พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญาซื้อขายฝากด้วยพยานบุคคลขัดต่อข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ขายฝากได้ขายที่ดินไว้ 2,200 บาท แล้วผู้ขายฝากแบ่งที่ดินขายให้ผู้รับซื้อฝาก. ปรากฏตามหนังสือสัญญาซื้อขายเป็นเงิน 740 บาท. ที่ดินที่เหลือมิได้แก้ทะเบียนเพิกถอนการขายฝาก. จะสืบพยานบุคคลว่า ผู้รับซื้อที่ดินเป็นราคา 2,200 บาทเป็นการชำระหนี้ขายฝากสิ้นเชิงนั้นเป็นการยอมให้สืบพยานบุคคลแก้ไขหนังสือสัญญาโดยตรงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: การสืบเพิ่มเติมข้อตกลงนอกสัญญาค้ำประกันเป็นข้อห้ามตามกฎหมาย
ผู้คำประกันจะนำพะยานบุคคลมาลืบว่าที่ตนเข้าทำสัญญาค้ำประกันโดยตกลงกับเจ้าหนี้ไปกระทำการอย่างใดอย่าหนึ่ง แล้วเจ้าหนี้ผิดสัญญาแต่ข้อตกลงนั้นไม่ปรากฏในสัญญาค้ำประกันดังนี้ศาลจะรับฟังไม่ได้ เพราะเป็นการสืบแก้ไขเพิ่มเติมเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์เรื่องการแก้ทะเบียนอายุเด็กและข้อห้ามตาม ม.168 ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแก้ทะเบียนอายุเด็ก จำเลยต่อสู้ว่าได้แก้ทะเบียนแล้ว+ฟ้อง ศาลชั้นต้นเชื่อตามข้อต่อสู้ของจำเลยโจทก์อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าวนั้น จะถือว่าเป็นอุทธรณ์ในเรื่องค่าธรรมเนียมตาม ม.168 ไม่ได้
ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาให้แก่ความในกรณีที่ย้านสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาให้แก่ความในกรณีที่ย้านสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขยายผลถึงคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีอาญา
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามกฎหมายข้างบนนี้ย่อมกินความถึงคดีมีคำสั่งด้วยเพราะมีลักษณวิธีการดำเนินเช่นเดียวกับคำพิพากษาคดีที่ศาลเดิมไต่สวนพะยานชั้นมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลจึงให้ยกฟ้องโจทก์นั้นถ้าเป็นคดีมีโทษต้องด้วยข้อห้ามของพระราชบัญญัติลักษณอุทธรณ์แล้วโจทก์อุทรธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ฟ้องแย้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กรณีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท
ที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ชำระราคาสินค้าที่ค้างชำระเป็นเงิน 11,329.38 บาท ให้แก่โจทก์ตามฟ้องแย้งของจำเลย เนื่องจากทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งมีจำนวนไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า แม้โจทก์ยังไม่ชำระราคาสินค้าจำนวน 11,329.38 บาท ให้แก่จำเลยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยส่งมอบแผ่นหลังคาเหล็กให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามสัญญา โจทก์ชอบที่จะยึดหน่วงราคาสินค้าไว้ได้ เป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์มาและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่อาจฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงิน 11,329.38 บาท ให้แก่จำเลยได้ เพราะไม่ใช่ปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14621/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลเกี่ยวกับตัวแทนทำสัญญาเช่าซื้อ ไม่เป็นการขัดต่อข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
การนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยเป็นผู้ทำสัญญาเช่าซื้อรถทั้งสองคันแทนโจทก์ เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงระหว่างตัวการกับตัวแทน ไม่เกี่ยวกับการนำสืบเพื่อให้มีการบังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาเช่าซื้อแต่อย่างใด โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ และไม่ต้องห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลที่โจทก์นำสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงการกระทำผิด การพิจารณาลงโทษนอกฟ้องเป็นข้อห้ามตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยกับพวกได้ร่วมกันต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยจำเลยกับพวกมีมีดยาวประมาณ 1 ฟุตเศษ ใบมีดกว้างประมาณ 2 นิ้ว เป็นอาวุธและตะโกนห้ามไม่ให้ผู้เสียหายทั้งสองเข้ามาใกล้ ไม่เช่นนั้นจะทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายการกระทำของจำเลยที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษว่าจำเลยกับพวกต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานโดยขับรถพุ่งเข้าใส่ผู้เสียหายทั้งสอง อันจะเป็นการต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จะได้ความตามทางพิจารณาว่าจำเลยกับพวกมีพฤติการณ์ในการหลบหนีโดยขับรถยนต์กระบะพุ่งเข้าใส่ผู้เสียหายทั้งสองก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความดังกล่าวนั้นได้ เพราะเป็นเรื่องข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง กรณีหาใช่เป็นข้อแตกต่างที่มิใช่สาระสำคัญไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยที่เป็นบุพการีในฐานะกรรมการบริษัท – ข้อห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
ป.พ.พ. มาตรา 1562 บัญญัติว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้..." อันเป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดฟ้องบุพการีของตน จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 โดยระบุว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท และจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัท จำเลยทั้งสามอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในฐานะเป็นกรรมการของบริษัท ร่วมกันจงใจทำหลักฐานอันเป็นเท็จว่า บริษัทเป็นหนี้เงินกู้ยืมจากกรรมการ เพื่อนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้เงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่บริษัท โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท และจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวร่วมกันกรรมการอีก 2 คน คือ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ชดใช้เงินให้แก่บริษัท มิได้ให้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นการส่วนตัว ทั้งจำนวนเงินตามฟ้องหากรับฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวหาก็เป็นเงินของบริษัทมิใช่เงินของจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4189/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณโทษเพื่อพิจารณาข้อห้ามฎีกาในคดีอาญา ต้องรวมโทษที่เพิ่มขึ้นด้วย
การที่จะพิจารณาว่าคดีใดต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาเป็นรายกระทงความผิดและกำหนดโทษสุดท้ายที่จำเลยได้รับ ซึ่งการเพิ่มโทษจำเลยในความผิดใด โทษที่เพิ่มขึ้นก็ย่อมรวมเป็นโทษที่ศาลจะนำไปกำหนดโทษสุดท้ายที่จำเลยได้รับในความผิดนั้น ดังนั้น จึงต้องนำการเพิ่มโทษมาคำนวณในการใช้สิทธิฎีกาด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2550)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2550)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายจัดตั้งศาลแขวง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิยฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์สละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใดๆ ในเช็คพิพาทอีกต่อไป จึงเป็นการยอมความในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยพิเคราะห์ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 เมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แม้โจทก์จะยื่นฎีกาโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่การอนุญาตให้ฎีกาดังกล่าวไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาดังกล่าวจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา 218, 219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษานั้นอนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4