คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อยกเว้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเยาวชนฯ, กำหนดเวลาฟ้อง, และข้อยกเว้นกรณีพนักงานสอบสวนรับผิดชอบในเขตอำนาจศาล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58 บัญญัติว่า"คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดให้ศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งมีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติ มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้น แต่ถ้า (1)...(2) มีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด เพื่อประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชนให้ศาลแห่งท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดมีอำนาจรับพิจารณาคดีนั้นได้ด้วย" นั้นมีความหมายว่าหากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 51 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้ต้องยื่นฟ้องให้ทันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม และหากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องให้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกครั้งละไม่เกิน 15 วัน เป็นคราว ๆ ไปตามมาตรา 51 วรรคสอง และวรรคสาม ส่วนในมาตรา 51 วรรคห้า ที่บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 51 นี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เป็นผู้ดำเนินการสอบสวน มีความหมายว่า ในกรณีที่ท้องที่ ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน ไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว และคดีนั้นต้องฟ้องต่อ ศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว พนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้อง จำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ มิต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตาม มาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม ด้วย แต่ถ้าใน ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน มีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้ว แม้จะมี ศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับ ความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตาม กรณีจะนำบทบัญญัติ ในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่ และหากพนักงานอัยการ มีเหตุจำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมแล้ว พนักงานสอบสวนหรือ พนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อ ศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งได้ตาม มาตรา 51 วรรคสองและวรรคสาม คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี และเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวย จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าคดีนี้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยเช่นนี้จึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่ นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ พนักงานอัยการโจทก์ จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยมิได้ ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกในคดีหลายสำนวน และข้อยกเว้นตาม ป.อ.มาตรา 91 กรณีรวมพิจารณาคดี
ป.อ.มาตรา 91 มิได้บัญญัติห้ามว่า การนับโทษจำคุกของจำเลยคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปเมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้
การขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกของจำเลยคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้ในคำพิพากษาเป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหากไม่ได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.อ.มาตรา 22 วรรคหนึ่ง อันขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับต่อหรือไม่ เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของป.อ.มาตรา 91
คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันเมื่อฟังว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองสำนวนเป็นหลายกระทง จึงต้องอยู่ในบังคับของป.อ.มาตรา 91 ที่ต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิด อันเป็นการนับโทษจำคุกของจำเลยทุกกระทงในสองสำนวนติดต่อกัน แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดในมาตรา 91 ดังนั้นเมื่อมีการลงโทษจำคุกทุกกรรมเป็นกระทงความผิดในคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวตาม ป.อ.มาตรา 91 ไปแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นต่อกัน ตาม ป.อ.มาตรา 22 ได้อีก เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยเกินกำหนดที่ ป.อ.มาตรา 91 บัญญัติไว้
โจทก์มีคำขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีสองสำนวนที่ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลชั้นต้น แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นที่รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ก็ตามเมื่อในทางปฏิบัติก็ไม่อาจยื่นฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น และไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ในป.อ.มาตรา 91 (3) ศาลก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีดังกล่าวตาม ป.อ.มาตรา 22วรรคหนึ่งได้
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยถูกฟ้องต่อศาลชั้นต้นอีก1 สำนวน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงต้องพิพากษารวมโทษของจำเลยทั้งสองสำนวนนี้กับโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นจำคุก 50 ปี ตามป.อ.มาตรา 91 (3) นั้น แต่ตามฎีกาจำเลยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า คดีดังกล่าวมีความเกี่ยวพันกับคดีนี้อย่างไร หรือไม่ ในอันที่จะวินิจฉัยว่าจะต้องด้วย ป.อ.มาตรา 91 (3) หรือไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6100/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การขาดการใช้รถยนต์ และการชี้สองสถาน
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยได้หรือไม่เพียงใด และต่อมาจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การว่า ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.7.5 ยกเว้นความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเพิ่มเติมคำให้การได้ทั้งได้ยกขึ้นวินิจฉัยในคำพิพากษาด้วย ฉะนั้น จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรกและจำเลยยกข้ออ้างดังกล่าวโต้แย้งเป็นอุทธรณ์ด้วยศาลอุทธรณ์จึงยกขึ้นวินิจฉัยได้ กรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.7 ระบุว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ซึ่งหมายความรวมถึงการที่โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ด้วย ฉะนั้น โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ จากจำเลยผู้รับประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเฉพาะกรณีผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด
ตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้กำหนดค่าเสียหายเบื้องต้นไว้ และจำเลยได้จ่ายให้โจทก์อันเป็นการปฏิบัติตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 20 และกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ครบถ้วนแล้ว ส่วนเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย เมื่อมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยเฉพาะกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายรับผิดชอบ ย่อมใช้บังคับได้ ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: การตีความเฉพาะเจาะจงกรณีบาดเจ็บทางร่างกายและการคุ้มครองกรณีเสียชีวิต
ตามกรมธรรม์ประกันภัย ระบุข้อยกเว้นที่การประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ไม่คุ้มครองว่า "2. ความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากความบาดเจ็บทางร่างกายที่เกิดขึ้นในเวลาต่อไปนี้... ง. ขณะที่ผู้เอาประกันภัยเข้าร่วมทะเลาะวิวาทหรือมีส่วนยั่วยุให้เกิดการทะเลาะวิวาท" ดังนี้ ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดดังกล่าวต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า ย่อมหมายถึงเฉพาะความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากความบาดเจ็บทางกายที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เสียชีวิตเพราะตามกรมธรรม์มีข้อตกลงคุ้มครอง 6 ข้อ ข้อ 1. เสียชีวิตข้อ 2. สูญเสียอวัยวะและสายตา ข้อ 3. ทุพพลภาพถาวร ข้อ 4. และข้อ 5. ทุพพลภาพชั่วคราว...ข้อ 6. ค่ารักษาพยาบาล... และกรณีผู้เอาประกันภัยถูกฆาตกรรมหรือถูกลอบทำร้ายร่างกายจำนวนเงินเอาประกันภัยข้อ 1 และข้อ 2 จะเป็น 250,000 บาท ข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าวไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งถึงกรณีเสียชีวิตหรือถูกฆาตกรรมกรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นการประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตจากการทะเลาะวิวาท
ตามกรมธรรม์ประกันภัย ระบุข้อยกเว้นที่การประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ไม่คุ้มครองว่า "2. ความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากความบาดเจ็บทางร่างกายที่เกิดขึ้นในเวลาต่อไปนี้ ง. ขณะที่ผู้เอาประกันภัย เข้าร่วมทะเลาะวิวาทหรือมีส่วนยั่วยุให้เกิดการทะเลาะวิวาท"ดังนี้ ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดดังกล่าวต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า ย่อมหมายถึงเฉพาะความสูญเสียหรือความเสียหาย อันเกิดจากความบาดเจ็บทางกายที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เสียชีวิต เพราะตามกรมธรรม์มีข้อตกลงคุ้มครอง 6 ข้อ ข้อ 1. เสียชีวิต ข้อ 2. สูญเสียอวัยวะและสายตา ข้อ 3. ทุพพลภาพถาวรข้อ 4. และข้อ 5. ทุพพลภาพชั่วคราว ข้อ 6. ค่ารักษาพยาบาลและกรณีผู้เอาประกันภัยถูกฆาตกรรมหรือถูกลอบทำร้ายร่างกายจำนวนเงินเอาประกันภัยข้อ 1 และข้อ 2 จะเป็น250,000 บาท ข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าวไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งถึงกรณีเสียชีวิตหรือถูกฆาตกรรม กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นการประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการห้ามสืบพยานบุคคลแทนเอกสารในคดีลักทรัพย์
คดีซึ่งห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสารหรือสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขในเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 นั้น ได้แก่คดีซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง แต่คดีความผิดฐานลักทรัพย์หาได้มีกฎหมายบังคับไว้เช่นนั้นไม่ คู่ความจึงอาจนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อต่อสู้ของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: ความคุ้มครองนอกเหนือค่าเสียหายเบื้องต้น
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 15ที่บัญญัติว่า "กรมธรรม์ประกันภัย...ซึ่งมีข้อความระบุถึงความรับผิดของบริษัทแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในบทแห่ง พ.ร.บ.นี้ บริษัทจะยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประสบภัยในการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นมิได้" นั้น เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ฉบับนี้เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนกรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขความรับผิดของผู้รับประกันภัยที่เป็นเงื่อนไขความรับผิดเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนนอกจากค่าเสียหายเบื้องต้น ย่อมไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 15 ดังกล่าวและเมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมิได้มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว เงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.ฉบับนี้หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการงดสืบพยาน, ค่าชดเชย, และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัย ว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ฉะนั้น เมื่อศาลแรงงานสอบโจทก์จำเลยแล้วแถลงรับข้อเท็จจริงกัน ศาลแรงงานก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานเสียได้ในเมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะฟังเป็นยุติและวินิจฉัยได้แล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลแรงงานเพื่อฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจนพอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายจึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 หมายความว่า เงิน หรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้โดยคำณวน ตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ ดังนี้ แม้จำเลยจ่ายค่าเช่าบ้าน เดือนละ 30,000 บาท ค่าสาธารณูปโภคได้แก่ ค่าไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์เดือนละ 3,000 บาท ให้แก่โจทก์เท่ากันทุกเดือนพร้อมเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงก็ตาม แต่เมื่อเงินดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่โจทก์ มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานของโจทก์ จึงไม่เป็นค่าจ้าง ย่อมนำมารวมเข้ากับ เงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นค่าชดเชยไม่ได้ อุทธรณ์จำเลยที่ว่า งานของโจทก์มีแต่หน้าที่ตรวจสอบการจ่ายเงิน ตรวจสอบการเสนอราคาให้แก่ที่ปรึกษาโครงการและตรวจสอบผลงานเฉพาะโครงการที่ได้รับมอบหมาย ทั้งโจทก์ไม่มีหน้าที่ทำงานในโครงการอื่น ๆ ที่จำเลยรับเหมาก่อสร้างอันเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย และอุทธรณ์จำเลยที่ว่า จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเป็นเวลา 3 ปี โดยจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ดูแลงานเฉพาะแต่ละโครงการที่จำเลยเห็นว่าโจทก์มีความเชี่ยวชาญเท่านั้นซึ่งงานแต่ละโครงการที่โจทก์ดูแลจะมีกำหนดแล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น คดีนี้จำเลยให้การว่า สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเป็นเวลา 3 ปี และลักษณะงานของโจทก์เป็นงานวิเคราะห์อันเป็นส่วนหนึ่ง ของงานจำเลย ซึ่งมิใช่เป็นงานในโครงการเฉพาะ แต่เป็นงานปกติ ของธุรกิจของจำเลย ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลย จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ย่อมไม่ทำให้ผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปจึงไม่เป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งไม่ประจำทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 1.6 ตัน เข้าข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบกไม่ได้ หากมีเจตนาเพื่อรับจ้าง
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4(1) และ (3) ให้คำจำกัดความ "การขนส่ง" หมายความว่าการขนคน สัตว์ หรือสิ่งของโดยทางบกด้วยรถและ"ขนส่งไม่ประจำทาง" หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า วันเกิดเหตุจำเลยนำรถยนต์กระบะบรรทุกส่วนบุคคลซึ่งมีน้ำหนัก1,400 กิโลกรัม ไปจอดที่สถานีรถไฟศรีสะเกษจำเลยตกลงรับจ้างค.และอ. พร้อมกระเป๋าและสิ่งของขึ้นรถคันดังกล่าวเพื่อเดินทางไปส่งที่ตำบลดวนใหญ่ ในราคาค่าจ้าง 150 บาทค.และอ. นำกระเป๋าและสิ่งของขึ้นไปวางบนรถจำเลยแล้วแต่ยังไม่ทันออกเดินทางก็ถูกจับเสียก่อนถือได้ว่าจำเลยได้ประกอบการขนส่งแบบไม่ประจำทางสำเร็จแล้ว แม้ยังไม่ได้รับค่าจ้างจากผู้โดยสารก็ตาม เมื่อจำเลยประกอบการขนส่งไม่ประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ มาตรา 23 วรรคหนึ่งประกอบด้วย มาตรา 126 ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 6)พ.ศ. 2537 มาตรา 5 บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (2) การขนส่งโดย (ข) รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้าง" หมายความว่าการนำรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัมมาประกอบการขนส่งที่ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ ตามมาตรา 5 นี้ ต้องเป็นกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้ขนส่งมิได้กระทำเพื่อสินจ้างจากผู้โดยสารหรือผู้ให้ส่งสิ่งของหรือสัตว์ แต่กรณีของจำเลยเป็นการประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างจากผู้โดยสารจึงไม่เข้าข้อยกเว้น จำเลยจึงมีความผิดตามมาตราดังกล่าว
of 41