คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีเดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผลของการไม่จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดิน ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีเดิมที่อยู่ระหว่างพิจารณา
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นสวนยางพารา จำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปจดทะเบียนจำนอง ขอให้บังคับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท และจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยเข้าแย่งทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างคดีและเก็บดอกผลรายได้เป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว ขอให้บังคับให้จำเลยส่งมอบรายได้ให้โจทก์ ดังนี้ ดอกผลรายได้จากการทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทก็คือค่าเสียหายอันเป็นผลเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในคดีเดิมนั้นเอง ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวตามฟ้องคดีนี้ย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท สิทธิการฟ้องคดีนี้เกิดจากมูลกรณีเดียวกับข้ออ้างในคดีเดิมจึงเป็นเรื่องเดียวกันฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผลของการไม่จดทะเบียนสิทธิครอบครอง ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีเดิมที่ยังไม่ถึงที่สุด
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นสวนยางพาราจำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปจดทะเบียนจำนองขอให้บังคับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยเข้าแย่งทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างคดีและเก็บดอกผลรายได้เป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวขอให้บังคับให้จำเลยส่งมอบรายได้ให้โจทก์ดังนี้ดอกผลรายได้จากการทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทก็คือค่าเสียหายอันเป็นผลเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในคดีเดิมนั้นเองซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวตามฟ้องคดีนี้ย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทสิทธิการฟ้องคดีนี้เกิดจากมูลกรณีเดียวกับข้ออ้างในคดีเดิมจึงเป็นเรื่องเดียวกันฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผลของการไม่จดทะเบียนสิทธิครอบครองที่ดิน ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีเดิมที่ยังไม่ถึงที่สุด
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นสวนยางพาราจำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปจดทะเบียนจำนองขอให้บังคับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยเข้าแย่งทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างคดีและเก็บดอกผลรายได้เป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวขอให้บังคับให้จำเลยส่งมอบรายได้ให้โจทก์ดังนี้ดอกผลรายได้จากการทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทก็คือค่าเสียหายอันเป็นผลเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในคดีเดิมนั้นเองซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวตามฟ้องคดีนี้ย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทสิทธิการฟ้องคดีนี้เกิดจากมูลกรณีเดียวกับข้ออ้างในคดีเดิมจึงเป็นเรื่องเดียวกันฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6852/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีแบ่งมรดกเดิมยังไม่สิ้นสุด ห้ามฟ้องคดีใหม่ขอแบ่งมรดกส่วนที่เหลือ
โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนางสาว ด.เคยฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดก1แปลงจากจำเลยขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งที่ดินมรดกที่เหลืออีก3แปลงจากจำเลยแม้ทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับคดีก่อนแต่ก็เป็นเรื่องฟ้องขอแบ่งมรดกรายเดียวกันและมีประเด็นอย่างเดียวกันอันถือได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6780/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมตัดสินแล้ว ห้ามฟ้องคดีประเด็นเดียวกันอีก
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เคยฟ้องร้องกันเกี่ยวกับที่พิพาท ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 924/2528 ของศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวกับคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทเช่นเดียวกันว่า จำเลยที่ 1 ซื้อที่พิพาทมาโดยชอบหรือไม่ และโจทก์หรือจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่พิพาท เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีหมาย-เลขแดงที่ 924/2528 ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ก่อนศาลจะวินิจฉัยคดีหมายเลขแดงที่ 924/2528 ก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาชี้ขาดคดีแล้ว กรณีก็ต้องอยู่ใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5992/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำ: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน – ประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับคดีเดิมที่ยังไม่สิ้นสุด
ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากมารดาโจทก์ ขอให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดิน โจทก์ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ได้รับการยกให้ที่พิพาทจากมารดา แล้วครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อเกิน 10 ปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ นิติกรรมการซื้อขายของจำเลยกับมารดาโจทก์เป็นโมฆะ ระหว่างการพิจารณาคดีนี้ ในคดีเดิมศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย พิพากษาให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกจากที่พิพาท ดังนี้มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่า คู่ความฝ่ายใดเป็นเจ้าของที่พิพาทเป็นประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกัน การที่โจทก์ในคดีนี้ขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอีกในคดีนี้เท่ากับโจทก์ขอให้ศาลมีคำพิพากษาในประเด็นที่ได้วินิจฉัยไปแล้วในคดีซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทคู่ความเดิม: ห้ามเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในคดีใหม่ แม้เปลี่ยนฐานฟ้อง
คดีก่อนจำเลยที่ 2 ได้ฟ้องโจทก์คดีนี้ว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันลักน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษของโจทก์ไป ขอให้จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย เหตุที่จำเลยที่ 2 อ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม คือโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 กับพวกลักน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษของโจทก์ไป โดยจำเลยที่ 2 มิได้กระทำผิดซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 2 ลักน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษของโจทก์ไป ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่าจำเลยที่ 2 ลักน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษของโจทก์ไปหรือไม่ และแม้คดีก่อนจำเลยที่ 2จะเป็นฝ่ายโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์จะเป็นฝ่ายฟ้องจำเลยที่ 2 แต่โจทก์จำเลยในคดีทั้งสองก็เป็นคู่ความเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงเถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำประเด็นกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก แม้คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามกฎหมาย
คดีเดิมจำเลยฟ้องโจทก์คดีนี้ว่า รถยนต์คันพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ขอให้โจทก์คืนให้จำเลยหรือใช้ราคา โจทก์ให้การว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ มีประเด็นว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ท. หรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ว่า รถยนต์คันพิพาทโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกับ ท. ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ท. ด้วยหรือไม่ อันเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องใหม่หลังแก้ไขข้อบกพร่องด้านตัวแทน ไม่ถือเป็นการรื้อร้องคดีเดิม
การจะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ว่า ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดในประเด็นใด โดยอาศัยเหตุอย่างใดแล้ว คู่ความจะรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นนั้น โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ ในคดีก่อนศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์เนื่องจากจำนวนบุคคลที่มาดำเนินคดีแทนโจทก์ไม่ครบจำนวนตามที่โจทก์มอบอำนาจขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 804 ซึ่งถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยหรือไม่นั้น ศาลยังไม่ได้วินิจฉัย ส่วนในคดีหลังโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับผู้รับมอบอำนาจแล้วและดำเนินการฟ้องใหม่เพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยดังนี้การฟ้องคดีหลังจึงไม่มีลักษณะเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน กรณีจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3291/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การจำหน่ายคดีเดิมไม่อำนวยการฟ้องซ้อน แต่ฟ้องแย้งซ้ำเป็นฟ้องซ้อน
เดิมโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้า ค่าเสียหายและค่าชดเชย จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ต่อมาวันที่ 19 ตุลาคม 2535 โจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลแรงงานกลางสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมดออกเสียจากสารบบความ ในวันเดียวกันนั้นโจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีเข้ามาใหม่ในข้อหาเดียวกับฟ้องเดิม ต่อมาวันที่ 3 พฤศจิกายน 2535จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งอ้างว่า การที่ศาลแรงงานกลางสั่งจำหน่ายฟ้องแย้งของจำเลยด้วยเป็นการไม่ชอบ ศาลแรงงานกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์ จากนั้นวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 จำเลยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางสั่งรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและส่งให้ศาลฎีกาวินิจฉัย ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางได้สั่งจำหน่ายคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์จึงไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอีกต่อไปโจทก์ย่อมยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางในวันเดียวกันหลังจากศาลแรงงานกลางสั่งจำหน่ายคดีไปแล้ว ไม่เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1) แต่อย่างใดส่วนที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลแรงงานกลางในวันต่อมานั้นเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่จำหน่ายคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นคดีคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์ การยื่นอุทธรณ์และคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ถือว่าคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาอันจะเป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนเช่นกัน อย่างไรก็ตามในเมื่อต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาจึงทำให้ฟ้องแย้งของจำเลยในคดีนี้ที่ขอให้โจทก์ชำระค่าเสียหายเช่นเดียวกับที่เคยขอในคดีก่อนเป็นฟ้องซ้อนและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนของฟ้องแย้งจึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาด้วย
of 20