พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสอบทรัพย์สินที่ได้มาไม่สมเหตุสมผลของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการ โดยพิจารณาจากรายได้ที่แท้จริงและแหล่งที่มา
การส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลวินิจฉัยสั่งว่าทรัพย์สินเป็นของแผ่นดินตามมาตรา20แห่งพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯไม่จำเป็นต้องให้นายกรัฐมนตรีสั่งลงโทษไล่ออกเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติเสียก่อนบทบัญญัติดังกล่าวเป็นวิธีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบอันเป็นวิธีการทางวินัยไม่ใช่การลงโทษทางอาญาที่บุคคลจะต้องรับโทษต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้กฎหมายนี้จึงใช้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ได้ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นอยู่ในความครอบครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นหรือบุคคลอื่นถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯมาตรา21จัตวาที่ว่าแม้ภายหลังผู้นั้นจะพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไปด้วยเหตุอื่นนอกจากตายก็ให้คณะกรรมการมีอำนาจดำเนินการต่อไปได้แต่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน1เดือนนับแต่ผู้นั้นพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลามิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯมีเจตนารมณ์ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนไม่ว่าผู้นั้นจะแสดงทรัพย์สินและหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.2524หรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนิติบุคคลต่อความเสียหายจากละเมิดของข้าราชการในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อตกลงร่วม
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เมื่อพิเคราะห์ประกอบเอกสารท้ายฟ้องทุกฉบับแล้ว เป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นนิติบุคคลให้ร่วมกันรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการในสังกัดของจำเลยทั้งสาม ฟ้องโจทก์ได้บรรยายฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทุกฝ่ายโดยแจ้งชัดตามความแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามเป็นกรมในรัฐบาลต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำไปตามหน้าที่ จึงไม่เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246
การออกไปตรวจสอบพิสูจน์ที่ดินพิพาทในเขตป่าไม้ของ ค. พ.และ ส. ล้วนแต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยทั้งสามตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมที่ดินกับกรมป่าไม้ว่าด้วยการตรวจพิสูจน์ที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเกี่ยวกับเขตป่าไม้ พ.ศ.2524เพื่อตรวจสอบพิสูจน์ว่าที่ดินสมควรออก น.ส.3 ก.ให้ได้หรือไม่ หาใช่เป็นการกระทำในนามของนายอำเภอหรือในนามส่วนตัวไม่ เมื่อบุคคลทั้งสามปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามในฐานะที่เป็นนิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวรับราชการอยู่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 เดิม
การออกไปตรวจสอบพิสูจน์ที่ดินพิพาทในเขตป่าไม้ของ ค. พ.และ ส. ล้วนแต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยทั้งสามตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมที่ดินกับกรมป่าไม้ว่าด้วยการตรวจพิสูจน์ที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเกี่ยวกับเขตป่าไม้ พ.ศ.2524เพื่อตรวจสอบพิสูจน์ว่าที่ดินสมควรออก น.ส.3 ก.ให้ได้หรือไม่ หาใช่เป็นการกระทำในนามของนายอำเภอหรือในนามส่วนตัวไม่ เมื่อบุคคลทั้งสามปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามในฐานะที่เป็นนิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวรับราชการอยู่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อความเสียหายจากละเมิดของข้าราชการในการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เมื่อพิเคราะห์ประกอบเอกสารท้ายฟ้องทุกฉบับแล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นนิติบุคคลให้ร่วมกันรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการในสังกัดของจำเลยทั้งสามฟ้องโจทก์ได้บรรยายฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทุกฝ่ายโดยแจ้งชัดตามความแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมและที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามเป็นกรมในรัฐบาลต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำไปตามหน้าที่จึงไม่เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบมาตรา246 การออกไปตรวจสอบพิสูจน์ที่ดินพิพาทในเขตป่าไม้ของค.พ. และส. ล้วนแต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยทั้งสามตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมที่ดินกับกรมป่าไม้ว่าด้วยการตรวจพิสูจน์ที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเกี่ยวกับเขตป่าไม้พ.ศ.2524เพื่อตรวจสอบพิสูจน์ว่าที่ดินสมควรออกน.ส.3ก.ให้ได้หรือไม่หาใช่เป็นการกระทำในนามของนายอำเภอหรือในนามส่วนตัวไม่เมื่อบุคคลทั้งสามปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามในฐานะที่เป็นนิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวรับราชการอยู่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การย้ายที่ทำการถือเป็นการได้รับคำสั่งให้เดินทาง
ตาม พ.ร.ฎ. ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2527 มาตรา 7ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการคือข้าราชการที่ทางราชการได้มีคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ แต่กรณีคดีนี้ ทางราชการได้ย้ายที่ทำการใหม่อันเป็นการก่อให้เกิดสภาพการณ์เช่นเดียวกันกับการมีคำสั่งให้เดินทาง กล่าวคือข้าราชการจำต้องเดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ ซึ่งเป็นผลเช่นเดียวกันกับการมีคำสั่งของทางราชการนั่นเอง ดังนั้น ในกรณีเช่นนี้ทำให้ถ้อยคำตามตัวอักษรที่ว่า "ได้รับคำสั่งให้เดินทาง" ไม่ชัดแจ้งว่าจะมีความหมายครอบคลุมถึงกรณีที่มีสภาพการณ์เช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินทางหรือไม่ ชอบที่ศาลจะต้องค้นหาความหมายของบทบัญญัตินี้ว่ามีขอบเขตแห่งความมุ่งหมายแค่ไหนเพียงใด เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมาแล้ว จะพบว่าพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ทางราชการมีเจตนารมณ์ที่จะช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับความเดือนร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุ จึงเห็นได้ว่าการย้ายที่ทำการใหม่ของโจทก์ซึ่งทำให้ข้าราชการของโจทก์ต้องเดินทางไปทำงานประจำสำนักงานใหม่นี้ก็เนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุเช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินทางและทำให้ข้าราชการได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัย ดังนั้น ถ้อยคำตามตัวอักษรที่ว่า"ได้รับคำสั่งให้เดินทาง" ย่อมมีขอบเขตแห่งความมุ่งหมายครอบคลุมถึงกรณีย้ายที่ทำการใหม่ไปต่างท้องที่ด้วย ดังนั้นกรณีเช่นคดีนี้ ย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ให้จำเลยมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การย้ายที่ทำการของโจทก์มีสภาพเช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินทาง
การที่โจทก์ย้าย ที่ทำการใหม่ไป ต่างท้องที่ เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์ต้องเดินทางไปทำงานประจำสำนักงานแห่งใหม่มีสภาพการณ์เช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินทางตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527มาตรา7จำเลยจึงมี สิทธิได้รับ ค่าเช่าบ้านข้าราชการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การย้ายที่ทำการราชการเทียบเท่าคำสั่งให้เดินทาง
ตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527มาตรา7ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการคือข้าราชการที่ทางราชการได้มีคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่แต่กรณีคดีนี้ทางราชการได้ย้ายที่ทำการใหม่อันเป็นการก่อให้เกิดสภาพการณ์เช่นเดียวกันกับการมีคำสั่งให้เดินทางกล่าวคือข้าราชการจำต้องเดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ซึ่งเป็นผลเช่นเดียวกันกับการมีคำสั่งของทางราชการนั้นเองดังนั้นในกรณีเช่นนี้ทำให้ถ้อยคำตามตัวอักษรที่ว่า"ได้รับคำสั่งให้เดินทาง"ไม่ชัดแจ้งว่าจะมีความหมายครอบคลุมถึงกรณีที่มีสภาพการณ์เช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินหรือไม่ชอบที่ศาลจะต้องค้นหาความหมายของบทบัญญัตินี้ว่ามีขอบเขตแห่งความมุ่งหมายแค่ไหนเพียงใดเมื่อพิจารณาถึงเหตุผลท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมาแล้วจะพบว่าพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมาแล้วจะพบว่าพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ทางราชการมีเจตนารมณ์ที่จะช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับความเดือนร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุจึงเห็นได้ว่าการย้ายที่ทำการใหม่ของโจทก์ซึ่งทำให้ข้าราชการของโจทก์ต้องเดินทางไปทำงานประจำสำนักงานใหม่นี้ก็เนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุเช่นเดียวกับการได้รับคำสั่งให้เดินทางและทำให้ข้าราชการได้รับความเดือนร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยดังนั้นถ้อยคำตามตัวอักษรที่ว่า"ได้รับคำสั่งให้เดินทาง"ย่อมมีขอบเขตแห่งความมุ่งหมายครอบคลุมถึงกรณีย้ายที่ทำการใหม่ไปต่างท้องที่ด้วยดังนั้นกรณีเช่นคดีนี้ย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ให้จำเลยมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ: ข้อเท็จจริงไม่สนับสนุนความผิด, จำเลยไม่เป็นข้าราชการ
ตั้งแต่วันที่23มีนาคม2532ถึงวันที่6ตุลาคม2532โจทก์ไม่ใช่ผู้เช่าแผงค้าตลาดมีนบุรีของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครแต่โจทก์ยังคงวางสินค้าที่แผงค้าตลาดมีนบุรีที่เคยเช่าและแผงค้าอื่นที่ไม่เคยเช่ารวมทั้งทางเดินในตลาดมีนบุรีด้วยจึงทำให้จำเลยที่1เข้าใจว่าเมื่อการเช่าสิ้นสุดลงแล้วแต่โจทก์ยังวางสินค้าอยู่และจำเลยที่2แจ้งให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้วแต่โจทก์ไม่ยอมโจทก์จึงเป็นผู้บุกรุกและได้มอบอำนาจให้จำเลยที่3ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนข้อความที่จำเลยที่3ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงกับสภาพที่จำเลยที่2ไปพบเห็นมาจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่3แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่3แจ้งหรือไม่ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความย่อมหลายถึงแจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายหลังจากจำเลยที่3ได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนแล้วพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีแก่โจทก์แม้ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยที่3แจ้งนั้นเป็นความเท็จเมื่อข้อความที่จำเลยที3ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่1แจ้งนั้นเป็นความจริงจำเลยที่1ที่3จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่2ว่าจำเลยที่2อ้างว่าเป็นผู้พบการกระทำความผิดของโจทก์ในข้อหาบุกรุกและได้ยื่นเรื่องราวต่อจำเลยที่1ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่2จึงมิใช่ให้ลงโทษจำเลยที่2ฐานเป็นตัวการแต่เป็นเพียงผู้สนับสนุนเมื่อจำเลยที่1และที่3ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จจำเลยที่2ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย จำเลยทั้งสามเป็นพนักงานของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครซึ่งตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตราดกรุงเทพมหานครพ.ศ.2527ข้อ4และข้อ6กำหนดให้ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องวิธีการงบประมาณพ.ศ.2529จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครดังนั้นจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายอาญาภาค2ว่าด้วยความผิดลักษณะ2ความผิดเกี่ยวกับการปกครองหมวด2ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ การที่ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคห้าได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริงเพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้นทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วยเมื่อในคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1ที่2และที่3ได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157ตามที่โจทก์ฟ้องจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502มาตรา11ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9340/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากละเมิดของข้าราชการในสังกัด และสิทธิไล่เบี้ยของนิติบุคคล
จำเลยให้การว่า จำเลยขอปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่า การฟ้องคดีของพันตำรวจเอก ร. เป็นการสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์โดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องผูกพันกับคำพิพากษาท้ายฟ้องโจทก์ เมื่อการฟ้องของโจทก์ไม่สุจริตโจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยไม่ ดังนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนหนึ่งตอนใดได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กล่าวอ้างมาเลยว่า ที่พันตำรวจเอก ร. ฟ้องโจทก์และจำเลยกับพวกนั้น พันตำรวจเอก ร. ได้ร่วมกับโจทก์กระทำการอย่างใดอันเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันนำคดีดังกล่าวมาฟ้องเพื่อให้โจทก์มาฟ้องจำเลยให้รับผิดเป็นคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริต จำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อสนับสนุนคำให้การของจำเลย เมื่อคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องนำสืบ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย การที่โจทก์และจำเลยถูกพันตำรวจเอก ร. เป็นโจทก์ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้พันตำรวจเอก ร. เสียหาย และคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยถึงที่สุดฟังว่าเหตุเกิดจากการปล่อยปละละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยซึ่งได้กระทำไปในฐานะผู้แทนโจทก์และพิพากษาให้โจทก์และจำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่พันตำรวจเอก ร. คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง คดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อพันตำรวจเอก ร. ในขณะจำเลยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล เมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาคดีก่อนแก่พันตำรวจเอก ร. แล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9340/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่เบี้ยค่าเสียหายจากข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อในฐานะผู้แทนของหน่วยงาน
จำเลยให้การว่าจำเลยขอปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่าการฟ้องคดีของพันตำรวจเอกร.เป็นการสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์โดยตรงจำเลยจึงไม่ต้องผูกพันกับคำพิพากษาท้ายฟ้องโจทก์เมื่อการฟ้องของโจทก์ไม่สุจริตโจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยไม่ดังนี้คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนหนึ่งตอนใดได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กล่าวอ้างมาเลยว่าที่พันตำรวจเอกร.ฟ้องโจทก์และจำเลยกับพวกนั้นพันตำรวจเอกร. ได้ร่วมกับโจทก์กระทำการอย่างใดอันเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันนำคดีดังกล่าวมาฟ้องเพื่อให้โจทก์มาฟ้องจำเลยให้รับผิดเป็นคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตจำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อสนับสนุนคำให้การของจำเลยเมื่อคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องนำสืบศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย การที่โจทก์และจำเลยถูกพันตำรวจเอกร.เป็นโจทก์ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้พันตำรวจเอกร.เสียหายและคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยถึงที่สุดฟังว่าเหตุเกิดจากการปล่อยปละละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยซึ่งได้กระทำไปในฐานะผู้แทนโจทก์และพิพากษาให้โจทก์และจำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่พันตำรวจเอกร. คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคหนึ่งคดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อพันตำรวจเอกร.ในขณะจำเลยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาคดีก่อนแก่พันตำรวจเอกร.แล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8506/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกระทรวงกลาโหมต่อการกระทำละเมิดของข้าราชการในสังกัดตามมาตรา 76
จำเลยที่ 1 รับราชการในกองทัพบกจำเลยที่ 3 และกระทำการในหน้าที่ของจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3เป็นส่วนราชการของกองบัญชาการทหารสูงสุดและกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมจำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการของจำเลยที่ 3 และเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำในหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76