พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435-2437/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด, ค่าขาดไร้อุปการะ, การจ่ายค่าทดแทนจากนายจ้าง, และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ย
บทบัญญัติมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่าบุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ของบุตรไว้ มิใช่เป็นเพียงหน้าที่ในทางศีลธรรมที่บุตรจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น เมื่อบุตรถูกทำละเมิดถึงแก่ความตายบิดามารดาย่อมขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ตามมาตรา 443
กรณีที่ลูกจ้างถูกผู้อื่นทำละเมิดและนายจ้างได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวด้วยการจ้างแรงงานอีกส่วนหนึ่งต่างหากนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้มีผลเกี่ยวข้องถึงความรับผิดของบุคคลในการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดจึงยังคงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
จำนวนเงินค่าเสียหายในอนาคตที่ศาลกำหนดให้ โจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยไว้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้ในเงินจำนวนนี้ ย่อมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งจำเลยบางคนฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยรับผิดน้อยลง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย
กรณีที่ลูกจ้างถูกผู้อื่นทำละเมิดและนายจ้างได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวด้วยการจ้างแรงงานอีกส่วนหนึ่งต่างหากนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้มีผลเกี่ยวข้องถึงความรับผิดของบุคคลในการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดจึงยังคงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
จำนวนเงินค่าเสียหายในอนาคตที่ศาลกำหนดให้ โจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยไว้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้ในเงินจำนวนนี้ ย่อมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งจำเลยบางคนฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยรับผิดน้อยลง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของสัมปทานเดินรถต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ และการเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากความเสียหายต่อร่างกายและขาดประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
จำเลยที่ 3 ได้รับสัมปทานเดินรถ แล้วให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์เข้าร่วมเดิน ทาสีบอกเครื่องหมายเหมือนรถของจำเลยที่ 3 คนขับและคนขายตั๋วก็แต่งตัวเหมือนพนักงานของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ควบคุมการเดินรถของจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกับรถของจำเลยที่ 3 และได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์ค่าขายตั๋วเป็นค่าบริการของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ ถือได้ว่าการเดินรถคันเกิดเหตุเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ก่อขึ้นตามทางการที่จ้าง (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 841/2510)
ผลของการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหาย โดยทุพพลภาพตลอดชีวิต โจทก์จึงเรียกค่าการที่เสียความสามารประกอบงานอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ
ผลของการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหาย โดยทุพพลภาพตลอดชีวิต โจทก์จึงเรียกค่าการที่เสียความสามารประกอบงานอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของสัมปทานต่อการดำเนินงานของผู้อื่น และการเรียกค่าเสียหายจากความเสียหายทางร่างกายและขาดความสามารถในการประกอบอาชีพ
จำเลยที่ 3 ได้รับสัมปทานเดินรถ แล้วให้จำเลยที่ 2นำรถยนต์เข้าร่วมเดิน ทาสีบอกเครื่องหมายเหมือนรถของจำเลยที่ 3 คนขับและคนขายตั๋วก็แต่งตัวเหมือนพนักงานของจำเลยที่ 3. จำเลยที่ 3 ควบคุมการเดินรถของจำเลยที่ 2เช่นเดียวกับรถของจำเลยที่ 3 และได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์ค่าขายตั๋วเป็นค่าบริการของจำเลยที่ 3. เช่นนี้ ถือได้ว่าการเดินรถคันเกิดเหตุเป็นกิจการของจำเลยที่ 3. จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ก่อขึ้นตามทางการที่จ้าง.(ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 841/2510).
ผลของการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหาย โดยทุพพลภาพตลอดชีวิต. โจทก์จึงเรียกค่าการที่เสียความสามารถประกอบงานอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 444. และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446. โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ.
ผลของการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหาย โดยทุพพลภาพตลอดชีวิต. โจทก์จึงเรียกค่าการที่เสียความสามารถประกอบงานอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 444. และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446. โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด: การถอนฟ้องผู้กระทำละเมิดอื่นไม่ลดความรับผิดของจำเลย
เมื่อจำเลยละเมิดทำให้โจทก์เสียหายแล้ว ศาลก็พิพากษาให้จำเลยรับผิดในความเสียหายนั้น ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 การที่มีผู้อื่นทำละเมิดจะต้องรับผิดในความเสียหายนั้นอีกหรือไม่ ไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยลดลงแต่ประการใด ฉะนั้น การที่โจทก์จะฟ้องผู้ทำละเมิดแต่บางคนหรือถอนฟ้องบางคนก็ไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยผู้ทำละเมิดและต้องรับผิดดังกล่าวแล้วเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294-295/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้าง: คำฟ้องต้องระบุฐานะนายจ้างชัดเจน การรับฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้องเป็นไปตามหลักวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์รับส่งบรรทุกของและคนโดยสารในนามของบริษัทจำเลยที่ 3 เพื่อการค้ากำไรร่วมกันนั้น เป็นคำฟ้องที่ไม่มีทางให้เข้าใจว่าจำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ได้เลย แม้ข้อเท็จจริงที่ได้ความตามที่คู่ความนำสืบจะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ก็ตาม ก็เป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นจำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การแบ่งความรับผิดตามส่วนจากพฤติการณ์ของคู่กรณี
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นโดยประมาทเลินเล่อของโจทก์จำเลยด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว กฎหมายให้ศาลเป็นผู้กำหนดค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายตามส่วนโดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณว่า ความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
ในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนี้นั้น ให้เอาค่าเสียหายของทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมารวมกัน แล้วแย่งส่วนความรับผิดในค่าเสียหายตามส่วนที่ศาลเห็นว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
ในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนี้นั้น ให้เอาค่าเสียหายของทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมารวมกัน แล้วแย่งส่วนความรับผิดในค่าเสียหายตามส่วนที่ศาลเห็นว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และขอบเขตการขาดไร้อุปการะ
กรมกองต่างๆ ซึ่งสังกัดในกระทรวง แม้จะมีการแบ่งแยกงานเป็นสัดส่วนก็ถือว่าเป็นการงานของกรมนั้นๆ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนขับรถยนต์ในราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2 แม้ในวันเกิดเหตุจะเป็นวันอาทิตย์หยุดราชการก็ตาม หากปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเอารถยนต์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ยืมไปแล้ว ถือได้ว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้าง เมื่อมีการละเมิดเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดชอบ
เมื่อโจทก์มีอายุบรรลุนิติภาวะและมีสามีแล้วและไม่ได้ความว่าเป็นผู้ทุพพลภาพ หาเลี้ยงตนเองมิได้ ก็ไม่อยู่ในอำนาจที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้ค่าสินไหมทดแทนในฐานะต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
เมื่อโจทก์มีอายุบรรลุนิติภาวะและมีสามีแล้วและไม่ได้ความว่าเป็นผู้ทุพพลภาพ หาเลี้ยงตนเองมิได้ ก็ไม่อยู่ในอำนาจที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้ค่าสินไหมทดแทนในฐานะต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ การพิสูจน์ความรับผิดและขอบเขตการชดใช้
จำเลยเป็นปลัดอำเภอทำหน้าที่นายไปรษณีย์อนุญาตเช่นเดียวกับนายอำเภอและปลัดอำเภออีกหลายคน เมื่อเงินไปรษณีย์หายไปโดยไม่ปรากฏว่าหายในระหว่างความรับผิดของใครแม้จะอ้างว่าทุกๆ คนต่างประมาทเลินเล่อ ก็มิใช่ประมาทร่วมกันจะเฉลี่ยให้จำเลยรับผิดด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดร่วมกัน, การแบ่งความรับผิดตามพฤติการณ์, และสิทธิของโจทก์ร่วม
ความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดครั้งเดียวกันนั้นอาจเกิดจากหลายคนกระทำขึ้นก็ได้และศาลอาจกำหนดความรับผิดให้ฝ่ายหนึ่งรับผิดในเรื่องค่าสินไหมทดแทนหนักกว่าอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิดที่ต่างได้ทำลง
ภรรยาและบุตรของผู้ตายในการละเมิดอาจเข้าเป็นโจทก์ร่วมฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นคดีเดียวกันได้เพราะมีผลประโยชน์ร่วมกันในคดี
นายจ้างและผู้ขับรถยนต์ทั้งสองฝ่ายที่ขับรถยนต์ชนกันเป็นเหตุให้คนตายก็อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกันได้เพราะทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดในความเสียหายอันเดียวกัน
แม้ว่าจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่เต็มตามฟ้องแต่ศาลเห็นว่ากรณีมีเหตุสมควรและโจทก์มิได้แกล้งเรียกร้องค่าเสียหายมาเกินสมควรศาลก็อาจสั่งให้จำเลยใช้ค่าธรรมเนียมค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เต็มตามจำนวนที่โจทก์เสียไปตามฟ้องก็ได้
ภรรยาและบุตรของผู้ตายในการละเมิดอาจเข้าเป็นโจทก์ร่วมฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นคดีเดียวกันได้เพราะมีผลประโยชน์ร่วมกันในคดี
นายจ้างและผู้ขับรถยนต์ทั้งสองฝ่ายที่ขับรถยนต์ชนกันเป็นเหตุให้คนตายก็อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกันได้เพราะทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดในความเสียหายอันเดียวกัน
แม้ว่าจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่เต็มตามฟ้องแต่ศาลเห็นว่ากรณีมีเหตุสมควรและโจทก์มิได้แกล้งเรียกร้องค่าเสียหายมาเกินสมควรศาลก็อาจสั่งให้จำเลยใช้ค่าธรรมเนียมค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เต็มตามจำนวนที่โจทก์เสียไปตามฟ้องก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8649/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ และการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ
เมื่อเกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐและมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐแห่งนั้น ก็ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดขึ้นคณะหนึ่งโดยไม่ชักช้า ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ข้อ 8 จำเลยเป็นข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายสำรวจและออกแบบ แม้เป็นเจ้าหน้าที่ไม่อยู่ในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโจทก์ ก็อาจเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์และต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ การที่โจทก์แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดจึงเป็นการเหมาะสมและสอดคล้องตามระเบียบดังกล่าว ส่วนของอายุความในสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติที่กำหนดขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 10 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองประการตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ซึ่งตามวรรคหนึ่งรวมประการที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย กรณีจะใช้อายุความตามหลักละเมิดทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาบังคับไม่ได้
หนังสือสรุปผลการสอบข้อเท็จจริงลงวันที่ 15 มีนาคม 2544 ที่นายอำเภอบางพลีแจ้งให้ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโจทก์ทราบแต่เพียงว่าผู้ที่น่าจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายมีบุคคลใดบ้าง และยังมีเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โดยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เพื่อพิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับผู้ต้องรับผิดและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้นั้นต้องชดใช้ต่อไป หนังสือดังกล่าวจึงยังไม่พอให้รับฟังว่าโจทก์ทราบและรู้ว่าจำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว และเนื่องจากคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งกรมบัญชีกลางประชุมพิจารณาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 แล้วมีมติให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายและมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดให้โจทก์ทราบ โดยหนังสือลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2547 โจทก์ลงรับหนังสือเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2547 แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2548 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 1 ปี สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 10 วรรคสอง
หนังสือสรุปผลการสอบข้อเท็จจริงลงวันที่ 15 มีนาคม 2544 ที่นายอำเภอบางพลีแจ้งให้ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโจทก์ทราบแต่เพียงว่าผู้ที่น่าจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายมีบุคคลใดบ้าง และยังมีเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โดยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เพื่อพิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับผู้ต้องรับผิดและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้นั้นต้องชดใช้ต่อไป หนังสือดังกล่าวจึงยังไม่พอให้รับฟังว่าโจทก์ทราบและรู้ว่าจำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว และเนื่องจากคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งกรมบัญชีกลางประชุมพิจารณาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 แล้วมีมติให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายและมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดให้โจทก์ทราบ โดยหนังสือลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2547 โจทก์ลงรับหนังสือเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2547 แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2548 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 1 ปี สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 10 วรรคสอง