างว่าอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยนอกเหนือความรับผิดของสัญญาและกำหนดความรับผิดในดอกเบี้ยผิดกฎหมายอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยนั้น ตามสัญญาก่อสร้างคลองฝั่งซ้ายระบุให้เสนอข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวต่ออนุญาโตตุลาการ การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านรับผิดตามข้อเรียกร้องที่ 13 ค่างานเพิ่มเติมและข้อ 18 ค่าเร่งรัดงาน จึงเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาแล้ว หาใช่การวินิจฉัยนอกเหนือสัญญาไม่ส่วนข้อที่อนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยให้ผู้คัดค้านรับผิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2535 แต่ผู้คัดค้านอ้างว่ายังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านผิดนัดและวันที่ดังกล่าวมิใช่วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคานั้นก็เป็นการโต้เถียงในข้อเท็จจริงว่าจะฟังว่าจำเลยผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น จึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไม่ต้องตามหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นของบทบัญญัติมาตรา 26 ดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงไม่มี สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการท้าสืบพยานร่วม: การสละประเด็นข้อพิพาทและการถอนคำท้าที่ไม่ชอบ
คู่ความตกลงท้ากันให้สืบท. พยานคนกลางต่อหน้าศาลด้วยความสมัครใจคำท้าดังกล่าวเป็นการที่คู่ความสละประเด็นข้อพิพาทอื่นโดยยึดเอาผลตามคำท้าเป็นข้อยุติถ้าจะให้คู่ความแต่ละฝ่ายมีสิทธิถอนคำท้าซึ่งตนเองได้ตกลงไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเพียงเพราะเกรงว่าพยานคนกลางจะเบิกความเข้าข้างอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นตามกฎหมายที่จะอ้างได้ย่อมเป็นการไม่ชอบเพราะมิฉะนั้นคำท้าที่ตกลงกันต่อหน้าศาลก็จะไม่เกิดประโยชน์จำเลยจึงไม่มีสิทธิถอนคำท้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละประเด็นข้อพิพาทโดยการท้าสืบพยานร่วม การถอนคำท้าที่ไม่ชอบ
คู่ความตกลงสืบท. ต่อหน้าศาลด้วยความสมัครใจซึ่งศาลเห็นชอบด้วยเป็นการที่คู่ความสละประเด็นข้อพิพาทอื่นโดยยึดเอาผลตามคำท้าเป็นข้อยุติถ้าจะให้คู่ความแต่ละฝ่ายมีสิทธิถอนคำท้าซึ่งได้ตกลงไว้โดยเหตุผลเพียงแต่เกรงว่าท. จะเบิกความเข้าข้างอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นตามกฎหมายที่จะอ้างได้ย่อมเป็นการไม่ชอบจำเลยจึงไม่มีสิทธิถอนคำท้าโดยอ้างเหตุดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7061/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการคำนวณค่าชดเชย: ข้อพิพาทเรื่องการเลิกจ้าง, ค่าจ้างสุดท้าย, และสวัสดิการที่ไม่นับรวมเป็นค่าจ้าง
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 ยื่นหนังสือเลิกจ้างให้โจทก์ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างที่ไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ให้ทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างและมีผลสมบูรณ์นับแต่ยื่นหนังสือเลิกจ้างดังกล่าว แม้ภายหลังโจทก์รับหนังสือเลิกจ้างแล้วโจทก์ยื่นหนังสือลาออกให้จำเลยที่ 2ก็มิใช่เป็นการตกลงกันใหม่ให้ถือเป็นการลาออกดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ดังนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานปรับข้อกฎหมายคลาดเคลื่อนจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
รายได้พิเศษอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือผ่านสิทธิและรับรองเงินเดือนเป็นเงินค่าภาษีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจึงออกภาษีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากรแทนโจทก์ โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์ ดังนี้ภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการ และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่เงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ 6 เดือนจำเลยทั้งสองจ่ายให้โจทก์เพียง 3 เดือน ยังคงค้างค่าชดเชยอีก 3 เดือน แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ6 เดือน โดยมิได้ยกเหตุใด ๆ ขึ้นอ้างเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ย่อมไม่ชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6758/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทที่ดิน: หลักฐานไม่ชัดเจน สิทธิเท่ากัน แบ่งครึ่ง
โจทก์และจำเลยต่างมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักฐานแสดงสิทธิสำหรับที่ดินของตนโดยเจ้าพนักงานออกให้ในวันเดียวกัน โจทก์จำเลยต่างนำชี้เขตที่ดินพิพาทไม่ตรงกับรูปแผนที่ดินและเนื้อที่ดินใน น.ส.3 ก.ของตน รวมทั้งแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศ เมื่อแผนที่ที่ดินพิพาททำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตรงตามแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศและแผนที่ที่ดินใน น.ส.3 ก.ของโจทก์จำเลย จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าที่ดินพิพาทตามที่โจทก์จำเลยนำชี้เขตที่ดินทับกันอยู่ในเขตที่ดินของฝ่ายใดกันแน่ เมื่อพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบไม่ได้ความแน่ชัดว่าฝ่ายใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใดเนื่องจากที่ดินอยู่ติดกัน และมีการชี้เขตที่ดินของตนสับสนเกินเลยเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่ง และไม่อาจชี้ขาดได้ว่าฝ่ายใดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เนื้อที่เท่าไร จึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาด้วยกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดครอบครองไว้เป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องฟังว่าโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่า ๆ กันและเมื่อไม่อาจครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันได้ก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6758/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทที่ดิน: สิทธิครอบครองไม่ชัดเจน แบ่งที่ดินให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง
โจทก์และจำเลยต่างมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักฐานแสดงสิทธิสำหรับที่ดินของตนโดยเจ้าพนักงานออกให้ในวันเดียวกัน โจทก์จำเลยต่างนำชี้เขตที่ดินพิพาทไม่ตรงกับรูปแผนที่ดินและเนื้อที่ดินใน น.ส.3 ก. ของตน รวมทั้งแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศ เมื่อแผนที่ที่ดินพิพาททำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตรงตามแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศและแผนที่ที่ดินใน น.ส.3 ก. ของโจทก์จำเลย จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าที่ดินพิพาทตามที่โจทก์จำเลยนำชี้เขตที่ดินทับกันอยู่ในเขตที่ดินของฝ่ายใดกันแน่ เมื่อพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบไม่ได้ความแน่ชัดว่าฝ่ายใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใดเนื่องจากที่ดินอยู่ติดกัน และมีการชี้เขตที่ดินของตนสับสนเกินเลยเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่ง และไม่อาจชี้ขาดได้ว่าฝ่ายใดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เนื้อที่เท่าไร จึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาด้วยกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดครอบครองไว้เป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องฟังว่าโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่า ๆ กัน และเมื่อไม่อาจครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันได้ก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง
of 49