คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีใหม่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำ: ศาลรับฟังว่าข้อหาใหม่ต่างจากข้อหาเดิม แม้เคยยื่นเพิ่มเติมฟ้อง แต่ศาลไม่รับ
คดีเสร็จเด็ดขาด ฟ้องซ้ำ โจทก์ฟ้องและยื่นฟ้องเพิ่มเติมอันเป็นข้อหาคนละประเด็นกับฟ้อง แต่ศาลไม่รับฟ้องเพิ่มเติมเมื่อศาลตัดสินคดีเดิมไปแล้ว โจทก์นำฟ้องเพิ่มเติมนั้นมาฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ได้ ไม่เรียกว่าฟ้องซ้ำหรือคดีเสร็จเด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมโทษคดีเก่ากับคดีใหม่ แม้คดีเก่ารอการลงโทษ
เอาโทษที่รอมารวมลงโทษเกิน 20 ปีได้ วิธีพิจารณาอาชญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีเดิมและคดีใหม่มีประเด็นข้อพิพาทและคู่ความเดียวกัน แม้มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
คดีก่อนโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แต่ละคนให้ออกจากที่ดินพิพาท คดีทั้งสามอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์ทั้งสองได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ แม้โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องในทั้งสามคดีดังกล่าว แต่โจทก์ทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกัน การที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นการที่เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมด้วย จึงถือว่าโจทก์ที่ 2 เป็นโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจำเลยที่ 4 ได้เข้าเป็นจำเลยร่วมในทั้งสามคดีตามที่จำเลยแต่ละคดีขอให้ศาลมีหมายเรียก ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 4 ในฐานะจำเลยร่วมอาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้ มีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 4 ถูกฟ้องเป็นจำเลยทั้งสามคดีด้วย จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 4 ได้เข้าเป็นคู่ความในทั้งสามคดีดังกล่าวแล้วเช่นกัน ดังนั้น คู่ความในคดีนี้กับคู่ความในคดีทั้งสามจึงเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน และจำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้ทำนองเดียวกันกับคดีทั้งสามว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เช่าจากจำเลยที่ 4 ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้กับคดีทั้งสามจึงมีอย่างเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือเป็นของจำเลยที่ 4 โจทก์คดีก่อนอาจเรียกค่าเสียหายอย่างที่เรียกคดีนี้ได้จากคดีก่อนอยู่แล้ว การที่โจทก์ทั้งสองนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ในระหว่างที่คดีทั้งสามยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล อันเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันอีก ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีทั้งสาม ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขอโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องดำเนินการในชั้นบังคับคดี มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนที่ พ. มารดาโจทก์จะถึงแก่ความตาย โจทก์และจำเลยเคยร่วมกันทำข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินของ พ. ไว้ในคดีแพ่ง โดยทั้งสองฝ่ายตกลงยกที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพย์ของ พ. ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ประสงค์จะขอรับโอนที่ดินแปลงดังกล่าว แต่จำเลยไม่ยอมดำเนินการให้ ดังนี้ คำฟ้องดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมแล้ว โดยอ้างว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีในคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) และมาตรา 302 วรรคหนึ่ง มิใช่มาฟ้องเป็นคดีใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีใหม่หลังมีคำพิพากษาต่างประเทศ: การกระทำโต้แย้งสิทธิ และการชำระหนี้
โจทก์ทั้งสองบรรยายสภาพแห่งข้อหาในส่วนของจำเลยที่ 1 สรุปความได้ว่า สืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 รับขนสินค้าทางทะเลเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ สินค้าได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่ง โจทก์ที่ 1 กับบริษัท ฮ. จึงยื่นฟ้องจำเลยที่ 1ต่อศาลกรุงอัมสเตอร์ดัมในข้อหาผิดสัญญารับขนของทางทะเล ระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยที่ 1 สมัครใจจดทะเบียนเลิกบริษัททั้งที่ทราบอยู่แล้วว่าข้อพิพาทมูลผิดสัญญารับขนของทางทะเลดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ต่อมาศาลกรุงอัมสเตอร์ดัมมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท ฮ. พร้อมดอกเบี้ยและใช้ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนแก่โจทก์ที่ 1 และบริษัท ฮ. จำเลยที่ 1 ทราบผลคำพิพากษาแล้ว ไม่ดำเนินการชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว ส่วนสภาพแห่งข้อหาที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 คือ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 ทราบผลคำพิพากษาแล้ว แต่เพิกเฉยไม่ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งไม่เคยมีหนังสือแจ้งให้ทราบถึงการเลิกบริษัทของจำเลยที่ 1 และการแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีแต่อย่างใด ส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา คือ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจทำให้โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาจากบริษัท ฮ. ไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อในการประกอบวิชาชีพรับขนของทางทะเลของจำเลยที่ 1 และเป็นการจงใจไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลกรุงอัมสเตอร์ดัม ส่วนจำเลยที่ 2 จงใจละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชำระบัญชีทำให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับชำระหนี้ และมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย เห็นได้ว่า คำฟ้องเป็นการบรรยายรายละเอียดความเป็นมาของการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยเท้าความถึงมูลหนี้ตามสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งศาลกรุงอัมสเตอร์ดัมพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิด ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชี โจทก์ทั้งสองทวงถาม แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ซึ่งเป็นการกระทำหลังจากที่ศาลกรุงอัมสเตอร์ดัมพิพากษาแล้ว ซึ่งเป็นการบรรยายการกระทำของจำเลยทั้งสองอันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทั้งสองที่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ มาตรา 55 แล้ว ประกอบกับตามคำขอบังคับ แม้โจทก์ทั้งสองจะขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระต้นเงินซึ่งมีจำนวนพ้องกับหนี้ตามคำพิพากษาของศาลกรุงอัมสเตอร์ดัม ก็เป็นเพียงฐานการคำนวณความเสียหาย กรณีจึงเป็นการฟ้องคดีขึ้นใหม่โดยอ้างคำพิพากษาของศาลกรุงอัมสเตอร์ดัมในฐานะมูลหนี้หรือหลักฐานประกอบข้ออ้างอย่างหนึ่ง มิใช่เป็นการร้องขอบังคับคดีเพื่อขอให้ศาลไทยออกหมายบังคับคดีให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลกรุงอัมสเตอร์ดัม โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9275/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีสิ้นสุดแล้ว การกระทำรบกวนสิทธิภายหลังเป็นคดีใหม่
ตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี ฉบับลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2542 รายงานต่อศาลชั้นต้นว่า เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2542 โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยังที่ดินพิพาทเพื่อดำเนินการบังคับคดี เมื่อไปถึงพบจำเลยยินยอมยกต้นกล้วยทั้งหมดในที่ดินพิพาทให้ตกเป็นของโจทก์ และโจทก์จะเป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนต้นกล้วยพร้อมปรับที่ดินเอง เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เข้าครอบครองแล้วในวันดังกล่าว ดังนั้น การบังคับคดีจึงเป็นอันเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินพิพาทได้ทันทีนับแต่วันรับมอบที่ดินพิพาท การที่จำเลยนำไม้กระดานไปกองอยู่บนแคร่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินบางส่วนของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่รบกวนสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นใหม่ในภายหลังที่การบังคับคดีได้สิ้นสุดแล้ว โจทก์ชอบที่จะดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9454/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาหลังถอนฟ้องคดีเดิม: โจทก์มีสิทธิฟ้องได้หากคดีใหม่มีประเด็นต่างจากเดิม
โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341, 83 ต่อศาลจังหวัดนางรอง เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ส่วนคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4, 30, 82, 91 ตรี ป.อ. มาตรา 83, 91, 341 กับให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 482,000 บาท แก่ผู้เสียหายต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2544 ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2545 โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต แต่คดีความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวที่โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ โจทก์ร่วมได้ถอนฟ้องไปในภายหลังที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้และภายหลังที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีนี้ จึงมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาด ย่อมไม่มีผลกระทบต่อคดีนี้จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 36 (3) และ 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีเก่ากับคดีใหม่: เมื่อโทษคดีเก่าเป็นการส่งตัวเข้าสถานพินิจ ไม่ใช่การรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง และขอให้บวกโทษจำคุกที่เปลี่ยนเป็นคุมความประพฤติของจำเลยไว้ในคดีของศาลเยาวชนและครอบครัวคดีก่อน เข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ก่อนคดีนี้จำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 14 ปี 6 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ หากแต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 (1) ซึ่งเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน มีกำหนด 5 ปี หลังจากนั้นภายในกำหนดเวลาที่ถูกคุมความประพฤติซึ่งเป็นเงื่อนไขในการปล่อยตัวจำเลยในคดีก่อน จำเลยกลับมากระทำผิดในคดีนี้อีกหลังมีอายุพ้นเกณฑ์การเป็นเยาวชน ซึ่งชอบที่จะว่ากล่าวไปตามวิธีการที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะใน พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ไม่อาจนำมาเทียบเคียงว่ากรณีเช่นนี้ของจำเลยเป็นการกลับมากระทำความผิดภายในกำหนดเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 58 ฉะนั้น แม้คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษาให้ลงโทษจำคุกก็ไม่อาจนำโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้
of 6