พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้อันฟ้องและการต่อสู้คดี: ศาลอนุญาตแก้อันฟ้องได้หากจำเลยไม่หลงต่อสู้คดี
ขอแก้วันกระทำผิดในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4533/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีต้องพิจารณาเหตุจำเป็นและผลกระทบต่อความยุติธรรม หากไม่พิจารณาเหตุผลของคู่ความ อาจเป็นเหตุให้ศาลใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้อง
การขอเลื่อนคดีเนื่องจากมีเหตุจำเป็นของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 นั้น จะต้องมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะทำให้เสียความยุติธรรม ซึ่งศาลจะต้องพิจารณาว่าที่โจทก์ขอเลื่อนคดีนั้นมีเหตุทั้งสองประการดังกล่าวหรือไม่ หากได้ความตามบทบัญญัติดังกล่าว ก็อนุญาตให้เลื่อนคดี มิฉะนั้นต้องยกคำร้อง โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุประการแรกว่าได้ถอนทนายความ
คนเดิมและแต่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในคดี และประการที่สองว่าโจทก์เดินทางไปเยี่ยมมารดาซึ่งป่วยอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย จึงไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งด้วยเหตุทำแผนที่พิพาท และขอเลื่อนคดีเพื่อขอเอกสารจากสำนักงานที่ดินมาเสนอต่อศาลอีกจนมาถึงนัดนี้ศาลกำหนดนัดล่วงหน้า 3 เดือนเศษ โจทก์ทราบวันนัด แต่ก็ไม่มาศาล ทั้งไม่มีพยานมาสืบ เชื่อว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีโดยไม่ได้พิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีเหตุตามบทบัญญัติของกฎหมายที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดีได้หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง
ดังกล่าวหาเป็นการชอบไม่ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
คนเดิมและแต่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในคดี และประการที่สองว่าโจทก์เดินทางไปเยี่ยมมารดาซึ่งป่วยอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย จึงไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งด้วยเหตุทำแผนที่พิพาท และขอเลื่อนคดีเพื่อขอเอกสารจากสำนักงานที่ดินมาเสนอต่อศาลอีกจนมาถึงนัดนี้ศาลกำหนดนัดล่วงหน้า 3 เดือนเศษ โจทก์ทราบวันนัด แต่ก็ไม่มาศาล ทั้งไม่มีพยานมาสืบ เชื่อว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีโดยไม่ได้พิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีเหตุตามบทบัญญัติของกฎหมายที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดีได้หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง
ดังกล่าวหาเป็นการชอบไม่ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13141/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง: ผลของคำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดชำระเงินค่างวดงานตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้านพิพาท ส่วนคดีผู้บริโภคหมายเลขแดงที่ ผบ.480/2553 ของศาลแพ่งธนบุรี จำเลยในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องเรียกให้โจทก์ในคดีนี้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่โจทก์ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้านพิพาท ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในประเด็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้านพิพาท เมื่อศาลแพ่งธนบุรีมีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยแล้ว ฟ้องโจทก์ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แต่เมื่อคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด หากในชั้นที่สุดศาลฟังข้อเท็จจริงเป็นประการใด ผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยในคดีนี้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ทำให้คดีนี้ยังมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยต้องชำระค่าก่อสร้างแก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด ดังนั้น หากรอฟังผลคดีผู้บริโภคหมายเลขแดงที่ ผบ.480/2553 ของศาลแพ่งธนบุรีให้ถึงที่สุดเสียก่อนแล้วพิพากษาคดีต่อไปย่อมทำให้ความยุติธรรมในคดีนี้ดำเนินไปด้วยดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231-2233/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นกลางของอนุญาโตตุลาการเป็นหลักประกันความยุติธรรม การไม่เปิดเผยข้อมูลการถือหุ้นถือเป็นเหตุแห่งความไม่เป็นอิสระ
ความเป็นกลางและเป็นอิสระของอนุญาโตตุลาการถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่จะเป็นหลักประกันความยุติธรรมให้แก่คู่พิพาท หากอนุญาโตตุลาการปราศจากเสียซึ่งความเป็นกลางและเป็นอิสระแล้ว คู่พิพาทก็จะไม่ได้รับความเป็นธรรมและกระบวนการอนุญาโตตุลาการก็จะไม่ได้รับการยอมรับ บทบัญญัตินี้จึงเป็นบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางและเป็นอิสระของผู้คัดค้านที่ 1 ในการปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 ดังนั้น การที่ผู้ร้องทั้งสามสำนวนอุทธรณ์คัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งได้รับเลือกเป็นประธานอนุญาโตตุลาการขาดความเป็นกลางและเป็นอิสระ จึงเป็นการกล่าวอ้างคัดค้านว่าคำสั่งศาลชั้นต้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 45 (2) แห่งพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ลงชื่อโอนหุ้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมต้องรู้อยู่ก่อนแล้วว่าหุ้นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 ออกในนามของตนเอง แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะเห็นว่าตนไม่มีส่วนได้เสียในการซื้อหุ้นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 แต่ผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งอาจเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของตนให้คู่พิพาททราบ การที่ผู้คัดค้านไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการขัดต่อหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการรวมทั้งเป็นประธานอนุญาโตตุลาการได้
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ลงชื่อโอนหุ้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมต้องรู้อยู่ก่อนแล้วว่าหุ้นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 ออกในนามของตนเอง แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะเห็นว่าตนไม่มีส่วนได้เสียในการซื้อหุ้นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 แต่ผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งอาจเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของตนให้คู่พิพาททราบ การที่ผู้คัดค้านไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการขัดต่อหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการรวมทั้งเป็นประธานอนุญาโตตุลาการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำส่งหมายอุทธรณ์ล่าช้า ไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง หากมีเหตุผลและความพยายามในการดำเนินการ
ทนายความโจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเพิ่ม และได้ลงลายมือชื่อในตราประทับให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 20 กรกฎาคม 2544 แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์วันที่ 23 กรกฎาคม 2544 จึงถือไม่ได้ว่าทนายความโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วในวันนั้น แม้ต่อมาทนายความโจทก์ได้มายื่นคำคัดค้านคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสองพร้อมทั้งยื่นคำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานในชั้นไต่สวนอนาถาต่อศาลชั้นต้นและต่อมาได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายความโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาก็ไม่เกี่ยวกับอุทธรณ์ของโจทก์ แต่เป็นการดำเนินคดีชั้นไต่สวนอนาถา เมื่อถึงวันนัดไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นไม่อาจดำเนินการไต่สวนได้เพราะศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งในเรื่องที่โจทก์ไม่นำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งสอง ทนายความโจทก์จึงได้ยื่นคำแถลงขออนุญาตนำส่งและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสอง ทั้งค่าขึ้นศาลที่เสียเพิ่มไปแล้วก็เป็นเงินจำนวนมาก ไม่มีเหตุผลอะไรที่โจทก์จะทิ้งฟ้องอุทธรณ์ พฤติการณ์ไม่แน่ชัดว่าทนายความโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการนำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสอง ประกอบกับทนายความโจทก์ได้ยื่นคำแถลงขออนุญาตนำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ก่อนศาลอุทธรณ์ส่งคำพิพากษามาอ่าน และปัญหาที่อุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมสมควรให้โอกาสโจทก์ได้นำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับพยานนอกกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด ศาลมีอำนาจได้หากมีเหตุผลแห่งความยุติธรรม และประเด็นสำคัญในคดี
จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานจนล่วงเลยกำหนดเวลาตามกฎหมาย หลังจากนั้นได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมรวม 2 ครั้ง โจทก์ยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ของจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยที่ 1 ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2545 โดยเข้าใจว่า เป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1 โจทก์รับสำเนาแล้วไม่คัดค้าน ศาลอนุญาตและรับบัญชีระบุพยานจำเลยที่ 1 จึงถือว่าเป็นกรณีที่ศาลอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ยื่นบัญชีระบุพยานเมื่อพ้นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้ดุลพินิจรับบัญชีระบุพยานจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสามแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองได้ แม้โจทก์จะคัดค้าน และการยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่เมื่อคดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของหรือในฐานะผู้เช่า ดังนี้ บัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 1 ที่อ้างพยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์ จึงนับว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยที่ 1 และอนุญาตให้จำเลยที่ 1 นำพยานบุคคลตามบัญชีระบุพยานเข้าเบิกความ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1345/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับลดหนี้เจ้าหนี้ในแผนฟื้นฟูกิจการต้องมีเหตุผลสมควรและเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ต่อการฟื้นฟู
กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ภาษีอากรในมูลหนี้ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเป็นพิเศษ ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 (2) ประกอบด้วยมาตรา 130 (6) สิทธิของผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ข้อเสนอขอแก้ไขแผนจึงกำหนดให้ลดจำนวนหนี้ของผู้คัดค้านลงโดยให้งดการเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหนี้ภาษีอากรซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ อย่างไรก็ตาม หนี้ภาษีอากรมีสถานะแตกต่างจากหนี้ระหว่างเอกชนด้วยกัน เพราะภาษีอากรเป็นรายได้ที่รัฐจัดเก็บรวบรวมไปใช้ในการบริหารประเทศเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั้งหลาย การปรับลดหนี้ส่วนนี้จึงต้องมีเหตุผลอันสมควรหรือมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ได้กำหนดกระบวนการหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนไว้ว่า แผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบทบัญญัติในส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทควบคุมดูแลการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และให้ศาลใช้ดุลพินิจตรวจสอบว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนหรือไม่ คดีนี้ข้อเสนอขอแก้ไขแผนได้กำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 ถึงที่ 9 งดเว้นการเรียกเก็บดอกเบี้ย เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มจากลูกหนี้ เฉพาะเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 หนี้ส่วนที่งดเว้นการเรียกเก็บมีจำนวนมากกว่าหนี้ที่ลูกหนี้ชำระให้แก่เจ้าหนี้รายนี้ สำหรับผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 9 ข้อเสนอขอแก้ไขแผนได้กำหนดให้ผู้คัดค้านงดเว้นการเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งจำนวน คิดเป็นร้อยละ 49.55 ของหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระผู้คัดค้าน แม้ตามกฎหมายแผนสามารถจัดให้เจ้าหนี้ที่อยู่ต่างกลุ่มกันได้รับการชำระหนี้แตกต่างกันได้ แต่ก็ต้องจัดทำแผนโดยมีเหตุผลอันสมควรหรือมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้ทำแผนได้จัดทำแผนโดยปรับโครงสร้างหนี้ลดจำนวนหนี้และขยายเวลาชำระหนี้มาครั้งหนึ่ง ซึ่งศาลได้ให้ความเห็นชอบและลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 4 ครบถ้วนตามแผน คงเหลือหนี้ค้างชำระในส่วนของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 9 ผู้บริหารแผนได้จัดทำข้อเสนอข้อแก้ไขแผนขึ้นมาในครั้งนี้ซึ่งมีการปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้บางกลุ่มลงเป็นจำนวนมากโดยเจ้าหนี้ที่ถูกปรับลดหนี้ไม่ได้ให้ความยินยอม และผู้บริหารแผนก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีเหตุผลหรือความจำเป็นอย่างใดที่ต้องแก้ไขแผนเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการสำเร็จลุล่วงไปได้ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/63 ข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผนเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่มีเหตุผลและไม่เท่าเทียมกันมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้บางราย ทำให้แผนไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งปวง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอแก้ไขแผน
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ได้กำหนดกระบวนการหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนไว้ว่า แผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบทบัญญัติในส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทควบคุมดูแลการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และให้ศาลใช้ดุลพินิจตรวจสอบว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนหรือไม่ คดีนี้ข้อเสนอขอแก้ไขแผนได้กำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 ถึงที่ 9 งดเว้นการเรียกเก็บดอกเบี้ย เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มจากลูกหนี้ เฉพาะเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 หนี้ส่วนที่งดเว้นการเรียกเก็บมีจำนวนมากกว่าหนี้ที่ลูกหนี้ชำระให้แก่เจ้าหนี้รายนี้ สำหรับผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 9 ข้อเสนอขอแก้ไขแผนได้กำหนดให้ผู้คัดค้านงดเว้นการเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งจำนวน คิดเป็นร้อยละ 49.55 ของหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระผู้คัดค้าน แม้ตามกฎหมายแผนสามารถจัดให้เจ้าหนี้ที่อยู่ต่างกลุ่มกันได้รับการชำระหนี้แตกต่างกันได้ แต่ก็ต้องจัดทำแผนโดยมีเหตุผลอันสมควรหรือมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้ทำแผนได้จัดทำแผนโดยปรับโครงสร้างหนี้ลดจำนวนหนี้และขยายเวลาชำระหนี้มาครั้งหนึ่ง ซึ่งศาลได้ให้ความเห็นชอบและลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 4 ครบถ้วนตามแผน คงเหลือหนี้ค้างชำระในส่วนของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 9 ผู้บริหารแผนได้จัดทำข้อเสนอข้อแก้ไขแผนขึ้นมาในครั้งนี้ซึ่งมีการปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้บางกลุ่มลงเป็นจำนวนมากโดยเจ้าหนี้ที่ถูกปรับลดหนี้ไม่ได้ให้ความยินยอม และผู้บริหารแผนก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีเหตุผลหรือความจำเป็นอย่างใดที่ต้องแก้ไขแผนเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการสำเร็จลุล่วงไปได้ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/63 ข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผนเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่มีเหตุผลและไม่เท่าเทียมกันมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้บางราย ทำให้แผนไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งปวง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอแก้ไขแผน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5233/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: ศาลพิจารณาจากคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดเพื่อความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องบรรยายคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่า ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเดิมเป็นที่ดินมือเปล่ามาจากผู้คัดค้านและได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา เป็นผลเพียงให้ผู้ร้องไม่อาจอ้างการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1382 ได้ ไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอ และคดียังคงมีตัวผู้ร้องตามคำร้องและฟ้องแย้ง เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านยังโต้แย้งความเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทอยู่ คดีจึงยังมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือของผู้คัดค้าน ฟ้องแย้งหาตกไปไม่คำพิพากษาในคดีอาญาของศาลชั้นต้นเป็นพยานหลักฐานสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลฎีกาเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องเรียกมาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย เมื่อศาลชั้นต้นในคดีอาญาดังกล่าววินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งว่า ผู้ร้องในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในคดีนี้ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3868-3869/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์, ดุลพินิจศาล, ค่าขึ้นศาล, การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ, ความยุติธรรมในการพิจารณาคดี
ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงถือว่าผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้ตามมาตรา 132 (1) ประกอบมาตรา 246 แต่มาตรา 132 ไม่ใช่บทบัญญัติเด็ดขาดว่าศาลจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและความยุติธรรม
เมื่อปรากฏว่าขณะที่ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ยื่นอุทธรณ์ ได้เสียค่าขึ้นศาลเป็นเงิน 200,000 บาท 37,482 บาท 95,162 บาท และ 35,162 บาท ชี้ให้เห็นว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ประสงค์ที่จะต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป เมื่อเปรียบเทียบจำนวนเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ดังกล่าวกับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งคำคู่ความให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเงินเพียง 500 บาท แล้ว ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งคำคู่ความจึงเป็นเงินจำนวนเพียงเล็กน้อย ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 จะทิ้งอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาเห็นว่ากรณียังไม่สมควรจำหน่ายคดีของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ทั้งนี้เพื่อให้คู่ความได้ว่ากล่าวกันในเนื้อหาแห่งคดีกันต่อไป
เมื่อปรากฏว่าขณะที่ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ยื่นอุทธรณ์ ได้เสียค่าขึ้นศาลเป็นเงิน 200,000 บาท 37,482 บาท 95,162 บาท และ 35,162 บาท ชี้ให้เห็นว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ประสงค์ที่จะต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป เมื่อเปรียบเทียบจำนวนเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ดังกล่าวกับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งคำคู่ความให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเงินเพียง 500 บาท แล้ว ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งคำคู่ความจึงเป็นเงินจำนวนเพียงเล็กน้อย ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 จะทิ้งอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาเห็นว่ากรณียังไม่สมควรจำหน่ายคดีของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ทั้งนี้เพื่อให้คู่ความได้ว่ากล่าวกันในเนื้อหาแห่งคดีกันต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านผู้พิพากษาต้องแสดงเหตุผลชัดเจน หากไม่มีรายละเอียดเพียงพอ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวน
ตามคำร้องของโจทก์ที่คัดค้านขอให้เปลี่ยนตัวผู้พิพากษาท่านอื่นแทน ณ. ไม่ได้แสดงรายละเอียดโดยแจ้งชัดพอที่จะทำให้เข้าใจได้ว่าที่ ณ. นั่งพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ 1163/2561 ซึ่งแม้จะเป็นคู่ความเดียวกันด้วยนั้น มีพฤติกรรมอย่างไรที่ ณ. อาจทำให้การพิจารณาหรือพิพากษาคดีนี้เสียความยุติธรรมไปอย่างไรด้วย แม้โจทก์จะกล่าวอ้างในคำร้องว่าขออนุญาตนำสืบในรายละเอียดชั้นไต่สวนคำร้องต่อไป แต่เมื่อคำร้องของโจทก์ไม่มีรายละเอียดในเบื้องต้นว่ามีเหตุที่จะคัดค้านผู้พิพากษาตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5) และมาตรา 12 ได้บัญญัติไว้อย่างไรเสียแล้ว จึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานว่ามีข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำร้องหรือไม่ ส่วนที่โจทก์จะขอนำสืบรายละเอียดในชั้นไต่สวนคำร้องนั้นก็เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ได้อ้างไว้ในคำร้อง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องไม่ปรากฏเหตุตามกฎหมายที่จะคัดค้านผู้พิพากษาได้ ในชั้นนี้ให้ยกคำร้องนั้นเป็นการชอบแล้ว และคำสั่งเช่นว่านี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 14