คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 291 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดพลาด: การแก้ไขฟ้องและการเพิ่มโทษจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากเดิมซึ่งขอให้เพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 93 ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่ และมิได้สอบถามจำเลย ส่วนจำเลยยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง การที่ศาลชั้นต้นด่วนพิพากษาคดีไปโดยมิได้สอบและสั่งคำร้องขอของโจทก์นับได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดพลาด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยเพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 เพียงหนึ่งในสาม และศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองและให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ก่อนแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี
ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ช.16090/2538 ของศาลชั้นต้นจำเลยฟ้องว่า โจทก์ออกเช็คจำนวนเงิน 50,000 บาท นำมาแลกเงินสดจากจำเลยต่อมาธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของโจทก์เป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ซึ่งประเด็นข้อสำคัญในคดีมีว่าโจทก์ออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยทุจริตหรือไม่ การที่จำเลยเบิกความในคดีดังกล่าวว่า โจทก์นำเช็คจำนวนเงิน 200,000 บาท มาแลกเงินสดไปจากจำเลย จำเลยได้จ่ายเป็นเงินสด 6,000 บาท จ่ายเป็นเช็ค 144,000 บาท และเป็นแคชเชียร์เช็ค 50,000 บาท จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแลกเงินสดตามเช็คอีกฉบับหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวกับเช็คฉบับที่จำเลยฟ้องโจทก์ ทั้งไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ดังนั้นแม้จำเลยเบิกความว่า "ข้าพเจ้าจ่ายเป็นเงินสด 6,000 บาท" จะเป็นความเท็จก็มิใช่ข้อสำคัญในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำมาหากิน และทรัพย์สินที่ได้มาจากการให้ของผู้อื่น การพิสูจน์ที่มาของทรัพย์สินเพื่อประกอบการพิจารณาคดี
การ ที่ นายกรัฐมนตรี จะ สั่ง ลงโทษ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ผู้ร่ำรวยผิดปกติ หรือไม่ ไม่เป็น การ ตัด อำนาจ ของ คณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่จะ ส่ง เรื่อง ให้ พนักงาน อัยการ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาล เพื่อ ให้ศาล สั่ง ให้ ทรัพย์สิน ของ ผู้นั้น ตกเป็น ของ แผ่นดิน มี ผู้ร้องเรียน กล่าวหา ผู้คัดค้าน ที่ 1 ต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ป.ใน ระหว่าง ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวย ผิด ปกติ คณะกรรมการ ป.ป.ป. จึง ได้ ทำการ สืบสวนสอบสวน เรื่อยมา และ ได้ ส่ง เรื่อง ให้ พนักงาน อัยการ ผู้ร้องยื่น คำร้อง ต่อ ศาล เป็น การ กระทำ เกี่ยวพัน สืบ ต่อ กัน มา โดยมุ่งหมาย ถึง ทรัพย์สิน ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ มา ใน ระหว่าง เป็นเจ้าหน้าที่ ของ รัฐ แม้ ขณะ ยื่น คำร้อง ผู้คัดค้าน ที่ 1 เกษียณอายุราชการ แล้ว ก็ ตาม ส่วน ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ ที่ 3 นั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ แต่ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์สิน แทนผู้คัดค้าน ที่ 1 ผู้ร้อง จึง มี อำนาจ ยื่น คำร้อง ขอ ให้ ศาล มีคำสั่ง ให้ ทรัพย์สิน ของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ตกเป็น ของ แผ่นดิน พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การ ทุจริต และประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ที่ บัญญัติให้ ศาล สั่ง ทรัพย์สิน ที่ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ได้ มา โดย ไม่ชอบตกเป็น ของ แผ่นดิน เป็น เพียง วิธีการ ที่ จะ ป้องกัน และปราบปราม การ ทุจริต และ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ อัน เป็นวิธี การ ทาง วินัย เท่านั้น มิใช่ เป็น การ ลงโทษ แก่ ผู้กระทำความผิด ทาง อาญา อัน จะ ต้อง อยู่ ภายใต้ บังคับ ของหลัก กฎหมาย ที่ ว่า บุคคล จะ ต้อง รับ โทษ ทาง อาญา ต่อ เมื่อได้ กระทำ การ อัน กฎหมาย ที่ ใช้ ใน ขณะ กระทำ นั้น บัญญัติเป็น ความผิด และ ได้ กำหนด โทษ ไว้ ดังนั้น กฎหมาย นี้ ย้อนหลังไป บังคับ ถึง ทรัพย์สิน ของ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ที่ ได้ มา โดยมิชอบ และ ยัง คง มี อยู่ ใน ขณะ ที่ กฎหมาย นี้ ใช้ บังคับ ได้ เพราะ การ ได้ ทรัพย์สิน มา โดย มิชอบ ด้วย หน้าที่ นั้น เป็นการ ผิด วินัย ตั้งแต่ ที่ ได้ รับ มา พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การ ทุจริต และประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 21 จัตวาเป็น บท บัญญัติ ที่ ให้ อำนาจ คณะกรรมการ สอบสวน โดย มีกำหนด ระยะ เวลา มิใช่ ไม่ ให้ ใช้ บังคับ กฎหมาย ดังกล่าวแก่ ผู้ที่ ออก จาก ราชการ ไป แล้ว พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การ ทุจริต และประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 ใช้ บังคับ แก่เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ทุก คน แม้ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ผู้นั้น ไม่ได้แสดง สินทรัพย์ และ หนี้สิน ตาม พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการ แสดง สินทรัพย์ และ หนี้สิน ของ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐพ.ศ. 2524 ก็ ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของลูกหนี้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินเป็นของโจทก์และห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การว่า ที่ดินเป็นของจำเลย กรณีจึงพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย อำนาจในการต่อสู้คดีย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา 22 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงไม่ขอเข้าว่าคดีแทนจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้คดีได้ด้วยตนเอง ซึ่งรวมทั้งสิทธิในการยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1435/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-สิทธิครอบครองที่ดิน: ประเด็นยังมิได้วินิจฉัยในคดีก่อนไม่ผูกพันคดีหลัง
ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่479/2528โจทก์ที่1และที่3ฟ้องจำเลยอ้างสิทธิในที่ดินโฉนดเลขที่3083และที่ดินมือเปล่าคือที่ดินพิพาทในคดีนี้แต่คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินเพียงโฉนดเลขที่3083เท่านั้นมิได้ขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินมือเปล่าแต่ขอให้บังคับให้ใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับที่ดินมือเปล่าด้วยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าในการวางเกณฑ์คำนวณค่าเสียหายนั้นเนื่องจากคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่3083เท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นที่ดินมือเปล่าจนได้สิทธิหรือไม่แล้ววินิจฉัยไปตามประเด็นนี้ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกคำขอท้ายฟ้องจึงไม่นำเอาที่ดินมือเปล่ามารวมคำนวณค่าเสียหายด้วยจำเลยฎีกาโดยไม่มีปัญหาขึ้นสู่ศาลฎีกาเกี่ยวกับที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกคำขอท้ายฟ้องประเด็นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่479/2528เกี่ยวกับที่ดินพิพาทที่เป็นที่ดินมือเปล่านั้นเป็นอันยุติว่าวินิจฉัยให้ไม่ได้เพราะเกินคำขอท้ายฟ้องจึงถือไม่ได้ว่าเป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้วในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่479/2528คำฟ้องสำนวนหลังที่จำเลยฟ้องโจทก์ที่1และที่3จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่มีทุนทรัพย์ไม่ขัดแย้งกับคดีมีทุนทรัพย์ หากคำขอหลักคือการเพิกถอนนิติกรรม
คำฟ้องโจทก์สามารถแยกออกได้เป็นสองส่วน คือ จำเลยที่ 2ซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์อยู่ก่อนแล้วทำให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง อีกส่วนหนึ่งคือ จำเลยที่ 1ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่การที่จะวินิจฉัยคำขอในส่วนนี้ต้องวินิจฉัยคำขอในส่วนแรกเพื่อให้ได้ความว่ามีเหตุให้ต้องเพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินหรือไม่ก่อน และในกรณีที่เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าคดีนั้นมีคำขอใดเป็นหลักคำขอใดเป็นคำขอที่ต่อเนื่องซึ่งต้องถือว่าคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินเป็นคำขอหลักจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาลไม่ใช่การฟ้องซ้ำ คดีปลอมแปลงเอกสารเป็นคนละประเด็น
จำเลยกระทำการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 31 (1), 33 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวให้ศาลมีอำนาจพิเศษในการสั่งลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอหรือเป็นโจทก์ฟ้อง แม้จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วพนักงานอัยการได้ทำคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการเป็นโจทก์
ความผิดของจำเลยคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม โดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องและคนละประเด็นกับคดีฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำคุกจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทนตนเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิอย่างใด ไม่ใช่เอกสารสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6485/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลอุทธรณ์เรื่องงดการพิจารณาคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่สามารถฎีกาได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา228วรรคสามเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาไว้ในระหว่างอุทธรณ์คำสั่งจนกว่าศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยอุทธรณ์นั้นคำสั่งนี้จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(1)ประกอบด้วยมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง กรณีสิทธิในที่ดินพิพาทไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขออ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ผ. บิดาผู้วายชนม์ของผู้ร้องสอดไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาทฟ้องโจทก์เป็นการสอดเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน ของผู้อื่นโดยมิชอบและเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดผู้ร้องสอดจึงร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อให้ได้รับการรับรอง และคุ้มครองมิให้โจทก์เข้ามาก้าวล่วงสิทธิของผู้ร้องสอด โดยขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามและขอให้ ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องสอดไม่ได้กล่าวอ้างถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทเลยว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียอย่างไรบ้าง และไม่ปรากฏจากคำร้องว่าสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่โจทก์ฟ้องบังคับให้รื้อถอนนั้นเป็นส่วนควบกับที่ดินพิพาทหรือไม่ ทั้งไม่มีคำขอบังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิมาด้วย การฟ้องคดีของโจทก์จึงไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องสอดหากจะพึงมี คำร้องของผู้ร้องสอดจึงยังไม่มีความจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกคำนวณทุนทรัพย์พิพาทในคดีผิดสัญญาหลายวง
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดนั้นเกิดจากสัญญาเล่นแชร์2 วง แต่ละวงมีรายละเอียดข้อสัญญาต่างกัน จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาวงหนึ่งวงใดไม่เป็นเหตุให้ผิดสัญญาอีกวงหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเล่นแชร์วงแรกจึงมิได้เกี่ยวข้องกับข้อหาที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเล่นแชร์วงที่สอง แม้โจทก์จะได้รวมฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นสองข้อหารวมกันมาเป็นคดีเดียว โดยศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้พิจารณา มิได้มีคำสั่งให้แยกคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 29 ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามฟ้อง โดยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในมูลหนี้ดังกล่าวเนื่องจากเป็นหนี้ร่วมแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ในการคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ตามป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นั้น ศาลต้องแยกคำนวณตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามข้อหาของการผิดสัญญาเล่นแชร์แต่ละวง
of 30