พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291-4295/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานด้วยเหตุผลทางธุรกิจ: การพิจารณาความจำเป็นและความเป็นธรรม
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นประการสำคัญ แม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ผู้ถูกเลิกจ้างเดือดร้อนแต่ก็เป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างดำรงอยู่ต่อไป ย่อมเป็นสาเหตุที่จำเป็นแก่การเลิกจ้างแล้วแม้นายจ้างมิได้ยุบหน่วยงานที่ผู้ถูกเลิกจ้างทำงานอยู่ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 ประสบภาวะขาดทุน ไม่สามารถดำเนินกิจการไปได้โดยราบรื่น จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายด้วยการเลิกจ้างพนักงานเมื่อเลิกจ้างก็ได้จ่ายเงินบำเหน็จ ค่าชดเชยให้ตามกฎหมายถือไม่ได้ว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและไม่เป็นการฝ่าฝืนบันทึกผลการเจรจาข้อเรียกร้องซึ่งห้ามจำเลยที่ 1 เลิกจ้างพนักงานและลูกจ้างไม่ว่ากรณีใดๆมิฉะนั้นแล้วแม้จำเลยที่ 1 ประสบภาวะขาดทุนมีหนี้สินมากจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ กิจการหยุดชะงักงันโดยสิ้นเชิงจำเลยที่ 1 ก็ยังจะต้องรับภาระจ้างพนักงานและลูกจ้างในจำนวนเดิม และไม่สามารถแก้ไขวิกฤติการณ์ จึงย่อมเป็นไปไม่ได้ โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า 'สำเนาให้จำเลยสั่งวันฟ้อง' แต่หลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้สั่งคำร้องขอแก้ไขฟ้องดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความสามารถในการต่อสู้คดีของจำเลย: ความจำเป็นในการเรียกแพทย์ผู้ตรวจ
การที่ศาลจะเรียกพนักงานแพทย์มาให้ถ้อยคำหรือให้การถึงผลการตรวจในกรณีที่มีเหตุควรเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 ก็ต่อเมื่อพนักงานแพทย์ได้ทำการตรวจเสร็จและสามารถวินิจฉัยโรคได้. แต่เมื่อพนักงานแพทย์ได้ตรวจร่างกายของจำเลยหลายครั้งแล้ว แต่ไม่สามารถให้คำวินิจฉัยโรคได้ จึงไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่ศาลจะต้องเรียกให้แพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำอีก ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นนัดพร้อมกลับปรากฏข้อเท็จจริง ต่อหน้าศาลว่า จำเลยสามารถเข้าใจคำถามและตอบได้ตรงคำถาม ไม่มีกิริยาหรืออาการแสดงว่าจำเลยวิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดผู้จัดเก็บผลประโยชน์มรดก: ศาลฎีกาพิจารณาความจำเป็นและเหตุผลในการแต่งตั้ง
คำร้องของโจทก์มิได้อ้างมาตรา แม้จะกล่าวว่าการกระทำของจำเลยเป็นการยักย้ายทรัพย์มรดกไปเสียให้พ้นจากอำนาจศาลเพื่อประวิงหรือขัดขวางแก่การบังคับตามคำบังคับของศาลอันมีลักษณะคล้ายกับเป็นการร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 ก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้ขอให้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตาม มาตรา254(1)(2) หรือ (3) โดยโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา อันเป็นการขอตาม มาตรา 264การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำร้องของโจทก์เป็นการร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องตาม มาตรา 264จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507-3509/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาพักร้อนแทนวันลาป่วย: นายจ้างต้องพิจารณาสภาพความจำเป็นของผู้ป่วยเป็นรายกรณี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีความว่า ในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม ลูกจ้างจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดพักผ่อน เว้นแต่จะใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยลากิจที่จำเป็นจริง ๆ นั้น ไม่อาจแปลได้ว่า เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของนายจ้างที่จะกำหนดเอาเองว่ากรณีใดร้ายแรงถึงขนาดที่จะถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นจริง ๆ หรือไม่ หากแต่จะต้องพิจารณาถึงสภาพความจำเป็นของผู้ลากิจ ลาป่วยเป็นเรื่อง ๆ ไป ดังนี้ เมื่อจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยได้ตามความเป็นจริงที่โจทก์อ้าง เพราะโจทก์แต่ละคนปวดศีรษะอย่างแรง เป็นไข้ท้องเสียอย่างแรง และเวียนศีรษะ เห็นได้ว่าเป็นความจำเป็นจริง ๆ อันโจทก์แต่ละคนย่อมไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อตกลงดังกล่าวที่โจทก์ทุกคนจะพึงใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยของโจทก์แต่ละคนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507-3509/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาพักร้อนแทนวันลาป่วย: พิจารณาความจำเป็นจริงเป็นรายกรณี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีความว่า ในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม ลูกจ้างจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดพักผ่อน เว้นแต่จะใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยลากิจที่จำเป็นจริง ๆนั้น ไม่อาจแปลได้ว่า เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของนายจ้างที่จะกำหนดเอาเองว่ากรณีใดร้ายแรงถึงขนาดที่จะถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นจริง ๆ หรือไม่ หากแต่จะต้องพิจารณาถึงสภาพความจำเป็นของผู้ลากิจ ลาป่วยเป็นเรื่อง ๆ ไป ดังนี้ เมื่อจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยได้ตามความเป็นจริงที่โจทก์อ้าง เพราะโจทก์แต่ละคนปวดศีรษะอย่างแรง เป็นไข้ท้องเสียอย่างแรง และเวียนศีรษะ เห็นได้ว่าเป็นความจำเป็นจริง ๆ อันโจทก์แต่ละคนย่อมไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อตกลงดังกล่าวที่โจทก์ทุกคนจะพึงใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยของโจทก์แต่ละคนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณาประกาศจับผู้ถูกออกหมายจับ แม้เป็นความจริง แต่เป็นการหมิ่นประมาทหากไม่จำเป็นและใส่ความในเรื่องส่วนตัว
จำเลยนำข้อความไปลงในหนังสือพิมพ์รายวันว่า 'ประกาศจับ ส. (โจทก์)ในข้อหาหรือฐานความผิดยักยอกทรัพย์ ผู้ใดพบเห็นหรือชี้แนะได้ให้นำส่งสถานีตำรวจ ช. (ผู้เสียหาย)' และลงรูปโจทก์ไว้ข้างข้อความดังกล่าวโดยปรากฏว่าขณะจำเลยนำข้อความตามฟ้องและรูปโจทก์ไปลงโฆษณานั้น จำเลย ก็ทราบว่าโจทก์รับราชการมีที่อยู่ที่แน่นอน ซึ่งจำเลย อาจนำเจ้าพนักงานไปจับกุมโจทก์ตามหมายจับได้โดยง่ายไม่มีความจำเป็นต้องลงโฆษณาประกาศจับทางหนังสือพิมพ์และข้อความที่ลงโฆษณาย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนทุจริต การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง เรื่องที่จำเลยลงโฆษณาก็เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน แม้พนักงานสอบสวนจะออกหมายจับโจทก์จริง การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานศุลกากรในการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย พร้อมเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินการ
เจ้าพนักงานศุลกากรซึ่งมีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) ดังนั้น เมื่อจับกุมผู้กระทำผิดแล้ว จึงมีอำนาจควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้เท่าที่จำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87
จำเลยกับพวกจับโจทก์ได้พร้อมด้วยทองคำแท่งเมื่อเวลาประมาณ 18 นาฬิกา ต้องทำบันทึกการตรวจค้นและจับกุม ต้องตรวจชั่งทองคำแท่งของกลางและประเมินราคาและทำบันทึกรายงานต่ออธิบดีกรมศุลกากรเพื่อให้เปรียบเทียบปรับและงดฟ้องโจทก์ตามคำร้องของโจทก์ ทองคำแท่งของกลางก็มีจำนวนมาก การที่จำเลยควบคุมตัวโจทก์ไว้เป็นเวลาประมาณ 21 ชั่วโมงนับแต่เวลาจับกุม จึงไม่เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีจำเลยจึงมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ
จำเลยกับพวกจับโจทก์ได้พร้อมด้วยทองคำแท่งเมื่อเวลาประมาณ 18 นาฬิกา ต้องทำบันทึกการตรวจค้นและจับกุม ต้องตรวจชั่งทองคำแท่งของกลางและประเมินราคาและทำบันทึกรายงานต่ออธิบดีกรมศุลกากรเพื่อให้เปรียบเทียบปรับและงดฟ้องโจทก์ตามคำร้องของโจทก์ ทองคำแท่งของกลางก็มีจำนวนมาก การที่จำเลยควบคุมตัวโจทก์ไว้เป็นเวลาประมาณ 21 ชั่วโมงนับแต่เวลาจับกุม จึงไม่เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีจำเลยจึงมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความจำเป็นในการขับเรือส่งคนร้ายภายใต้สถานการณ์ถูกข่มขู่: การยกเว้นความรับผิดทางอาญาตามมาตรา 67(1)
จำเลยขับเรือรับผู้โดยสารไปยังที่เกิดเหตุโดยไม่ทราบว่าเป็นคนร้ายจะไปฆ่าผู้ตาย หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยจำต้องขับเรือไปส่งคนร้ายด้วยความจำเป็น เพราะอยู่ภายใต้อำนาจของคนร้ายซึ่งจำเลยไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67(1) เมื่อส่งคนร้ายแล้วก็ไปแจ้งความแก่ผู้ใหญ่บ้านทันทีดังนี้ จำเลยไม่ต้องรับโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนการสืบพยาน: ศาลฎีกาพิจารณาเหตุผลความจำเป็นของทนายจำเลยควบคู่กับการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อความยุติธรรม
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าต้องไปติดต่อธุระที่มีความจำเป็นและสำคัญแม้จะไม่ยิ่งไปกว่าที่ทนายจำเลยต้องมาดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลซึ่งนัดไว้ก่อนและควรมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีด้วยตนเองแต่เมื่อพิเคราะห์ถึงคำให้การและพฤติการณ์ตามฟ้องสำนวนประกอบด้วยแล้ว ควรให้เลื่อนการสืบพยานโจทก์ออกไปเพื่อให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การอ้างเหตุความจำเป็นต้องยกขึ้นว่ากันตั้งแต่ศาลชั้นต้น และต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน
จำเลยทั้งสองถูกฟ้องว่ากระทำการปิดกั้นและทดน้ำในลำน้ำอันเป็นการทำให้เสื่อมประโยชน์แก่ทางน้ำสาธารณะ จำเลยทั้งสอง ให้การและนำสืบทำนองเดียวกันว่าได้กระทำด้วยความจำเป็นเพื่อให้จำเลยและคนงานมีน้ำกินน้ำใช้ เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาข้อกฎหมายอ้างว่ากระทำไปด้วยความจำเป็น. โดยยกข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวว่าเพื่อนำน้ำเข้าใช้ในกิจการเหมืองแร่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนและมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้น ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามกฎหมาย