คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความประมาทเลินเล่อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประเมินความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่แต่ละฝ่ายเพื่อแบ่งแยกความรับผิดชอบ
ความประมาทเลินเล่อของคนขับรถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ที่ไปชนท้ายรถคันที่ 3 ได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นความผิดของคนขับรถคันที่ 4 ที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่ตนก่อให้เกิดขึ้นนั้น เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากการที่รถคันที่ 5 ซึ่งจำเลยเป็นผู้ขับโดยประมาทไปชนท้ายรถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ผู้ขับขี่รถคันที่ 4 ไม่ได้มีส่วนร่วมทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 4 ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ ดังนั้น ค่าเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับจะนำไปอาศัยพฤติการณ์ที่ผู้ขับรถคันที่ 4 ไปกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถคันที่ 3 มารวมพิจารณาว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรนั้นย่อมไม่ได้ ความเสียหายที่รถคันที่ 4 ได้รับจะต้องถือว่าเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยผู้ขับรถคันที่ 5 แต่เพียงฝ่ายเดียว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดจากหน้าที่สัญญาจ้างแรงงาน, การนั่งพิจารณาคดีของศาลแรงงาน, ความประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคท้ายอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี โดยไม่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างร่วมเป็นองค์คณะในการนั่งพิจารณา อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่เสียหายมิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วัน จำเลยจะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาของศาลแรงงานกลางไม่ชอบหาได้ไม่ คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ จำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้น เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย: ผู้ขับไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย ไม่ถือเป็นความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย
ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้ขับรถคันเกิดเหตุที่ เอาประกันภัยไว้กับผู้รับประกันภัย แต่บุตรของผู้เอาประกันภัยเป็นผู้นำรถคันดังกล่าวไปใช้และเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าเหตุได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงไม่พ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5040/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลยทำให้จำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง
ทนายจำเลยมาศาลภายหลังที่ศาลได้ทำการชี้สองสถานและกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์โดยทนายจำเลยมิได้ตรวจดูรายงานกระบวนพิจารณาเพียงแต่สอบถามวันเวลานัดสืบพยานโจทก์จากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย ต้องถือว่าจำเลยทราบกระบวนพิจารณาและวันนัดสืบพยานโจทก์ของศาลแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการติดตั้งสายไฟฟ้าทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต และสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตร
สายไฟฟ้าซึ่งเป็นสายดินจะต้องต่อลงดินทุกระยะ 200 เมตรและปลายสายจะต้องต่อลงดินด้วย เพื่อให้สายดินมีค่าเป็นศูนย์กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเข้าไม่ได้ ขณะเกิดเหตุสายไฟฟ้าที่พาดเสาไฟฟ้าทั้ง 22 ต้น เป็นระยะทางถึง 840 เมตร มีสายดินต่อลงดินเพียงแห่งเดียวคือที่เสาไฟฟ้าต้นที่ 22 จึงไม่ทำให้สายดินมีค่าเป็นศูนย์ กระแสไฟฟ้าย่อมไหลผ่านเข้าไปได้ การที่สายไฟฟ้าซึ่งเป็นสายดินพาดระหว่างเสาไฟฟ้าต้นที่ 17 กับต้นที่ 18 ที่ปักอยู่ในสวนของผู้ตายได้ขาดตกลงมาในท้องร่องซึ่งมีน้ำขัง ผู้ตายไปเปิดน้ำเข้าสวนถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ทำการพาดสายไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีบุตรด้วยกัน 3 คน ขณะผู้ตายยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้อุปการะโจทก์และบุตรการที่จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทำให้บุตรโจทก์ขาดไร้อุปการะ จึงขอเรียกค่าขาดไร้อุปการะของบุตรโจทก์ เช่นนี้ มีความหมายพอเป็นที่เข้าใจได้ว่าบุตรโจทก์ขอเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสิทธิของตนแต่บุตรโจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์ยังฟ้องคดีเองไม่ได้ โจทก์ซึ่งเป็นมารดาและผู้แทนโดยชอบธรรมจึงฟ้องแทน ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องทั้งในนามตนเองและในนามบุตรทั้งสามโดยปริยาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของการไฟฟ้าทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต และสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตร
สายไฟฟ้าซึ่งเป็นสายดินจะต้องต่อลงดินทุก ๆ ระยะ 200 เมตรและปลายสายจะต้องต่อลงดินด้วย เพื่อให้สายดินมีค่าเป็นศูนย์จริง ๆกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเข้าไม่ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะเกิดเหตุสายไฟฟ้าที่พาด เสา ไฟฟ้าทั้ง 22 ต้น เป็นระยะทางถึง 840 เมตรมีสายดินต่อลงดินเพียงแห่งเดียวคือที่เสาไฟฟ้าต้นที่ 22 จึงไม่ทำให้สายดินมีค่าเป็นศูนย์ กระแสไฟฟ้าย่อมไหลผ่านเข้าไปได้ การที่สายไฟฟ้าซึ่งเป็นสายดินพาด ระหว่างเสาไฟฟ้าต้นที่ 17 กับต้นที่ 18ปักอยู่ในสวนของผู้ตายได้ขาดตกลงมาในท้องร่อง ซึ่งมีน้ำขัง ผู้ตายไปเปิดน้ำเข้าสวนถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตาย จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ทำการพาด สายไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีบุตรด้วยกัน 3 คน ขณะผู้ตายยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้อุปการะโจทก์และบุตร การที่จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทำให้บุตรโจทก์ขาดไร้อุปการะ จึงขอเรียกค่าขาดไร้อุปการะของบุตรโจทก์เช่นนี้ มีความหมายพอเป็นที่เข้าใจได้ว่าบุตรโจทก์ขอเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสิทธิของตนนั่นเอง แต่เพราะเหตุที่บุตรโจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์ยังฟ้องคดีเองไม่ได้ โจทก์ซึ่งเป็นมารดาและผู้แทนโดยชอบธรรมจึงฟ้องแทน ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องทั้งในนามตนเองและในนามบุตรทั้งสามโดยปริยาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการสหกรณ์ต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อและการคาดเห็นความเสียหาย
แม้ไม่มีระเบียบห้ามคณะกรรมการของสหกรณ์ลงมติให้กรรมการผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อในเอกสารเบิกเงินไว้ล่วงหน้าก็ถือได้เพียงว่าจำเลยมิได้กระทำละเมิดด้วยการจงใจกระทำโดยผิดกฎหมายเท่านั้น แต่การที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ยังต้องวินิจฉัยต่อไปด้วยว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ และความเสียหายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยหรือไม่ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำหรือปฏิบัติอย่างไรบ้างคำว่าหน้าที่ในที่นี้หาจำเป็นต้องเป็นหน้าที่ที่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้โดยแจ้งชัดไม่ จำเลยที่ 3 ถึงที่ 15 เป็นกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์ต้องปฏิบัติหน้าที่ภายในกรอบเช่นวิญญูชนผู้อยู่ในฐานะเช่นจำเลยพึงปฏิบัติโดยต้องกระทำการด้วยความระมัดระวังในอันที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 15ได้ร่วมกันมีมติให้กรรมการผู้รับมอบอำนาจ 2 ใน 3 ลงลายมือชื่อในใบเบิกเงินที่ยังไม่กรอกข้อความไว้ล่วงหน้าจนเป็นเหตุให้มีผู้นำใบเบิกเงินดังกล่าวไปใช้ถอนเงินของโจทก์จากธนาคารแล้วเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ แต่ส่วนที่ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 15 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยคือเป็นความเสียหายซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าย่อมจะเกิดขึ้นได้จากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของตน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 15ไม่อาจคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าจะเกิดความเสียหายเช่นที่โจทก์ได้รับในคดีนี้ขึ้นได้เลย ความเสียหายของโจทก์จึงหาใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 15ไม่ จำเลยที่ 3 ถึงที่ 15 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐต่อความเสียหายทางการเงินจากความประมาทเลินเล่อ
โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล อธิบดีซึ่งเป็นผู้แทนของกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องคดีแทน ดังนี้อากรสำหรับการมอบอำนาจซึ่งกรมโจทก์เป็นฝ่ายที่ต้องเสียจึงเป็นอันไม่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 121 โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 3 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 ให้มีหน้าที่และรับผิดชอบโดยตรงในด้านการเงินและทะเบียนยานพาหนะ แต่จำเลยที่ 3 ไม่เคยตรวจตราอย่างใกล้ชิดในการเก็บรักษาเงิน และไม่ดูแลในการนำเงินส่งคลังให้เป็นไปตามระเบียบเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฉวยโอกาสยักยอกเงินของทางราชการไป จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 4 มีตำแหน่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธร ย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบงานในหน่วยราชการที่ตนมีหน้าที่ควบคุมอยู่ แม้จะมอบหมายหน้าที่การเงินให้จำเลยที่ 3 ดูแลแทน จำเลยที่ ก็ยังต้องมีหน้าที่ดูแลมิให้เกิดการเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 4 ปล่อยละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบในการรักษาเงินโดยไม่เก็บรักษากุญแจไว้กับตนกลับมอบให้จำเลยที่ 3 ซึ่งถือกุญแจอยู่อีก 1 ดอกเ เป็นการเปิดช่องให้มีการยักยอกเงินสะดวกขึ้น เมื่อมอบหมายให้จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่แทนตนก็มิได้ตรวจตราควบคุมดูแลการนำเงินเข้าและออกจากที่เก็บตลอดจนมิได้ตรวจสอบทะเบียบเงินยืมและเร่งรัดให้มีการส่งใบสำคัญหักล้างเงินยืมตามระเบียบจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันปลอมใบยืมและเบิกเงินไปโดยผิดระเบียบถึง 29 ครั้ง ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อ เมื่อเกิดความเสียหายอันเป็นผลของความประมาทเลินเล่อดังกล่าวจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการต่อการยักยอกเงินของทางราชการจากความประมาทเลินเล่อและการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล อธิบดีซึ่งเป็นผู้แทนของกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องคดีแทน ดังนี้อากรสำหรับการมอบอำนาจซึ่งกรมโจทก์เป็นฝ่ายที่ต้องเสียจึงเป็นอันไม่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 121 โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 ให้มีหน้าที่และรับผิดชอบโดยตรงในด้านการเงินและทะเบียนยานพาหนะ แต่จำเลยที่ 3 ไม่เคยตรวจตราอย่างใกล้ชิดในการเก็บรักษาเงิน และไม่ดูแลในการนำเงินส่งคลังให้เป็นไปตามระเบียบเป็นการประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฉวยโอกาสยักยอกเงินของทางราชการไป จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 4 มีตำแหน่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธร ย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบงานในหน่วยราชการที่ตนมีหน้าที่ควบคุมอยู่ แม้จะมอบหมายหน้าที่การเงินให้จำเลยที่ 3 ดูแลแทน จำเลยที่ 4 ก็ยังต้องมีหน้าที่ดูแลมิให้เกิดการเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 4 ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบในการรักษาเงินโดยไม่เก็บรักษา กุญแจไว้กับตนกลับมอบให้จำเลยที่ 3 ซึ่งถือกุญแจอยู่อีก 1 ดอก เป็น การเปิดช่องให้มีการยักยอกเงินสะดวกขึ้นเมื่อมอบหมายให้จำเลยที่ 3ปฏิบัติหน้าที่แทนตนก็มิได้ตรวจตราควบคุมดูแลการนำเงินเข้าและออกจากที่เก็บตลอดจนมิได้ตรวจสอบทะเบียนเงินยืมและเร่งรัดให้มีการส่งใบสำคัญหักล้างเงินยืมตามระเบียบจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ร่วมกันปลอมใบยืมและเบิกเงินไปโดยผิดระเบียบถึง 29 ครั้ง ถือว่า เป็นความประมาทเลินเล่อ เมื่อเกิดความเสียหายอันเป็นผล ของความประมาทเลินเล่อดังกล่าวจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4568/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเจ้าของเช็คพิพาท & ความประมาทเลินเล่อธนาคารใช้เช็คขีดคร่อม
โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของเช็คซึ่งธนาคาร ร.ในต่างประเทศมีคำสั่งให้ธนาคารจำเลยใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ห้างฯ อ.เพื่อชำระหนี้ค่าตั๋ว โดยสารเครื่องบิน แต่ห้างฯ อ. ไม่ได้รับเช็คดังกล่าว โจทก์จึงได้ส่งเช็คฉบับใหม่มาชำระให้แก่ห้างฯ อ.อีกฉบับหนึ่ง ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้เงินตามเช็คฉบับแรกซึ่งมีผู้ปลอมตรา ประทับและลายมือชื่อผู้จัดการห้างฯ อ. มาเรียกเก็บเงินไปแล้วดังนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าของเช็คพิพาทผู้มีสิทธิในเงินจำนวนที่สั่งจ่ายตามเช็คซึ่งยังไม่ตก ไปถึงมือผู้รับเงินตามความประสงค์ของโจทก์ ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ธนาคารจำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทอันเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะแก่ธนาคาร ส. ซึ่งส่งเช็คมาเรียกเก็บเงิน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเช็คขีดคร่อมที่ส่งมาเรียกเก็บโดยธนาคารอื่น เป็นหน้าที่ของธนาคารผู้รับเช็คที่จะตรวจสอบไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารผู้ใช้เงินดังนั้น การที่จำเลยมิได้ตรวจสอบลายมือชื่อและตรา ประทับของผู้สลักหลังในเช็คพิพาท ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ใช้เงินตามเช็คไปโดยประมาทเลินเล่อ.
of 12