คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ควบคุมอาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาโจทก์ในการลงโทษฐานฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร แม้ไม่ได้อ้างบทลงโทษโดยตรง
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ในตอนต้นแล้วว่า จำเลยทั้งสามกระทำผิดหลายกรรมต่างกันและได้บรรยายการกระทำของจำเลยทั้งสามเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสามฝ่าฝืนมาตรา 31 ประกอบด้วยมาตรา 69,70 ไว้ในคำฟ้องข้อ ก. กับได้บรรยายการกระทำของจำเลยทั้งสามที่ฝ่าฝืนมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 69,70 ไว้ในคำฟ้องข้อ ข. และในคำขอท้ายฟ้องก็ได้อ้างมาตรา 40,69,70 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติว่า การกระทำตามคำฟ้องข้อ ข. นั้นเป็นความผิดลงไว้ กับขอให้ปรับจำเลยทั้งสามเป็นรายวันตามกฎหมายซึ่งเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรา 67 ไว้ด้วย แม้โจทก์จะมิได้อ้างมาตรา 67 อันเป็นบทลงโทษไว้ด้วยก็เห็นเจตนาได้ว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องข้อ ข. ซึ่งจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพแล้วนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสาม หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองไม่ติดตั้งป้ายแสดง รายการในที่ดินที่ทำการปลูกสร้าง มิได้ฟ้องว่าติดตั้งป้ายไม่ถูกต้อง จึงไม่มีเหตุและความจำเป็นที่จะต้องบรรยายขนาดความกว้างยาวของป้ายและรายการตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 100 ฟ้องโจทก์เพียงบรรยายว่าจำเลยทั้งสองไม่ติดตั้งป้ายในที่ดินที่ทำการปลูกสร้างก็ครบองค์ประกอบแห่งความผิดและทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม อาคารที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างติดกับซอยซึ่งเป็นทางสาธารณะมีผิวจราจรกว้าง 7 เมตร ต่อจากผิวจราจรเป็นทางเท้าด้านหน้าอาคารกว้าง 2 เมตร รวมเป็น 9 เมตรเสาอาคารที่ก่อสร้างด้านหน้าอยู่ห่างจากขอบถนนเพียง 2 เมตรเมื่อตามแบบแปลนแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตกำหนดระยะที่ตั้งของอาคารห่างจากขอบถนน 3.15 เมตร อาคารที่ก่อสร้างจึงมีระยะที่ตั้งถึงขอบเขตที่สาธารณะผิดไปจากแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตถึงร้อยละ 36.50 เกินกว่าข้อยกเว้นที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 12(พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 1 จึงเป็นการก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาต กฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 1(3) เป็น เรื่องการดัดแปลงอาคารซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิมจะนำมาใช้กับการก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ไม่ได้ ตามแบบแปลนแผนผังบริเวณอาคารตึกแถวแต่ละห้องที่ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้างมีความกว้างห้องละ 4.50 เมตรเมื่อจำเลยทั้งสองก่อสร้างทางด้านหลังห้องหนึ่ง ๆ ยื่นออกไปอีก 0.90 เมตร ทำให้ห้องมีความกว้างเป็น 5.40 เมตรความกว้างของแต่ละห้องที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละยี่สิบเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเกินร้อยละห้า จำเลยจึงไม่ได้รับยกเว้นให้ทำได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 12(พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 2 จำเลยได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารซึ่งจะต้องเว้นที่ว่างด้านหลังอาคารโดยปราศจากสิ่งปกคลุม .05 ถึง 2.85 เมตรจำเลยก็ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ แต่จำเลยทำการก่อสร้างอาคารโดยเว้นที่ว่างหลังอาคารเพียง 1.50 ถึง 2 เมตรและก่อสร้างด้านหลังอาคารออกไปปกคลุมตั้งแต่ชั้นสองขึ้นไปตลอดแนวอาคาร จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต จะนำข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 75 วรรคหนึ่งมาใช้บังคับไม่ได้เพราะข้อบัญญัติดังกล่าวใช้ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างชิดเขตที่ดินต่างผู้ครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารชั่วคราวบนที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาตเข้าข่ายเป็นการก่อสร้างตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 4 ให้คำนิยามว่า คำว่า อาคารหมายถึง ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ จำเลยปลูกเพิงเป็นที่อยู่อาศัยและขายเครื่องดื่มและสินค้าพื้นเมืองขึ้นชั่วคราวในที่ดิน ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้เพิงดังกล่าวใช้วัสดุค้ำหลังคาไว้มีลักษณะเป็นการชั่วคราวสามารถรื้อถอนได้โดยง่ายก็มีสภาพเป็นอาคารตามความหมายที่กฎหมายบัญญัติไว้ส่วนคำว่า ก่อสร้างนั้นพ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 4 ให้คำนิยามว่า หมายถึงสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด เมื่อ พ.ร.บ. ดังกล่าวให้คำนิยามไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมจะนำเอาความหมายตามพจนานุกรมมาใช้แก่คดีนี้ไม่ได้ จำเลยสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด แม้จะเป็นการชั่วคราวก็เป็นการก่อสร้างอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารชั่วคราวบนที่สาธารณะ: นิยาม 'อาคาร' และ 'ก่อสร้าง' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 คำว่าอาคารหมายความถึง ตึก บ้าน เรือน โรง แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ จำเลยปลูกเพิงหลังคามุงสังกะสีและตีฝาด้วยสังกะสี ขนาดกว้าง6 เมตร ยาว 6 เมตร เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการค้าขายขึ้นในที่ดินในเขตเทศบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะใช้วัสดุค้ำหลังคาไว้ อันมีลักษณะเป็นการชั่วคราวสามารถรื้อถอนได้โดยง่ายก็ตาม ก็มีสภาพเป็นอาคารตามความหมายที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ส่วนคำว่าก่อสร้าง นั้น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 4 ก็ได้ให้คำนิยามไว้ว่า หมายถึงสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คำนิยามไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมจะนำเอาความหมายตามพจนานุกรมมาใช้ไม่ได้ การที่จำเลยสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมดจึงเป็นการก่อสร้างอาคารแม้จะเป็นการชั่วคราวก็ไม่อาจกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดกฎหมายควบคุมอาคารและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ศาลยืนตามคำสั่งรื้อถอน
คำสั่งกรุงเทพมหานครที่ออกมาโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับตลอดมา แม้ต่อมาพระราชบัญญัติ ดังกล่าวจะถูกยกเลิกโดยมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ออกมาใช้บังคับแต่ก็มิได้มีการยกเลิกคำสั่งหรือมีคำสั่งใหม่จึงต้องเป็นไปตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ที่ให้นำคำสั่งดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม อาคารประเภทควบคุมการใช้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนจึงจะทำการปลูกสร้างได้ จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนหนึ่ง แต่จำเลยก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนอื่น ซึ่งมีรูปแบบผิดไปในสาระสำคัญโดยไม่รับใบอนุญาตให้ก่อสร้าง จึงเป็นการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารให้ผิดไปจากเดิมโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 หมวด 7 ข้อ 81 กำหนดว่า อาคารที่ก่อสร้างเพื่อใช้เก็บของสำหรับพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมไม่น้อยกว่า 10 เมตรสองด้าน จำเลยก่อสร้างอาคารโดยมีด้านหน้าเพียงด้านเดียวมีที่ว่างเกิน 10 เมตร ส่วนอาคารด้านหลังห่างแนวเขตที่ดินของจำเลยไม่เกิน 2 เมตร และมีการก่อสร้างรั้วคอนกรีตไว้บนแนวเขตที่ดินดังกล่าว แม้จำเลยเช่าที่ดินด้านหลังอาคารออกไปกว้าง 7 เมตร แต่ก็มีผู้อื่นปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามา 2 เมตร สภาพดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่ามีที่ว่าง10 เมตร อาคารที่จำเลยก่อสร้างจึงผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย ไม่ขาดอายุความ เพราะเป็นกฎหมายพิเศษคุ้มครองความปลอดภัยประชาชน
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 หากแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติ เจ้าของต้องรื้อถอนตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน จำเลยต่อสู้ว่าตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยต่อเติมอาคารนั้น จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้ว คำให้การของจำเลยเท่ากับจำเลยยอมรับตามฟ้องว่าได้กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 22 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดดัดแปลงอาคาร เว้นแต่เจ้าของอาคารจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น กับยอมรับว่าจำเลยฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 80 ซึ่งบัญญัติให้อาคารที่โจทก์ต่อเติมต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า10 เมตรทุกด้าน
เมื่อจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจะต้องรื้อถอน กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารยังไม่เสร็จ และจำเลยจะต้องระงับการก่อสร้าง กฎหมายที่นำมาปรับคือมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะฟ้องคดีต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารตามความในวรรคสามนั้นต้องผ่านขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารตามในวรรคหนึ่ง แล้วผู้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ส่งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และจำเลยได้รับหนังสือแล้วจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกรณี และเมื่ออาคารที่จำเลยต่อเติมไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานครดังกล่าวได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการตามขั้นตอนแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารมาตรา 42 ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดกรรมเดียวและกรรมต่างกัน
การที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในขณะที่ใบอนุญาตให้ก่อสร้างยังไม่หมดอายุนั้น เป็นการกระทำความผิดสำเร็จไปแล้วกรรมหนึ่ง และเมื่อครบกำหนดในใบอนุญาตให้ก่อสร้างจำเลยไม่ต่อใบอนุญาตก่อสร้าง แต่ยังคงก่อสร้างต่อไปอีก อันเป็นการก่อสร้างในขณะที่ใบอนุญาตให้ก่อสร้างหมดอายุ จึงเป็นการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65,69 และ71 อีกกรรมหนึ่ง จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 ให้การปฏิเสธทั้งในชั้นสอบสวนและในชั้นศาล ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ ซึ่งเป็นเหตุเฉพาะตัว ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษให้จึงไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอในฟ้องฎีกาของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ควบคุมงานละเลยหน้าที่ก่อสร้างผิดแผน ทำให้มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานเจ้าพนักงานท้องถิ่นอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารได้โดยระบุว่ามีจำเลยทั้งสองเป็นผู้ควบคุมงาน จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องไปควบคุมการก่อสร้าง แต่ละเลยไม่ไปควบคุมการก่อสร้างจนเป็นเหตุให้มีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจะถือว่าการก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว มิใช่เป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 วรรคสองตอนท้ายไม่ได้ แต่ต้องถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามมาตรา31 วรรคสองตอนแรก ถือว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกระทำความผิดฐานจัดให้มีการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตดังฟ้อง ตามหนังสือขอก่อสร้างอาคาร หนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานของจำเลยทั้งสองและใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารระบุว่าเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์-พักอาศัยและอาคารที่เกิดเหตุเป็นตึกแถวสามชั้นซึ่งปกติใช้เพื่อการพาณิชยกรรมได้ ถือได้ว่าอาคารที่เกิดเหตุเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อาคารผิดกฎหมายและการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ก่อนใช้จะต้องได้รับใบรับรองการก่อสร้างก่อน การที่จำเลยเปิดใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ตั้งแต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จจำเลยจึงมีความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่มีใบรับรองการก่อสร้าง และเมื่อเจ้าพนักงานงานท้องถิ่นมีคำสั่งโดยชอบให้จำเลยระงับการใช้ จำเลยยังคงฝ่าฝืนใช้อาคารต่อไปจึงมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองการก่อสร้าง
of 10