พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขบังคับก่อนที่เป็นโมฆะ หากมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
ส. กับโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทจึงเป็นผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลคดีที่จำเลยกับ ก. พิพาทกัน การที่ ส. กับโจทก์ทำสัญญาตกลงออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆให้จำเลยในการดำเนินคดีโดยหวังจะได้ที่ดินพิพาทนั้นเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยมีข้อตกลงให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการเป็นความ ซึ่ง ส. กับโจทก์คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลคดีนั้น เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) ไม่ใช่สัญญาที่เข้าลักษณะจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2020/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลย - การสอบถามความต้องการทนายความ - กระบวนการยุติธรรมที่ไม่ชอบ - ปัญหาความสงบเรียบร้อย
คดีที่มีอัตราโทษจำคุกเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีและต้องการทนายความหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของจำเลย เมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ปรากฏว่าได้มีการดำเนินการดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ภาค 1ไม่ได้ดำเนินการให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขให้ถูกต้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม กระบวนพิจารณา อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ จึงเป็น ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. กรณีจำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา และศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายและร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่าการที่จำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่ายถือไม่ได้ว่าเป็นการผลิตตามความหมายของคำว่าผลิตตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 4 และขอให้ลงโทษสถานเบา จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่าจำเลยไม่ได้แบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่าย ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่ายหรือไม่ จึงยุติไปแล้วจำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันว่า จำเลยได้แบ่งเมทแอมเฟตามีนบรรจุใส่หลอดพลาสติกเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้องนั้นหาได้ไม่เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการพิจารณาคดีโดยไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นนัดให้โจทก์มาศาลเพื่อสอบถาม ไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องอะไร จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดสืบพยานโจทก์ ศาลจะพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 และ 181 ไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์มายื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นโดยไม่มีใบมอบฉันทะตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การยื่นคำฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลชั้นต้นจะสั่งประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (กัญชา) ที่ศาลลืมวินิจฉัย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ริบกัญชาของกลาง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับกัญชาของกลางดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ.มาตรา 32 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9) เมื่อกัญชาของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ดังกล่าว จึงต้องริบกัญชาของกลางตาม ป.อ.มาตรา 32ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งให้ริบได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (ยาเสพติด) ที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์มิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ริบกัญชาของกลาง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับกัญชาของกลางดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(9) เมื่อกัญชาของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงต้องริบกัญชาของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งให้ริบได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5883/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดีอาญา แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 144, 33และให้ริบเงินสดของกลางที่จำเลยได้ให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้เจ้าพนักงานปล่อยตัวจำเลยไป โดยไม่ต้องนำส่งพนักงานสอบสวน การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186(9) ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องและพิพากษาให้ริบของกลางได้ ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดทายาท, ค่าขึ้นศาล, ปัญหาความสงบเรียบร้อย
เมื่ออายุความละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ซึ่งเป็นคุณแก่ ส.ผู้ตายจะครบกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ ส.ตาย สิทธิของโจทก์ผู้ถูกกระทำละเมิดที่จะฟ้องทายาทผู้รับมรดกของ ส.จึงอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 193/23 โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.ในวันที่ยังไม่ครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันอันเป็นวันที่ ส.ตาย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมาจึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่โจทก์
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมาจึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อนเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ และการวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับความสงบเรียบร้อย
คดีก่อนจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องส.เป็นจำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/1 จะเข้าไปรื้อบ้านหลังดังกล่าวของจำเลยที่ 2 แต่ส.กับโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยากันขัดขวางขอให้ห้าม ส. และโจทก์ขัดขวางการรื้อบ้านโจทก์ให้การในคดีก่อนว่า จำเลยที่ 2 จะรื้อบ้านเลขที่ 81/3ของโจทก์ และฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 2 รื้อบ้านเลขที่ 81/1ของจำเลยที่ 2 ออกไปศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าหลังจากการบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว โจทก์ได้ขอออกเลขที่บ้านใหม่เป็นเลขที่ 81/3 เมื่อ จำเลยที่ 2 ซื้อบ้านตามคำสั่งศาลโดยสุจริตจึงย่อมได้กรรมสิทธิ์ ห้ามส.และโจทก์เกี่ยวข้องหรือขัดขวางในการที่จำเลยที่ 2จะทำการรื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันได้มีการออกทะเบียนบ้าน ใหม่เป็นเลขที่ 81/3 ฟ้องแย้งของโจทก์ให้ยกเสีย คำพิพากษา ในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 2 ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งและเมื่อคำพิพากษานั้นวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวว่าเป็นของจำเลยที่ 2 จึงย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกคือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2) คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ซื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 81/3 ตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้กรรมสิทธิ์ เท่ากับศาลมีคำวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าของ บ้านเลขที่ 81/3 การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้โดยยกข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า บ้านเลขที่ 81/3 เป็นของโจทก์อีก และจำเลยที่ 2 ก็ให้การว่า บ้านเลขที่ดังกล่าวไม่ใช่ของโจทก์ ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3 หรือไม่ จึงถือว่า ประเด็นข้อพิพาทนี้ได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีก่อน ดังนั้น ข้อวินิจฉัยเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในบ้านเลขที่ 81/3 จึงย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ด้วย แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ ยกเป็นข้อต่อสู้ว่าคำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันโจทก์ก็ตาม เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจ ยกข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์บ้านเลขที่ 81/3 ในคดีก่อนขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(5) มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือคำฟ้องและ คำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายจัดหางานย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 มาตรา 34 ที่ให้เพิ่มความตามมาตรา 91 ตรี แห่งพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ยังไม่มีผลใช้บังคับ กรณีจึงนำมาตรา 91 ตรี มาใช้ย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195