พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการร่วมทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย แม้ไม่มีเจตนาฆ่า
จำเลยที่ 3 โกรธที่ผู้ตายทวงเงิน 10 บาทที่จำเลยที่ 3ยืมไป จำเลยที่ 3 จึงชวนจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และพวกมาดัก ทำร้ายผู้ตายกับพวก สาเหตุที่ดัก ทำร้ายเป็นเรื่องเล็กน้อย จำเลยทั้งสี่มิได้พกอาวุธมาด้วย แสดงว่าเจตนาเพียงชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้ตายกับพวกเท่านั้น เมื่อชกต่อยจนผู้ตายล้มลงจำเลยที่ 1กระชากไม้รั้วจากข้างทางตี ผู้ตายจนตาย จึงเป็นการกระทำโดย เจตนาฆ่าของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเท่านั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4มิได้มีเจตนาร่วมในการกระทำในส่วนนี้ด้วย คงมีเจตนาเพียงร่วมทำร้ายร่างกายผู้ตายเท่านั้น เมื่อการร่วมทำร้ายเป็นผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีความผิดฐาน ร่วมทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการจอดรถกีดขวางการจราจรในเวลากลางคืน และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้อง
คดีที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้มีการสอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่ามีการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้านโดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบการที่จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้ กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปได้เอง โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดก่อน อ. เคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ศาลได้สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลยและขณะที่ อ.เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้อ.มิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ.เป็นพยานได้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 56,61 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทหนักที่สุดลงโทษตามมาตรา 90 พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่งเป็นความผิดบทเบาที่สุดการเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีจึงยังไม่เลิกกันศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390ซึ่งเป็น บทหนักที่สุดให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้ป่วยจิตเภท: การกระทำความผิดในขณะจิตบกพร่อง
ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยมีอาการทางประสาท ชอบนั่งคอตก ไม่พูดกับใคร กับงานไม่ได้ ไล่ชกต่อยมารดา เคยจะฟันพี่ชาย อาการดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว คราวละประมาณ30 นาที พูดด้วยไม่รู้เรื่อง บางครั้งก็ต้องใช้โซ่ล่ามจำเลยไว้ วันเกิดเหตุโจทก์ร่วมนอนเล่นอยู่บนบ้าน จำเลยไปที่ใต้ถุนบ้าน โจทก์ร่วมและพูดคนเดียวโดยไม่มีใครรู้สาเหตุว่า "คนแก่อะไร พูดไม่เป็นคำพูด" โจทก์ร่วมได้ยินเสียงจำเลยจึงลุกขึ้นไปที่ประตูถามว่า "เมื่อตะกี้มึงพูดว่าอะไร" จำเลยตอบว่า"เรื่องอะไรเกิดขึ้นไม่สนใจ อย่าใช้เสียงดัง ถ้าส่งเสียงดังจะฆ่าให้ตาย" หลังจากนั้นจำเลยเดินไปใช้ไม้ขีดไฟจุดเผาหลังคายุ้งข้าวของโจทก์ร่วมแล้วหลบหนีไป เช่นนี้จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าสาเหตุคดีนี้เกิดขึ้นเพราะโจทก์ร่วมได้ว่ากล่าวจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยโกรธแค้นขึ้นมาอย่างฉับพลัน กรณีฟังได้ว่าจำเลยซึ่งป่วยเป็นโรคจิตประเภทชนิดเรื้อรังได้กระทำความผิดในขณะที่มีจิตบกพร่องหรือเป็นโรคจิต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดในขณะจิตบกพร่องหรือเป็นโรคจิต และขอบเขตความรับผิดทางอาญาตามมาตรา 65 วรรคสอง
จำเลยป่วยเป็นโรคจิตชนิดจิตเภทเรื้อรัง วันเกิดเหตุโจทก์ร่วมนอนเล่นอยู่บนบ้าน จำเลยไปที่ใต้ถุนบ้านโจทก์ร่วมและพูดคนเดียวโดยไม่มีใครรู้สาเหตุว่า คนแก่อะไรพูดไม่เป็นคำพูด โจทก์ร่วมได้ยินเสียงจำเลย จึงลุกไปที่ประตูถามจำเลยว่าพูดอะไร จำเลยตอบว่าไม่ให้โจทก์ร่วมสนใจและอย่าใช้เสียงดังมิฉะนั้นจะฆ่าให้ตายแล้วจำเลยเดินไปใช้ไม้ขีดไฟจุดเผาหลังคายุ้งข้าวของโจทก์ร่วมพฤติการณ์เช่นนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าสาเหตุคดีนี้ เกิดขึ้นเพราะโจทก์ร่วมได้ว่ากล่าวจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยโกรธแค้นขึ้นมาอย่างฉับพลัน การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องผิดปกติวิสัย ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า บุคคลผู้มีจิตเป็นปกติจะกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยมีอาการทางประสาทมาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ คือชอบนั่งคอตกไม่พูดกับใคร ทำงานไม่ได้ ไล่ชกต่อยมารดาและเคยจะฟันพี่ชายพูดด้วยไม่รู้เรื่อง บางครั้งต้องใช้โซ่ล่ามไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดในขณะที่จิตบกพร่องหรือเป็นโรคจิตแต่ยังสามารถรู้ผิดชอบหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้างตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการร่วมกันทำร้ายร่างกายและฆ่าผู้อื่น พยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลยกับเหตุการณ์
แม้ประจักษ์พยานโจทก์จะเบิกความเพียงว่าคนที่นั่งร่วมโต๊ะอาหารช่วยกันลากร่างผู้ตายโยนลงไปในคลอง โดยมิได้ระบุชื่อว่าคนที่นั่งร่วมโต๊ะมีใครบ้าง มีจำเลยอยู่ด้วยหรือไม่ แต่โจทก์ก็มีพยานยืนยันว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยกับพวกและผู้ตายนั่งดื่มสุราอยู่ที่โต๊ะเดียวกันและเหตุการณ์ก็มีอยู่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยหรือคนใดกลับไปก่อนหรือใครมาเพิ่มอีก และมีคำให้การชั้นสอบสวนของ น. ซึ่งไม่ได้ตัวมาเบิกความชั้นพิจารณาให้การว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดด้วย พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับบาดเจ็บ พยานหลักฐานสนับสนุนการกระทำผิด
บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุระบุว่าพบกองเศษกระจกห่างทางเท้าประมาณ 3 เมตร แม้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นฝ่ายเดียว แต่เป็นหลักฐานที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบและบันทึกไว้ ดังนี้เป็นเอกสารที่รับฟังได้
การที่จำเลยลงชื่อในแผนที่เกิดเหตุเพราะพนักงานสอบสวนบอกว่าลงชื่อแล้วกลับบ้านได้ ไม่ได้หมายความว่า จำเลยถูกบังคับหรือหลอกลวง แต่เป็นการลงชื่อโดยความสมัครใจของจำเลยเอง
เมื่อศาลเห็นไม่สมควรสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยก็ไม่จำต้องปรับบทตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 162 อีก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
การที่จำเลยลงชื่อในแผนที่เกิดเหตุเพราะพนักงานสอบสวนบอกว่าลงชื่อแล้วกลับบ้านได้ ไม่ได้หมายความว่า จำเลยถูกบังคับหรือหลอกลวง แต่เป็นการลงชื่อโดยความสมัครใจของจำเลยเอง
เมื่อศาลเห็นไม่สมควรสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยก็ไม่จำต้องปรับบทตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 162 อีก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วม ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: การแบ่งหน้าที่กระทำความผิดและความรับผิดทางอาญา
จำเลยกับ ช.และม.ร่วมกันไปที่บ้านส.โดยจำเลยทราบดีว่าช.และ ม. ต้องการฆ่าผู้ตาย ช.และม.บังคับส. ให้ไปลวงผู้ตายมาที่บ้าน ส.จำเลยไปกับส. ด้วยโดยไม่ปรากฏว่าถูกขู่บังคับเมื่อผู้ตายมาที่บ้าน ส. แล้วจะกลับที่พักจำเลยถือตะเกียงเดินตามหลังผู้ตายไปเพื่อให้คนร้ายยิงผู้ตายไม่ผิดตัว การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยจึงเป็นตัวการในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3708/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่า, พยายามฆ่า, การกระทำร่วมกัน, และความรับผิดทางอาญาที่แตกต่างกันของผู้กระทำ
จำเลยที่ 1 ใช้มีดปลายแหลมตัวมีดยาวประมาณ 6 นิ้วกว้างประมาณ 1 นิ้ว ยาวตลอดด้ามประมาณ 10 นิ้วครึ่ง แทงผู้ตายที่กลางหน้าอกทะลุกระดูกหน้าอก เยื่อหุ้มหัวใจ ปอดข้างขวา และแทงผู้เสียหายถูกที่ด้านหลังซ้ายยาว 2 เซนติเมตร กว้าง 0.3เซนติเมตร ลึก 15 เซนติเมตร ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายและผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหาย
ผู้ตายและผู้เสียหายกับพวกจำเลยไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองคืนเกิดเหตุพวกจำเลยมีเจตนามาดักทำร้ายพวกวัยรุ่นที่วิวาทกันในคืนก่อน ไม่มีเจตนาที่จะร่วมกันทำร้ายผู้ตายและผู้เสียหายแต่อย่างใด แต่เหตุเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนโดยจำเลยที่ 2 ใช้ขวดเบียร์ตีผู้เสียหายและจำเลยที่ 3 ชกต่อยผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 1 ใช้มีดแทงผู้ตายและผู้เสียหายนั้นก็เป็นเรื่องต่างคนต่างกระทำแม้จะหลบหนีไปด้วยกันก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1ฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหาย เมื่อจำเลยที่ 2 ใช้ขวดเบียร์ตีไม่ถูกผู้เสียหายและการที่จำเลยที่ 3 ชกต่อยผู้เสียหายก็ไม่ปรากฏบาดแผลอะไร จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกาย ส่วนจำเลยที่ 3 คงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายและจิตใจเท่านั้น.
ผู้ตายและผู้เสียหายกับพวกจำเลยไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองคืนเกิดเหตุพวกจำเลยมีเจตนามาดักทำร้ายพวกวัยรุ่นที่วิวาทกันในคืนก่อน ไม่มีเจตนาที่จะร่วมกันทำร้ายผู้ตายและผู้เสียหายแต่อย่างใด แต่เหตุเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนโดยจำเลยที่ 2 ใช้ขวดเบียร์ตีผู้เสียหายและจำเลยที่ 3 ชกต่อยผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 1 ใช้มีดแทงผู้ตายและผู้เสียหายนั้นก็เป็นเรื่องต่างคนต่างกระทำแม้จะหลบหนีไปด้วยกันก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1ฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหาย เมื่อจำเลยที่ 2 ใช้ขวดเบียร์ตีไม่ถูกผู้เสียหายและการที่จำเลยที่ 3 ชกต่อยผู้เสียหายก็ไม่ปรากฏบาดแผลอะไร จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกาย ส่วนจำเลยที่ 3 คงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายและจิตใจเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการไม่ถอนฟ้องคดีเช็ค แม้มีการผ่อนชำระหนี้ แต่ไม่มีข้อตกลงถอนฟ้องเมื่อชำระหนี้ครบ
คดีเดิม จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ศาลลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มีการตกลงกันว่าจำเลยขอผัดผ่อนการชำระหนี้แก่โจทก์เพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจ ลงโทษจำเลยต่อไป ไม่มีข้อตกลงว่า เมื่อโจทก์ชำระเงินงวดสุดท้ายแล้วจำเลยจะถอน ฟ้อง หรือจะถอน ฟ้องเมื่อโจทก์ชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ชำระหนี้งวดสุดท้ายเกินกำหนดเวลาในข้อตกลงเกือบ 2 เดือนจึงไม่มีความผูกพันที่จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอถอน ฟ้อง ดังนั้นการที่โจทก์ต้องถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกมิใช่เป็นผลจากการกระทำของจำเลย คดีต้องห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายของศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน หากข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ย่อมรับฟังข้อเท็จจริงใหม่เพิ่มเติมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จทำให้ผู้อื่นถูกระงับบริการ – องค์ประกอบความผิดไม่ครบถ้วน
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปความได้ว่า โจทก์เป็นผู้ใช้และครอบครองเครื่องโทรศัพท์ จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนำความเท็จไปแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาของจำเลยว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่าโทรศัพท์ขอให้ระงับการใช้โทรศัพท์ของโจทก์ ผู้บังคับบัญชาของจำเลยหลงเชื่อ อนุมัติให้ระงับการใช้โทรศัพท์ จนโจทก์ต้องนำเงินไปชำระให้แก่จำเลยดังนี้ตามคำบรรยายฟ้องหาเป็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด ศาลต้องยกฟ้อง.