พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากจำเลย
โจทก์ต้องการกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ แต่โจทก์มิได้เป็นสมาชิกจึงขอให้ อ. ทำสัญญากู้ยืมเงินจากสหกรณ์แทนโดยโจทก์นำที่ดินมาจำนองเป็นประกัน สหกรณ์อนุมัติให้ อ. กู้ยืมเงินและสหกรณ์หักค่าหุ้นและเงินกู้ระยะสั้นที่ อ. ค้างชำระออก ก่อนส่งมอบเงินที่เหลือให้แก่ อ. พฤติการณ์ถือว่า อ. เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ต้องรับผิดต่อสหกรณ์ และเป็นเจ้าของเงินที่กู้ยืมจากสหกรณ์ เมื่อโจทก์มิได้มอบให้จำเลยเป็นตัวแทนไปรับเงินจาก อ. ดังนั้น หาก อ. มอบเงินที่กู้ยืมมาจากสหกรณ์ให้แก่จำเลยเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องความรับผิดระหว่าง อ. กับจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกได้ดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจ 191: อำนาจสืบสวนคดีอาญา แม้เป็นผู้รับแจ้งเหตุ
การที่เจ้าพนักงานตำรวจ 191 มีหน้าที่รับโทรศัพท์เป็นหน้าที่เฉพาะตามที่ทางราชการแต่งตั้งให้ปฏิบัติ แต่โดยทั่วไปแล้วเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 การที่จำเลยโทรศัพท์แจ้งเจ้าพนักงานตำรวจ 191 ว่ามีการวางระเบิดที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ และสถานที่อื่นอีกหลายแห่ง โดยรู้อยู่ว่ามิได้มีการกระทำความผิดอาญา จึงเป็นการแจ้งความแก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุข้อความปฏิเสธการยอมความในคดีอาญาในสัญญา ไม่ขัดกฎหมายและไม่เป็นโมฆะ
การยอมความกันที่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ต้องเป็นการแสดงเจตนาของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายตกลงไม่ดำเนินคดีอาญาหรือเอาผิดทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิด ข้อความที่ว่า "การยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญา" มีความหมายว่าโจทก์ไม่ให้ถือเอาความตกลงยินยอมรับชำระหนี้จากจำเลยตามที่ระบุในหนังสือรับสภาพความรับผิดและบันทึกรับสภาพหนี้เป็นการตกลงยอมความในคดีอาญา ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายหรือโจทก์ทำเช่นนั้น ทั้งไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะเป็นสิทธิผู้เสียหายโจทก์ที่จะยอมความในคดีอาญาอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือไม่ก็ได้ การระบุข้อความเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน (สำเนาภาพถ่าย) ในคดีอาญา: ศาลมีดุลพินิจพิจารณาความน่าเชื่อถือและความจำเป็นในการตรวจพยานวัตถุ
ป.วิ.อ. มาตรา 241 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีการสืบพยานวัตถุหาใช่บทบังคับให้สืบพยานวัตถุเสมอไปไม่ หากศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตรวจดูพยานวัตถุก็อาจใช้ดุลพินิจไม่ตรวจดูได้ คดีนี้โจทก์อ้างส่งสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อซึ่งมีความชัดเจนสามารถตรวจดูลักษณะและหมายเลขธนบัตรได้โดยง่าย ทั้งจำเลยไม่ได้โต้แย้งความไม่ถูกต้องของสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อแต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อประกอบพยานบุคคลและพยานเอกสารอื่นๆ เพื่อเป็นหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานวัตถุ (สำเนาภาพถ่าย) ในคดีอาญา: ดุลพินิจศาลและผลกระทบจากกฎหมายใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 241 เป็นเพียงบทบัญญัติสำหรับวิธีการสืบพยานวัตถุเท่านั้น หาใช่บทบังคับให้สืบพยานวัตถุเสมอไปไม่ หากศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตรวจดูพยานวัถตุก็อาจใช้ดุลพินิจไม่ตรวจดูเสียได้ การที่โจทก์อ้างส่งสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อซึ่งมีความชัดเจนสามารถตรวจดูลักษณะและหมายเลขธนบัตรได้โดยง่าย ทั้งจำเลยก็มิได้โต้แย้งความไม่ถูกต้องของสำเนาภาพถ่ายธนบัตรดังกล่าว ศาลจึงรับฟังสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อประกอบพยานบุคคลและพยานเอกสารอื่น ๆ เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6723/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีอาญา: อำนาจพนักงานสอบสวนในการปรับเปลี่ยนข้อหาตามข้อเท็จจริง
การรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาจำเลยว่ากระทำผิดฐานยักยอกนั้นถือเป็นการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (11) ซึ่งการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานใดเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสอบสวน เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำไปแล้วเสียไป การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาต้องมีพยานหลักฐานใหม่ที่ชัดแจ้งและสำคัญ มิใช่พยานหลักฐานที่มีอยู่แล้ว
คำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ของผู้ร้องอ้างแต่เพียงว่า คำเบิกความของพยานบุคคลโจทก์ 4 ปาก ที่ศาลอาศัยเป็นหลักในการพิพากษาลงโทษผู้ร้องทั้งสี่เป็นคำเบิกความเท็จ ไม่ถูกต้องตรงกับความจริง โดยไม่ปรากฏว่าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าคำเบิกความของพยานดังกล่าวเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริงแต่อย่างใด ทั้งปรากฏในคำฟ้องฎีกาว่าผู้ร้องทั้งสี่เพิ่งจะยื่นฟ้องพยานโจทก์ดังกล่าว 1 ปาก เป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาเบิกความเท็จ แจ้งความเท็จ นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จภายหลังจากที่ผู้ร้องทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องนี้แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5 (1)
ส่วนที่ผู้ร้องทั้งสี่อ้างว่ามีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบแล้วจะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิด ก็ปรากฏตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ว่าพยานบุคคลที่ผู้ร้องอ้างปากหนึ่งเคยเบิกความเป็นพยานจำเลยในคดีนี้ไว้แล้ว ส่วนพยานปากอื่นล้วนเป็นบุคคลที่ผู้ร้องทั้งสี่รู้จักคุ้นเคยเพราะเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้เสียหายเช่นเดียวกับผู้ร้องทั้งสี่บ้าง เป็นญาติพี่น้องกับผู้ร้องทั้งสี่บ้าง และเป็นเพื่อนบ้านของผู้ร้องทั้งสี่ซึ่งอยู่กับผู้ร้องทั้งสี่ในขณะเกิดเหตุบ้าง และพยานเอกสารที่ผู้ร้องอ้างก็เป็นเพียงบันทึกความเห็นและข้อที่พยานดังกล่าวจะมาเบิกความ พยานหลักฐานที่ผู้ร้องทั้งสี่อ้างตามคำร้องจึงเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่ก่อนและผู้ร้องทั้งสี่ทราบดีอยู่แล้ว ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีที่ผู้ร้องทั้งสี่จะอ้างมาเป็นเหตุขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5 (3) ได้ คำร้องของผู้ร้องทั้งสี่จึงไม่มีมูล ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องไต่สวน
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่โดยไม่ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งเพราะอำนาจในการมีคำสั่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนนั้นจะเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งใหม่
ส่วนที่ผู้ร้องทั้งสี่อ้างว่ามีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบแล้วจะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิด ก็ปรากฏตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ว่าพยานบุคคลที่ผู้ร้องอ้างปากหนึ่งเคยเบิกความเป็นพยานจำเลยในคดีนี้ไว้แล้ว ส่วนพยานปากอื่นล้วนเป็นบุคคลที่ผู้ร้องทั้งสี่รู้จักคุ้นเคยเพราะเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้เสียหายเช่นเดียวกับผู้ร้องทั้งสี่บ้าง เป็นญาติพี่น้องกับผู้ร้องทั้งสี่บ้าง และเป็นเพื่อนบ้านของผู้ร้องทั้งสี่ซึ่งอยู่กับผู้ร้องทั้งสี่ในขณะเกิดเหตุบ้าง และพยานเอกสารที่ผู้ร้องอ้างก็เป็นเพียงบันทึกความเห็นและข้อที่พยานดังกล่าวจะมาเบิกความ พยานหลักฐานที่ผู้ร้องทั้งสี่อ้างตามคำร้องจึงเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่ก่อนและผู้ร้องทั้งสี่ทราบดีอยู่แล้ว ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีที่ผู้ร้องทั้งสี่จะอ้างมาเป็นเหตุขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5 (3) ได้ คำร้องของผู้ร้องทั้งสี่จึงไม่มีมูล ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องไต่สวน
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่โดยไม่ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งเพราะอำนาจในการมีคำสั่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนนั้นจะเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีอาญาต้องกระทำก่อนสิ้นกำหนด หากเลยกำหนดแม้มีเหตุเชื่อถือคำบอกเล่าเจ้าหน้าที่ก็ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลาอุทธรณ์เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปถึงวันที่ 6 กันยายน 2545 ดังนั้น การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 12 กันยายน 2545 จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 30 วันต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 โดยมีหมายเหตุท้ายคำร้องว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว" พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ร้องไว้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอว่า อนุญาตให้ขยายเวลาถึงวันที่ 6 กันยายน 2545 ย่อมถือได้ว่าทนายจำเลยผู้ร้องทราบคำสั่งศาลในวันที่ยื่นคำร้องแล้ว ข้อที่อ้างว่าจำเลยเชื่อถือคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ศาลว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 12 กันยายน 2545 ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาดังกล่าว ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง มิใช่มีเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยป่วยเจ็บเพราะเกิดอุบัติเหตุทำให้สมองกระเทือนต้องพักรักษาตัวโดยไม่ปรากฏว่ามีอาการถึงขนาดที่จะทำให้ไม่สามารถทำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มายื่นได้ทันก่อนสิ้นระยะเวลา จึงไม่ถือเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปถึงวันที่ 6 กันยายน 2545 ดังนั้น การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 12 กันยายน 2545 จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 30 วันต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 โดยมีหมายเหตุท้ายคำร้องว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว" พร้อมทั้งลงลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ร้องไว้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอว่า อนุญาตให้ขยายเวลาถึงวันที่ 6 กันยายน 2545 ย่อมถือได้ว่าทนายจำเลยผู้ร้องทราบคำสั่งศาลในวันที่ยื่นคำร้องแล้ว ข้อที่อ้างว่าจำเลยเชื่อถือคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ศาลว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 12 กันยายน 2545 ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาดังกล่าว ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง มิใช่มีเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยป่วยเจ็บเพราะเกิดอุบัติเหตุทำให้สมองกระเทือนต้องพักรักษาตัวโดยไม่ปรากฏว่ามีอาการถึงขนาดที่จะทำให้ไม่สามารถทำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มายื่นได้ทันก่อนสิ้นระยะเวลา จึงไม่ถือเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6453/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา: โทษจำคุกไม่เกินห้าปี และการโต้เถียงดุลพินิจศาล
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 2 ปี 6 เดือน จำนวน 26 กระทง และกระทงละ 6 เดือน จำนวน 6 กระทง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แม้เมื่อรวมโทษจำคุกจำเลยทุกกระทงแล้วศาลล่างทั้งสองให้จำคุกจำเลย 50 ปี ก็เป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) ไม่มีผลต่อข้อจำกัดในการฎีกาของจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตราสารที่ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบ ใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาได้
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือส่วนของตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่ต้องห้ามที่จะนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยโจทก์มีสัญญากู้ยืมมาแสดง ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจึงครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 แล้ว