คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความปลอดภัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถบริเวณสี่แยกไม่มีสัญญาณไฟ ผู้ถึงก่อนมีสิทธิก่อน
สี่แยกที่เกิดเหตุไม่มีสัญญาณไฟจราจร และรถของจำเลยกับรถของ ป. แล่นมาคนละทางแล้วชนกันตรงบริเวณสี่แยก ปรากฏว่ารถของ ป. แล่นมาถึงสี่แยกก่อน จำเลยจึงจะต้องหยุดหรือชะลอรถของจำเลยแล้วปล่อยให้รถของ ป.ผ่านไปก่อน แต่จำเลยกลับขับรถต่อไปจนเกิดเหตุชนกันขึ้น ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายขับรถโดยประมาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถ: ผู้ขับรถต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรและลดความเร็วเพื่อความปลอดภัย
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 21 บัญญัติให้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏในทาง เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยอัตราความเร็วต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดและเข้าสี่แยกในขณะมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้รถทางตรงในเส้นทางของจำเลยที่ 2 แล่นผ่านไปได้ ส่วนจำเลยที่ 1 ขับรถเลี้ยวขวาฝ่าฝืนสัญญาณจราจรตัดหน้ารถของจำเลยที่ 2 จนเป็นเหตุให้ชนกันขึ้น ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและคำสั่งรื้อถอน: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เมื่อกรุงเทพมหานครได้พิจารณาและตราข้อบัญญัติไว้แล้ว อาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อบัญญัติดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยไม่มีความปลอดภัย
จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับ อนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้สั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 และต่อมา ได้สั่งให้จำเลยรื้อถอนตามมาตรา 42 วรรคแรกแล้ว อาคารดังกล่าวก็จะต้องถูกรื้อถอน แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยโดยอ้างบทกฎหมายไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานเขตออกหมายเลขที่บ้านให้จำเลยโดยมิได้คัดค้านว่าจำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ตาม
ผู้ควบคุมงานของจำเลยเป็นผู้รับทราบคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทราบด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
การมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทน เป็นการมอบอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 35 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้มีอำนาจมอบอำนาจที่ตนมีอยู่ให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดปฏิบัติราชการแทนตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงไม่จำต้องปิดแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้จำต้องมีพยานรับรองลายมือ ชื่อผู้มอบอำนาจด้วย จึงรับฟังเอกสารเป็นพยานได้
เมื่อพยานโจทก์คนสุดท้ายคอบคำถามติงแล้ว โจทก์ส่งเอกสารเป็นพยานต่อศาล แล้วให้พยานนั้นดูเอกสารดังกล่าว และพยานโจทก์แถลงประกอบเอกสาร ถือได้ว่าเป็นการซักถามพยานเมื่อได้ถามติงพยานเสร็จแล้ว แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์กระทำเช่นนั้น ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 วรรคสี่ จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
การที่หัวหน้าเขตซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มอบหมายงานโยธา ให้ผู้ช่วยหัวหน้าเขตเป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบสั่งการแทนหัวหน้าเขตได้ เป็นการมอบให้ปฏิบัติราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ ไม่เป็นการมอบอำนาจช่วง ผู้ช่วยหัวหน้าเขตมีอำนาจลงลายมือชื่อในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ และหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็รับฟังเป็นพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนทางอาญา: กรณีผู้ถูกข่มขู่ด้วยอาวุธและตอบโต้เพื่อความปลอดภัยของตนเอง
ผู้ตายกับจำเลยเป็นข้าราชการตำรวจสถานีเดียวกันมีเรื่องโกรธเคืองกันอย่างรุนแรงมาก่อน คืนเกิดเหตุมีงานเลี้ยงที่หอประชุม เมื่องานเลิกแล้วผู้ตายพบจำเลยที่หน้าหอประชุม ผู้ตายเดินเข้าไปหาจำเลยโดยประสงค์ร้ายพร้อมกับพูดว่า'วันนี้เป็นวันตายของมึง' และมีตำรวจด้วยกันเดินเข้าไปด้วยจำเลยเดินถอยหลัง ผู้ตายเดินตามและชักปืนพกออกมา จำเลยเดินถอยหลังไปจนติดหอประชุมจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย 1 นัด ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำเพื่อป้องกันชีวิตของตนให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง พอสมควรแก่เหตุ ส่วนที่มีการด่าทอและกล่าวคำผรุสวาทกันก่อน เมื่อจำเลยมิได้เป็นฝ่ายก่อเหตุวิวาทและไม่มีเจตนาจะวิวาทกับผู้ตาย การป้องกันดังกล่าวจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขาดความปลอดภัย กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนได้ แม้มีข้อบกพร่องในคำสั่ง
จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตและการต่อเติมนั้นเป็นเหตุให้ขาดประโยชน์แห่งการป้องกันอัคคีภัย และการผังเมืองไม่ต้องด้วยวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แม้อาคารพิพาทจะมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่จะต้องรื้อถอน หัวหน้าเขตมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดิน และต่อมาได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับกับการก่อสร้าง ปรากฏว่าจำเลยมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตดังกล่าวภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารที่ปิดทางเดินด้านหลังและที่ต่อเชื่อมอาคารด้านข้างโดยไม่ได้รับอนุญาต และยังได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดินอีกครั้งหนึ่ง จำเลยได้รับคำสั่งแล้วแต่จำเลยก็มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตครั้งหลังนี้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเช่นเดียวกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตได้การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกินสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52 โจทก์จึงไม่จำต้องรอฟังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
แม้คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทจะกำหนดให้จำเลยรื้อถอนอาคารน้อยกว่าสามสิบวัน อันเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคแรก แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังที่จำเลยได้รับคำสั่งดังกล่าวนานถึง 2 ปีเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ส่วนที่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจทั้งตามมาตรา 11 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 และตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการที่จะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงหรือต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องหมดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรโชกด้วยการข่มขู่ว่าจะฆ่าและเรียกเงินเพื่อแลกกับความปลอดภัยของผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายวางแผนจับกุมก็เป็นความผิดสำเร็จ
จำเลยบอกผู้เสียหายว่ามีคนจ้างจำเลยฆ่าผู้เสียหาย แต่ไม่บอกชื่อคนจ้าง พร้อมกันนั้นจำเลยขอเงินผู้เสียหาย ถ้าหากไม่ให้ก็จะไม่รับรองความปลอดภัย ผู้เสียหายตกลงยอมให้และนัดมาเอาเงินในวันรุ่งขึ้น คำพูดของจำเลยดังกล่าวเป็นการข่มขู่ผู้เสียหายให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงินแก่จำเลย อันเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายครบองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกแล้ว แม้จะใช้คำว่า 'ขอ' และ 'เพื่อบอกชื่อผู้ที่จ้างฆ่า' ก็เป็นเพียงเหตุผลประกอบการข่มขู่เท่านั้น หาทำให้การข่มขู่นั้นกลายเป็นการเรียกร้องเงินเพื่อตอบแทนการบอกชื่อผู้ว่าจ้างฆ่าผู้เสียหายไม่
มาตรา 192 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติว่า ข้อแตกต่างเกี่ยวกับเวลาเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียด จำเลยยอมรับว่าตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยได้ไปขอเงินผู้เสียหายและผู้เสียหายยอมตกลงจะให้เงินจำเลยจริงเพียงแต่จำเลยอ้างว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในเรื่องเวลา ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเวลากลางวัน แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเหตุเกิดเวลากลางคืน ศาลก็ลงโทษจำเลยได้
จำเลยข่มขืนใจโดยการข่มขู่จนผู้เสียหายยอมจะให้เงินแก่จำเลยและนัดมารับเงินในวันรุ่งขึ้น ถือได้ว่าการกรรโชกได้สำเร็จแล้วแม้ผู้เสียหายจะยินยอมเพื่อต้องการรู้ตัวผู้จ้างจำเลยและได้นำเจ้าหน้าที่มาคอยจับจำเลยเมื่อมารับเงินในวันรุ่งขึ้น ก็หาทำให้เป็นความผิดฐานพยายามไม่
โจทก์มิได้ฎีกาขอเพิ่มโทษจำเลย ศาลฎีกาจะลงโทษจำเลยหนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามิได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย แต่ศาลฎีกาวางบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุด: งานเฝ้าระวังความปลอดภัยนอกเหนือจากงานปกติ ไม่เข้าข่ายต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
'การทำงาน' ตามคำนิยามของค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หมายถึงการทำงานตามปกติที่นายจ้างมอบหมายให้ลูกจ้างทำในกิจการของนายจ้าง เมื่อนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีคำสั่งให้ลูกจ้างอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ อันเป็นหน้าที่พิเศษนอกเหนือจากกิจการตามปกติของนายจ้าง ลูกจ้างที่ต้องอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยจึงไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จำหน่ายไฟฟ้าเมื่อสายไฟฟ้าชำรุดเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อประชาชน มิใช่เหตุสุดวิสัย
จำเลยเป็นผู้จำหน่ายและครอบครองกระแสไฟฟ้าซึ่งพาดสายไปตามถนน มีหน้าที่ ๆ จะต้องระมัดระวังมิให้สายไฟฟ้าชำรุดบกพร่องอันจะเกิดอันตรายแก่ประชาชน เมื่อจำเลยละเลยไม่ตรวจตราดูแลแก้ไขให้สายไฟฟ้าอยู่ในสภาพดีอยู่ตลอดเวลาจนเกิดมีการตายเพราะถูกกระแสไฟฟ้า จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยจึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยในการใช้บริการสระว่ายน้ำ: สัญญาณเตือนความเสี่ยงของผู้ใช้
ระเบียบของสโมสรฯ ซึ่งอยู่ในการดำเนินการของจำเลยระบุไว้ว่า ผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบอันตรายที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง จำเลยที่ 1 จึงไม่มีหน้าที่ต้องระมัดระวังอันตรายหรือคอยดูแลความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ และโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยทั้งสามมีหน้าที่ ต้องระมัดระวังอันตรายหรือจะต้องจัดเจ้าหน้าที่ช่วยชีวิตประจำสระน้ำไว้เพื่อดูแลความปลอดภัยของผู้ใช้บริการด้วย บุตรโจทก์ว่ายน้ำเป็น ไปว่ายน้ำ ในสระเล็กแล้วจมน้ำตาย การตายมิได้เกิดจากความชำรุดบกพร่องของสระว่ายน้ำหรือน้ำในสระเป็นพิษ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนของลูกจ้างเพื่อรักษาความปลอดภัยของนายจ้าง ต้องขออนุญาตตามกฎหมายอาวุธปืน
ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 14 หากว่าบุคคลใดมีความประสงค์ให้ผู้อื่นมีและใช้อาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนสำหรับรักษาทรัพย์สินของตนอันจักต้องใช้บุคคลอื่นดูแลอาจขอรับหนังสืออนุญาตพิเศษจากนายทะเบียนท้องที่ที่บุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ว่า กรณีดังกล่าวกฎหมายถือว่าเป็นการมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครอง จึงบัญญัติให้ขอรับหนังสืออนุญาตพิเศษจากนายทะเบียนท้องที่
จำเลยเป็นลูกจ้างเหมืองแร่ ว.มีหน้าที่เป็นยามดูแลรักษาความปลอดภัยในเหมืองแร่ ส.ผู้จัดการเหมืองแร่มอบอาวุธและกระสุนปืนของกลางซึ่ง ส.ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนห้องที่ให้มีไว้ในครอบครองให้จำเลยไว้เพื่อใช้ในการเป็นยามดูแลรักษาความปลอดภัยในเหมืองแร่ โดยจำเลยจะไปรับอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางเวลา 18 นาฬิกาแล้วนำไปคืนเวลา 8 นาฬิกาวันรุ่งขึ้นทุกวัน เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมจำเลยพร้อมด้วยอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางได้ที่บ้านพักจำเลยในบริเวณเหมืองแร่ เมื่อจำเลยไม่ได้รับหนังสืออนุญาตดังกล่าว จำเลยย่อมมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาตตามกฎหมาย
of 12