พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์สินผิดพลาด ผู้ขออายัดต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม แม้บัญชีไม่ใช่ของจำเลย
โจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากไปยังธนาคารเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งอายัดไปยังธนาคารแล้ว แม้ก่อนที่หนังสือแจ้งอายัดดังกล่าวจะไปถึงธนาคาร โจทก์ทราบว่าเงินฝากที่โจทก์ขออายัดนั้นไม่ใช่ของจำเลย แต่มีชื่อและนามสกุลพ้องกันกับของจำเลย โจทก์จึงขอให้ธนาคารงดการอายัดไว้ก่อนโดยโจทก์จะไประงับการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำร้องและฎีกาก็ตาม แต่ก็ปรากฎตามคำร้องของโจทก์เองว่าโจทก์ได้ถอนการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังธนาคารแล้ว ทั้งตามคำร้องของโจทก์ก็ไม่ปรากฎว่า ขณะที่โจทก์ขอถอนการอายัดนั้น ธนาคารยังมิได้รับหนังสืออายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแต่อย่างใดดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ถอนการอายัดเสียก่อนที่หนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปถึงธนาคาร จึงเป็นการกล่าวอ้างนอกเหนือจากที่กล่าวในคำร้อง ไม่อาจรับฟังได้ กรณีต้องถือว่าได้มีการอายัดโดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 311 เมื่อโจทก์ถอนการอายัดจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ตามตาราง 5(4) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การที่ปรากฎว่าบัญชีเงินฝากที่อายัดนั้นไม่ใช่ของจำเลยและธนาคารมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบภายหลังที่ได้รับหนังสืออายัดแล้ว โจทก์จะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่ หากโจทก์ผู้ขออายัดไม่ชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6635/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ครูข่มขืนศิษย์: ความรับผิดชอบในฐานะผู้ดูแล
จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในขณะที่จำเลยซึ่งเป็นครูอาวุโสเข้าเวรเป็นครูผู้ปกครองประจำวันมีหน้าที่ควบคุมดูแลเด็กนักเรียน ถือได้ว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6392/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของหน้าที่ในการดูแลทรัพย์สินของกลาง หากทรัพย์สินสูญหายแม้จะไม่มีความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่โดยตรง
รถยนต์ของกลางหายไปในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของพันตำรวจตรีส. ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่1การปฏิบัติหน้าที่ของพันตำรวจตรีส. จึงกระทำไปในฐานะผู้แทนของจำเลยที่1ดังนั้นแม้จำเลยที่2ที่3และที่4จะมิได้ประมาทเลินเล่ออันเป็นเหตุให้รถยนต์คันดังกล่าวสูญหายจำเลยที่1ก็จะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่ และการพิจารณาความรับผิดชอบของลูกจ้างในการลาหยุด
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยมานานหลายปีในปีสุดท้ายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายบริหารซึ่งเป็นตำแหน่งชั้นสูงโจทก์ควรจะมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่การที่โจทก์ลากิจโดยไม่มีกำหนดเวลาแสดงให้เห็นถึงการขาดความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ของโจทก์ที่ปฏิบัติอยู่และเมื่อโจทก์ยื่นใบลาแล้วโจทก์หยุดงานทันทีโดยไม่รอฟังว่าจำเลยที่1อนุมัติหรือไม่เป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการลาของจำเลยที่1ในที่สุดเมื่อจำเลยที่1ไม่อนุมัติการลาจึงต้องถือว่าโจทก์ขาดงานและโจทก์ก็ยังคงหยุดงานติดต่อกันมาจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างหากโจทก์มิได้จงใจขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่โจทก์สามารถติดต่อแจ้งให้จำเลยที่1ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครทราบได้โดยสะดวกถึงความจำเป็นของโจทก์เพราะโจทก์ไปเฝ้าบุตรที่ป่วยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันแต่โจทก์หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดงานจนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เคยติดต่อจำเลยพฤติการณ์ที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันดังกล่าวเกิน3วันและเป็นเวลานานเกือบหนึ่งเดือนจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าทั้งถือได้ว่าโจทก์จงใจละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(5)และกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายและค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4263/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องผู้รับประกันภัย: เพียงพอหรือไม่เมื่อระบุความรับผิดชอบในบันทึกประจำวัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นผู้ขับรถบรรทุกซึ่งได้ประกันภัยไว้กับจำเลยที่2ชนกับรถบรรทุกของโจทก์โดยประมาทเป็นเหตุให้รถบรรทุกของโจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยทั้งสองต้องร่วมรับผิดในความเสียหายดังกล่าวโดยจำเลยที่2ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยแม้ตามคำฟ้องจะมิได้กล่าวถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่1กับผู้เอาประกันภัยก็ตามแต่ในบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารท้ายคำฟ้องมีข้อความระบุว่าในเบื้องต้นผู้รับประกันภัยรถของทั้งสองฝ่ายมารับรู้โดยผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกซึ่งมีจำเลยที่1เป็นคนขับยินดีเป็นฝ่ายรับผิดชอบในค่าเสียหายเนื่องจากความประมาทของผู้ขับรถและนัดหมายให้ไปรับเงินกับจำเลยที่2เป็นการเพียงพอที่จะทำให้เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่2รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยรถบรรทุกคันที่จำเลยที่2ได้รับประกันภัยจึงไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าจำเลยที่2ได้รับประกันภัยจากผู้ใดและผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยหรือจำเลยที่1ผู้ขับรถบรรทุกคันที่ประกันภัยนั้นมีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับผู้เอาประกันเพราะเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถจะนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉางและสัญญาฝากทรัพย์: ความรับผิดชอบต่อความเสียหายของทรัพย์ที่รับฝากและอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าฉางตามฟ้องจากจำเลยเพื่อเก็บข้าวเปลือกของโจทก์ โดยจำเลยรับรองว่าจะเก็บรักษาข้าวเปลือกที่โจทก์นำมาเก็บไว้ในฉางมิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิม ถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยจะต้องรับผิดชอบและยินยอมใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกินร้อยละ 2ของจำนวนข้าวทั้งหมดหรือเกิดจากเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ดูแลรักษาข้าวเปลือกของโจทก์ตามสัญญา เป็นเหตุให้ข้าวเปลือกในฉางสูญหาย ขอให้บังคับจำเลยชำระราคาข้าวเปลือกดังกล่าว เห็นว่า ฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา172 วรรคสอง แล้ว โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องโดยละเอียดพร้อมกับแนบสำเนาสัญญาเช่าฉางเอกชนสำเนาบัญชีข้าวเปลือกและราคาข้าวมาท้ายฟ้องด้วยการที่โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ.2517คณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อการเกษตรมีอำนาจหน้าที่ในการวางนโยบายทั่วไปเท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการโจทก์ การฟ้องคดีเป็นกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกซึ่งผู้อำนวยการโจทก์เป็นตัวแทนของโจทก์ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
ตามสัญญาเช่าฉางเอกชนนอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือก และดูแลมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้าวเปลือกที่เก็บรักษาไว้ในฉางด้วย หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปให้แก่โจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วย ฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์ซึ่งจะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้ให้แก่โจทก์ เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป จำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์ การฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม
ตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ.2517คณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อการเกษตรมีอำนาจหน้าที่ในการวางนโยบายทั่วไปเท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการโจทก์ การฟ้องคดีเป็นกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกซึ่งผู้อำนวยการโจทก์เป็นตัวแทนของโจทก์ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
ตามสัญญาเช่าฉางเอกชนนอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือก และดูแลมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้าวเปลือกที่เก็บรักษาไว้ในฉางด้วย หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปให้แก่โจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วย ฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์ซึ่งจะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้ให้แก่โจทก์ เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป จำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์ การฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7806/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: หน้าที่ต่อสู้คดีเอง และความรับผิดชอบในการดำเนินการทางกฎหมาย
แม้จะเป็นความจริงว่าจำเลยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่เข้าใจในการดำเนินคดีของศาลทั้งเชื่อโดยสุจริตว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ณสำนักงานที่ดินพร้อมทั้งเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้วจึงไม่ต้องทำอะไรอีกก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเพราะจำเลยมีหน้าที่ต้องต่อสู้คดีของจำเลยเองหากไม่เข้าใจวิธีการต่อสู้คดีหรือไม่สามารถต่อสู้คดีด้วยตนเองได้ก็ควรต้องมอบหมายให้ทนายความดำเนินการแทนจำเลยจะอ้างเอาความเข้าใจผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7042/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจขนส่งสินค้าและการรับผิดชอบความเสียหาย: การที่จำเลยที่ 1 มิได้ร่วมขนส่งโดยตรง จึงไม่ต้องรับผิดชอบ
สำหรับเรื่องการมอบอำนาจแม้จำเลยที่ 1 จะให้การสู้คดีไว้แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ส่วนในเรื่องใบรับรองกรมธรรม์เปิดทางทะเลศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้ว แต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวหาได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไรไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ฎีกาจำเลยที่ 1 ทั้งสองประเด็นดังกล่าวไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ใบตราส่งเป็นแบบฟูลไลเนอร์ เทอม ซึ่งหมายความว่า หน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือฉลอมเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือใหญ่ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้า ในการควบคุมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพพนักงานของเรือใหญ่เป็นผู้ควบคุมมาเอง จำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ารายนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งได้ทำการขนส่งมาโดยเรือใหญ่ และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าด้วย ส่วนการแจ้งกำหนดเวลาที่เรือมาถึงให้ผู้ซื้อสินค้าส่งมาทราบการติดต่อเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและให้ไปตรวจสินค้า รวมทั้งแจ้งต่อกองตรวจ-คนเข้าเมืองนั้น กิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งและเจ้าของเรือใหญ่จะต้องกระทำด้วยตนเอง การที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนผู้ขนส่งและเจ้าของเรือ ยังไม่พอถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 2 และเรือใหญ่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือ 283,734.40 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 7,092.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1ยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 359,497.31 บาท ด้วย และให้จำเลยที่ 1เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,987.50 บาท จำเลยที่ 1 จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,895 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลยที่ 1
ใบตราส่งเป็นแบบฟูลไลเนอร์ เทอม ซึ่งหมายความว่า หน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือฉลอมเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือใหญ่ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้า ในการควบคุมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพพนักงานของเรือใหญ่เป็นผู้ควบคุมมาเอง จำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ารายนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งได้ทำการขนส่งมาโดยเรือใหญ่ และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าด้วย ส่วนการแจ้งกำหนดเวลาที่เรือมาถึงให้ผู้ซื้อสินค้าส่งมาทราบการติดต่อเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและให้ไปตรวจสินค้า รวมทั้งแจ้งต่อกองตรวจ-คนเข้าเมืองนั้น กิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งและเจ้าของเรือใหญ่จะต้องกระทำด้วยตนเอง การที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนผู้ขนส่งและเจ้าของเรือ ยังไม่พอถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 2 และเรือใหญ่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือ 283,734.40 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 7,092.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1ยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 359,497.31 บาท ด้วย และให้จำเลยที่ 1เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,987.50 บาท จำเลยที่ 1 จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,895 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามคำพิพากษาและการชำระหนี้ตามหมายบังคับคดี: ผลกระทบต่อความรับผิดชอบของคู่ความ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ แม้ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยจะได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่จำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ตามหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้น หาได้ชำระหนี้ด้วยความสมัครใจไม่ ดังนั้นคู่ความฝ่ายใดจะต้องรับผิดต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไรในชั้นที่สุดจึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6626/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งทอดสุดท้าย: การพิสูจน์ฐานะและการรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้า
จำเลยมิได้เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทแก่ผู้รับตราส่ง และมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าขึ้นจากเรือการรับใบตราส่งและออกใบสั่งปล่อยสินค้าอันเป็นขั้นตอนสำคัญในการขนส่ง ก็ทำให้ฐานะเป็นตัวแทนของเรือ จำเลยจึงมิใช่ผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618