พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้าน้ำมันต่อการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง: ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและการพิสูจน์ความระมัดระวัง
ความผิดต่อพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 มาตรา 25 ตรี มีข้อสันนิษฐานไว้ในวรรคสองและวรรคสี่ความว่า ถ้าการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดขึ้นภายในสถานที่ทำการหรือสถานที่จำหน่ายของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ทวิ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ค้าน้ำมันดังกล่าวเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีผู้กระทำความผิดถูกจับขณะกำลังปลอมปนน้ำมันโดยถ่ายน้ำมันก๊าดลงในถังเก็บน้ำมันโซล่าใต้ดินของจำเลยที่ 1 ในบริเวณปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้าน้ำมัน และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1จึงต้องรับผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้าน้ำมันต่อการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง: ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและการใช้ความระมัดระวัง
ความผิดต่อพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิงพ.ศ.2521มาตรา25 ตรี มีข้อสันนิษฐานไว้ในวรรคสองและวรรคสี่ความว่าถ้าการกระทำความผิด ต่อพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดขึ้นภายในสถานที่ทำการหรือ สถานที่จำหน่ายของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา6 ทวิ ให้สันนิษฐานไว้ก่อน ว่าผู้ค้าน้ำมันดังกล่าวเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันมิให้มี การกระทำความผิดเกิดขึ้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีผู้กระทำความผิด ถูกจับขณะกำลังปลอมปนน้ำมันโดยถ่ายน้ำมันก๊าดลงในถังเก็บ น้ำมันโซล่าใต้ดินของจำเลยที่ 1 ในบริเวณปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ดังกล่าวได้จำเลยที่1ในฐานะผู้ค้าน้ำมันและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1จึงต้องรับผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพต่ำ จำเลยต้องมีปริมาณครอบครองตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อใช้ข้อสันนิษฐาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำและกระทำการปลอมปนน้ำมันที่จำหน่าย โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้าน้ำมันร่วมกันจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินชนิดพิเศษ ซึ่งมีคุณภาพต่ำกว่าคุณภาพที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและร่วมกันกระทำการปลอมปนน้ำมันดังกล่าวด้วย เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว
โจทก์มิได้บรรยายในฟ้องถึงน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำกว่าคุณภาพที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่ 200 ลิตรขึ้นไป เพื่อให้เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้กระทำการปลอมน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเพื่อจำหน่าย โจทก์จึงจะนำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวหาได้ไม่ และศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงนั้นมาปรับบทกฎหมายซึ่งมิได้บรรยายมาในฟ้องไม่ได้
โจทก์มิได้บรรยายในฟ้องถึงน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำกว่าคุณภาพที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่ 200 ลิตรขึ้นไป เพื่อให้เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้กระทำการปลอมน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเพื่อจำหน่าย โจทก์จึงจะนำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวหาได้ไม่ และศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงนั้นมาปรับบทกฎหมายซึ่งมิได้บรรยายมาในฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานการเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจากหนังสือทวงถามหนี้
ก่อนฟ้องโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้จำนวนเกินกว่า 30,000 บาทแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ โดยจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมหาชน (น.ส.3ก.) มีผลผูกพันตามข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย โจทก์ต้องพิสูจน์ความไม่ถูกต้อง
แบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ที่พิพาท เป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายได้ทำขึ้นจึงเป็นเอกสารมหาชนซึ่งต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่โจทก์จะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความประมาทในคดีรถชน: ข้อสันนิษฐานตามประกาศคปต. และพยานหลักฐาน
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 มาตรา 30 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 เป็นแต่สันนิษฐานไว้ก่อนว่าคนขับรถที่หลบหนีเป็นผู้กระทำผิด ไม่ใช่สันนิษฐานเด็ดขาด มีผลผูกมัดเฉพาะผู้กระทำผิดซึ่งเข้ามาเป็นคู่ความเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานการชำระค่าเช่าตามมาตรา 327 มิใช่เด็ดขาด การอุทธรณ์เรื่องค่าเช่าค้างชำระถือเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
การที่จำเลยมีใบเสร็จการชำระค่าเช่าในระยะหลังนั้น มิได้หมายความว่าค่าเช่าก่อน ๆ นั้นจำเลยมิได้ค้างชำระ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีชำระดอกเบี้ย หรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนท่านให้สันนิษฐานซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยผู้มีใบเสร็จที่จะไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบว่าไม่ได้ค้างชำระค่าเช่าในระยะก่อนเท่านั้น คือตกเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบหักล้าง หาใช่เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดไม่
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ค้างชำระค่าเช่า การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ค้างค่าเช่า ย่อมเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ค้างชำระค่าเช่า การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ค้างค่าเช่า ย่อมเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 327 ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด
การที่จำเลยมีใบเสร็จการชำระค่าเช่าในระยะหลังนั้น มิได้หมายความ ว่าค่าเช่าก่อน ๆ นั้นจำเลยมิได้ค้างชำระประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า 'ในกรณีชำระดอกเบี้ย หรือชำระหนี้ อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จให้เพื่อ ระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับ ชำระหนี้เพื่อระยะก่อนๆ นั้นด้วยแล้ว' นั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานซึ่งเป็น คุณแก่จำเลยผู้มีใบเสร็จที่จะไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบว่าไม่ได้ค้างชำระ ค่าเช่าในระยะก่อนเท่านั้น คือตกเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบหักล้าง หาใช่เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดไม่
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ค้างชำระค่าเช่าการที่ จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ค้างค่าเช่า ย่อมเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ค้างชำระค่าเช่าการที่ จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ค้างค่าเช่า ย่อมเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำฟ้องล้มละลาย: ศาลพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ควบคู่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 30วันจำเลยไม่ชำระหนี้แต่จำเลยอาจจะชำระหนี้ได้ทั้งหมดศาลพิพากษายกฟ้องได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา14 ไม่ขัดต่อข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8
จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าแผนกได้รับเงินเดือนเดือนละ 2,700บาทแม้เงินเดือนของจำเลยโจทก์ไม่อาจยึดมาชำระหนี้ของโจทก์ได้ก็เป็นคนละเรื่องกับความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลย ฐานะราชการความประพฤติไม่เป็นหนี้บุคคลอื่นนอกจากโจทก์จำเลยย่อมอยู่ในฐานะที่สามารถจะขวนขวายชำระหนี้ได้
จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าแผนกได้รับเงินเดือนเดือนละ 2,700บาทแม้เงินเดือนของจำเลยโจทก์ไม่อาจยึดมาชำระหนี้ของโจทก์ได้ก็เป็นคนละเรื่องกับความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลย ฐานะราชการความประพฤติไม่เป็นหนี้บุคคลอื่นนอกจากโจทก์จำเลยย่อมอยู่ในฐานะที่สามารถจะขวนขวายชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ข้อสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่งทรัพย์สินเดิมเมื่อไม่มีหลักฐานการลงทุน
เมื่อไม่ปรากฏว่าสามีภริยาได้ออกเงินสร้างบ้านอันเป็นสินเดิมเป็นส่วนสัดคนละเท่าใด จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ามีส่วนเป็นเจ้าของบ้านเท่า ๆ กัน