คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความระมัดระวัง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการจุดไฟเผา ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น
จำเลยทั้งสองจุดไฟเผาไม้ในที่ดินของตนจนน่าจะเป็นอันตรายแก่สวนยางพาราของผู้อื่น กับมิได้เตรียมป้องกันมิให้เพลิงลุกลามไปไหม้สวนยางพาราข้างเคียง เพียงใช้ไม้ตีไฟให้ดับเท่านั้น ไม่เป็นการระมัดระวังอย่างเพียงพอ เมื่อดับไฟไม่ได้และไฟได้ลุกลามไปไหม้สวนยางพาราของผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 220 วรรคแรก และ 225 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5548/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยิงปืนเพื่อขู่ภัยก่อให้เกิดอันตรายแก่กายเข้าข่ายประมาท
จำเลยถูกผู้เสียหายด่าจึงยิงปืนเพื่อขู่ไม่ให้ผู้เสียหายด่าจำเลยอีกต่อไป แต่จำเลยไม่เลือกยิงขึ้นฟ้า กลับยิงไปที่ลูกกรงไม้ชานบ้านห่างจากจุดที่ ผู้เสียหายยืนประมาณ 2วา ทำให้เศษไม้กระเด็นไปถูกผู้เสียหายได้รับ อันตรายแก่กายจำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่น ได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากสินค้าและการใช้ความระมัดระวังของผู้รับฝาก: การพิจารณาว่าจำเลยเป็นนายคลังสินค้าหรือไม่ และการปฏิบัติตามมาตรฐานความระมัดระวัง
การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยรับเก็บสินค้าไว้เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีเท่านั้น จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 เมื่อสินค้าเกิดเสียหายจึงไม่อาจนำบทบัญญัติอันว่าด้วยการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 772 ประกอบด้วยมาตรา 616 มาใช้บังคับ
จำเลยจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เว้นแต่จะฝากเกิน 3 วัน จำเลยจึงจะคิดค่าธรรมเนียมจากเจ้าของสินค้าเพิ่มขึ้นทุกวัน เพื่อเป็นการลงโทษให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกไป การที่จำเลยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เมื่อเกินกำหนด 3 วัน นับแต่เจ้าของสินค้านำสินค้าเข้าไว้ในโรงพักสินค้าและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นทุกวันนั้น โดยพฤติการณ์พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์เพื่อที่จะได้รับบำเหน็จค่าฝากทรัพย์เท่านั้น จึงถือได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์โดยมีค่าบำเหน็จ
ไม่ปรากฏว่าเกิดเพลิงไหม้สินค้าในโรงพักสินค้าเพราะเหตุใดสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากความสะเพร่าของบุคคลที่ทิ้งบุหรี่หรืออย่างอื่น จำเลยได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ มีหน่วยรักษาความปลอดภัยอยู่ภายนอกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง มีอุปกรณ์เคมีในการดับเพลิง มีคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ภายในโรงพักสินค้าเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีรถดับเพลิงมาช่วยแต่ไม่อาจดับเพลิงได้ทันท่วงที เพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้วเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพักสินค้าได้โดยลำพัง จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจดับเพลิงถึงต้นเพลิง หรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพักสินค้าได้ ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ ดังนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 659 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: การดูแลทรัพย์สินทางราชการและมาตรฐานความระมัดระวัง
ขณะเกิดเหตุจำเลยรับราชการเป็นหัวหน้าหมวดช่างโยธาประจำสถานีรายงานนครพนมของโจทก์ มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินของทางราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบซึ่งรวมทั้งท่อประปาที่ถูกคนร้ายลักไปด้วยปรากฏว่าท่อประปาที่หายไปกองอยู่ในบริเวณรั้วห่างโรงจักรไฟฟ้าไม่ถึง 20 เมตร ในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยได้จัดเวรยามคอยติดเครื่องจักรไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งมีหมวดอากาศโยธินจัดเวรยามรักษาความปลอดภัยและมีรถยนต์วิ่งตรวจการณ์ 24 ชั่วโมง โดยโจทก์เองก็มิได้มีคำสั่งให้จำเลยต้องจัดเวรยามเฝ้าท่อประปาเป็นพิเศษแต่อย่างใด เช่นนี้การที่คนร้ายเล็ดลอดหลบหน่วยรักษาความปลอดภัยเข้ามาในบริเวณสถานีรายงานและลอบเข้าไปตัดรั้วลวดหนามของโรงจักรไฟฟ้าลักท่อประปาของโจทก์ไป ย่อมถือว่าจำเลยไม่ได้กระทำการอันเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้ท่อประปาของโจทก์สูญหาย จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถและการปฏิบัติตามสัญญาณจราจร: ผู้ขับรถต้องใช้ความระมัดระวังแม้ผู้อื่นผิด
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 21 บัญญัติให้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏในทาง เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยอัตราความเร็วต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด และเข้าสี่แยกในขณะมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้รถทางตรงในเส้นทางของจำเลยที่ 2 แล่นผ่านไปได้ ส่วนจำเลยที่ 1 ขับรถเลี้ยวขวาฝ่าฝืนสัญญาณจราจรตัดหน้ารถของจำเลยที่ 2 จนเป็นเหตุให้ชนกันขึ้นดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถและการละเลยไม่บำบัดปัดป้องความเสียหาย ผู้ขับขี่มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวัง
ถนนที่เกิดเหตุเป็นทางตรงจำเลยที่2เห็นก้อนหินขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ12ซม.ขวางถนนอยู่ในช่องทางเดินรถของตนจำเลยที่2ได้ขับรถหลบก้อนหินเข้ามาในช่องทางเดินรถของโจทก์เพียงเล็กน้อย.คนขับรถของโจทก์เห็นรถที่จำเลยที่2ขับหลบก้อนหินเข้ามาในช่องทางเดินรถของตนแต่คนขับรถของโจทก์มิได้ชะลอความเร็วลงหรือขับรถหลบไปทางซ้ายมือซึ่งผิวจราจรหรือไหล่ถนนตรงนั้นกว้างพอที่จะแล่นหลบไปได้โดยไม่ตกถนนและรถทั้งสองคันก็จะไม่ชนกันดังนี้ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดจากรถยนต์สองคันชนกันนั้นเกิดจากการขับรถโดยประมาทของจำเลยที่2ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยและคนขับรถของโจทก์ละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยควรรับผิดเพื่อความเสียหายสองในสามส่วนของความเสียหายที่โจทก์ได้รับ. คำวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้นั้นศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่2ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในชั้นอุทธรณ์ฎีกาด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้าน้ำมันต่อการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง: ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและการพิสูจน์ความระมัดระวัง
ความผิดต่อพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 มาตรา 25 ตรี มีข้อสันนิษฐานไว้ในวรรคสองและวรรคสี่ความว่า ถ้าการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดขึ้นภายในสถานที่ทำการหรือสถานที่จำหน่ายของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ทวิ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ค้าน้ำมันดังกล่าวเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีผู้กระทำความผิดถูกจับขณะกำลังปลอมปนน้ำมันโดยถ่ายน้ำมันก๊าดลงในถังเก็บน้ำมันโซล่าใต้ดินของจำเลยที่ 1 ในบริเวณปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้าน้ำมัน และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1จึงต้องรับผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของบุตรผู้เยาว์: การพิสูจน์ความระมัดระวัง
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้ด้วยว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุตรอยู่ในความปกครองของจำเลยที่ 2 ที่ 3 บิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรม เป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่จะขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 แม้จะมิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลจำเลยที่ 1 ตามสมควรแก่หน้าที่ก็ตาม เพราะการใช้ความระมัดระวังดูแลจำเลยที่ 1 ตามควรแก่หน้าที่นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะต้องพิสูจน์ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 648/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการจุดไฟเผา และความรับผิดทางอาญาต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
แม้ก่อนจะจุดไฟเผาสวนของจำเลย จำเลยได้ถากถางต้นไม้เพื่อกันไฟมิให้ลุกลามติดสวนของผู้อื่น และไฟที่จำเลยจุดมิได้ลุกลามไปติดสวนของผู้เสียหายในทันทีก็ตามแต่การที่จำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูและดับไฟที่จำเลยจุดเผาสวนไว้ก่อนเกิดเหตุ 3-4 วันให้หมดปล่อยไว้ให้ติดคุขอนไม้จนเป็นเหตุให้ลุกลามไปไหม้ทรัพย์สินของผู้เสียหายจำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท และเป็นเหตุให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดามารดาต่อละเมิดของบุตรผู้เยาว์ แม้จะใช้ความระมัดระวังแล้ว แต่การตกลงชดใช้ค่าเสียหายผูกพันตามกฎหมาย
บุตรโจทก์กับบุตรจำเลยเป็นเพื่อนกันได้พากันขับรถพาเพื่อนออกไปเที่ยวโดยมีบุตรโจทก์เป็นผู้ขับ หลังจากพาเพื่อนกลับมาแล้วบุตรโจทก์ได้ขับรถออกไปกับบุตรจำเลยอีก โดยจำเลยไม่ทราบและไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อแสดงให้เห็นว่าบุตรจำเลยจะทำหน้าที่ขับรถแทนบุตรโจทก์หลังจากนั้นบุตรจำเลยโดยความประมาทเลินเล่อขับรถโจทก์ไปประสบอุบัติเหตุเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบุตรจำเลยตามสมควรแก่หน้าที่ในขณะนั้นแล้วจำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์ด้วย
แม้จำเลยจะไม่ต้องร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์ในผลแห่งละเมิดที่บุตรผู้เยาว์กระทำลงเพราะจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุจำเลยได้ไปตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการที่บุตรจำเลยทำละเมิดต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการทำละเมิดของบุตรจำเลยข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
of 13