คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความสับสน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกันในธุรกิจต่างประเภท ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือความสับสน จึงไม่ถือเป็นการละเมิด
แม้โจทก์จะได้ใช้คำว่า SHERATON มาเป็นเวลาช้านาน และเป็นคำสำคัญในชื่อโรงแรมของโจทก์ ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่โจทก์ประกอบธุรกิจเฉพาะโรงแรม ส่วนจำเลยทำการค้าเพชร พลอย เครื่องประดับ ฯลฯ อันเป็นธุรกิจที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ไม่อาจที่จะเห็นได้ว่ามีการซับซ้อนอย่างแท้จริงได้ สำหรับกิจการของโรงแรมโจทก์กับกิจการของห้างจำเลย หรือชื่อของห้างจำเลยนั้นจะทำให้เกิดความสับสน หรือความเข้าใจผิดขึ้นระหว่างชนทั่วไปแก่โรงแรมโจทก์ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่กิจการของโจทก์ก็หาไม่ การที่โจทก์ใช้คำว่า SHERATON ประทับไว้ในบรรดาสิ่งของเครื่องใช้ของโรงแรมโจทก์ และพิมพ์บนกระดาษเขียนจดหมาย ภาพถ่าย กลักไม้ขีด และอื่น ๆ เป็นเพียงมุ่งหวังโฆษณาชี้ชวนในกิจการโรงแรมของโจทก์เป็นประการสำคัญ หาทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้ห้ามจำเลยตามฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อการค้าที่คล้ายกันในธุรกิจต่างประเภท ไม่ทำให้เกิดความสับสนและเสียหายต่อผู้อื่น จึงไม่ถือเป็นการละเมิด
แม้โจทก์จะได้ใช้คำว่า SHERATON มาเป็นเวลาช้านาน และเป็นคำสำคัญในชื่อโรงแรมของโจทก์ ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ฯ ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่โจทก์ประกอบธุรกิจ เฉพาะโรงแรม ส่วนจำเลยทำการค้าเพชร พลอย เครื่องประดับ ฯลฯอันเป็นธุรกิจที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ไม่อาจที่จะเห็นได้ว่ามีการซับซ้อนอย่างแท้จริงได้ สำหรับกิจการของโรงแรมโจทก์กับกิจการของห้างจำเลยหรือชื่อของห้างจำเลยนั้นจะทำให้เกิดความสับสนหรือความเข้าใจผิดขึ้นระหว่างชนทั่วไปแก่โรงแรมโจทก์ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่กิจการของโจทก์ก็หาไม่ การที่โจทก์ใช้คำว่า SHERATON ประทับไว้ในบรรดาสิ่งของเครื่องใช้ของโรงแรมโจทก์ และพิมพ์บนกระดาษเขียนจดหมาย ภาพถ่าย กลักไม้ขีด และอื่น ๆ เป็นเพียง มุ่งหวังโฆษณาชี้ชวนในกิจการโรงแรมของโจทก์เป็นประการสำคัญหาทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้ห้ามจำเลยตามฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางการค้าโดยไม่สุจริต เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค
โจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วยโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า " HALLS " และได้จดทะเบียนเครื่องหมายดังกล่าวในจำพวกที่ 3 สำหรับสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วย ซึ่งกองเครื่องหมายการค้าได้จดทะเบียนแล้วเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2506 ครั้นวันที่ 23 มีนาคม 2510 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า " HALL" ในสินค้าจำพวก 48 เครื่องสำอาง ดังนี้ความสำคัญที่เห็นเด่นชัดที่ผู้ซื้อสนใจหรือสังเกตว่าเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าอยู่ตรงที่มีอักษรโรมันและสำเนียงที่เรียกขานทั้งของโจทก์และของจำเลยก็อ่านว่า "ฮอลล์" อย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์นำสืบให้เห็นว่าสินค้าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายโดยโจทก์ได้แพร่ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ภาพยนตร์ เอกสารสิ่งพิมพ์แผ่นป้ายโฆษณา และหน่วยรถฉายภาพยนตร์แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวจึงส่อให้เห็นถึงการฉวยโอกาสเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์จำหน่ายสินค้าของจำเลย อันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย เพราะผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น การกระทำของจำเลยเป็นการส่อเจตนาที่จะลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนก่อให้เกิดความสับสนและความเสียหายต่อเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิม
เครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE' 'GARDOL' และ'GARDENT'ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLDENT' ของจำเลยต่างขอจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำ โดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดาการใช้อักษรตลอดจนการออกสำเนียงในการอ่านคล้ายคลึงกันคำในพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า'COL'เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE' ของโจทก์และคำในพยางค์ท้ายมีคำว่า 'DENT' เช่นเดียวกับคำในพยางค์ท้ายของเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GARDENT' ของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อให้เห็นถึงการจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์แม้จะเป็นการจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำสำหรับสินค้าจำพวก 48ทั้งจำพวก ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกต หรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อย จึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามนัยแห่งมาตรา 16พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2504 มาตรา 4
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องสลากพื้นสีแดง ประกอบอักษรโรมันขนาดใหญ่สีขาวคำว่า 'COLDENT'และอักษรโรมันขนาดย่อมคำว่า 'ANTI-ENZYME TOOTH PASTEซึ่งมีรูปลักษณะของกล่อง การวางตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษรสีของกล่อง และสีตัวอักษร คล้ายกับสลากกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมความนิยม โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าลงไปบ้างเป็นเงิน 20,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยผลิตยาสีฟัน 'COLDENT' ออกจำหน่ายตลอดมาจนปัจจุบันแม้จำเลยจะเริ่มผลิตมาตั้ง 10 ปีแล้ว การละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จำเลยกระทำก็คงมีอยู่ตลอดเรื่อยไปทั้งโจทก์ยังได้นำคดีมาฟ้องจำเลยภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า คดีของโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค ถือเป็นการละเมิดสิทธิและลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE''GARDOL' และ'GARDENT'ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLDENT' ของจำเลยต่างขอจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำ โดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา การใช้อักษรตลอดจนการออกสำเนียงในการอ่านคล้ายคลึงกัน คำในพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า'COL' เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE' ของโจทก์ และคำในพยางค์ท้ายมีคำว่า 'DENT' เช่นเดียวกับคำในพยางค์ท้ายของเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GARDENT' ของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อให้เห็นถึงการจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะเป็นการจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำสำหรับสินค้าจำพวก 48 ทั้งจำพวก ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกต หรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อย จึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามนัยแห่งมาตรา 16พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 มาตรา 4
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องสลากพื้นสีแดง ประกอบอักษรโรมันขนาดใหญ่สีขาวคำว่า 'COLDENT'และอักษรโรมันขนาดย่อมคำว่า 'ANTI-ENZYMETOOTHPASTEซึ่งมีรูปลักษณะของกล่อง การวางตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษร สีของกล่อง และสีตัวอักษร คล้ายกับสลากกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมความนิยม โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าลงไปบ้างเป็นเงิน 20,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยผลิตยาสีฟัน 'COLDENT' ออกจำหน่ายตลอดมาจนปัจจุบันแม้จำเลยจะเริ่มผลิตมาตั้ง 10 ปีแล้ว การละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จำเลยกระทำก็คงมีอยู่ตลอดเรื่อยไปทั้งโจทก์ยังได้นำคดีมาฟ้องจำเลยภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า คดีของโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความสับสนต่อผู้บริโภค ถือเป็นการละเมิดสิทธิ แม้จะมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายคำเป็นอักษโรมัน คือ ของโจทก์ คำว่า COLGATE และ GARDENT ส่วนของจำเลยคำว่า COLDANG เห็นว่าแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงตัวอักษรที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้นไม่มีลักษณะคล้ายเหมือนกับอักษรเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ประการใด
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์ แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ การกระของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงที่ทำให้เกิดความสับสนและเจตนาทุจริต
จำเลยใช้ชื่อเครื่องหมายการค้า SANDREX ผิดกับของโจทก์ซึ่งใช้ANDREX เพียงอักษรตัวหน้าตัวเดียว ซึ่งหากผู้พูดหรือฟังไม่ชัดอาจเข้าใจผิดหลงง่ายทั้งรูปรอยประดิษฐ์ สีก็คล้ายคลึงกัน การวินิจฉัยว่าเลียนแบบหรือไม่ ไม่ถือหลักว่าต้องใช้ความสังเกตอย่างละเอียดเสียก่อน เมื่อสินค้าโจทก์เป็นที่นิยมแพร่หลายการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมแสดงเจตนาไม่สุจริตของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงและเจตนาเลียนแบบเพื่อสร้างความสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ 2 ตรา เป็นรูปเด็กจูงควายและนกขี่ควายของจำเลยเป็นรูปเด็กจูงและฉุดควาย กับควายขี่นก. เห็นได้ว่ามีสารสำคัญอย่างเดียวกันคือควายกับเด็กและควายกับนก. แม้จะมีการผิดแปลกแตกต่างกันไปบ้างแต่สารสำคัญของเครื่องหมายทั้งสองก็ยังคงเป็นอย่างเดียวกัน. เช่นนี้เรียกได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายคลึงกับของโจทก์. ทั้งเมื่อพิจารณาถึงการขานชื่อก็เป็นการเรียกขานชื่ออย่างเดียวกัน ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้ว อาจทำให้ผู้ซื้อผิดหลงได้. และเมื่อปรากฏว่าเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่รับจดทะเบียนให้มาก่อนครั้งแรก ต่อเมื่อจำเลยได้ดัดแปลงจนได้รับจดให้ภายหลัง. ย่อมส่อเจตนาของจำเลยว่าประสงค์จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันในสินค้าต่างประเภท หากไม่ทำให้สาธารณชนสับสน ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์จำเลยต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้าที่อ่านแล้วมีสำเนียงคล้ายคลึงกัน คือ Hi-PEX และ HYPEX กับสินค้าของตนซึ่งเป็นคนละชนิด โดยโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวกยาและเครื่องหอม ส่วนจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเล่นจานเสียง บันทึกเสียง ฯลฯ ทั้งโจทก์จำเลยต่างได้ใช้กันมาโดยสุจริตและนานมาแล้ว จำเลยมิได้ลอกหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ กรณีเป็นเรื่องโจทก์จำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนมาโดยสุจริตเป็นเวลาช้านานสำหรับสินค้าของตน ไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดหรือหลงผิดว่าสินค้าจำเลยเป็นสินค้าโจทก์ หรือทำให้ความเป็นเจ้าของสับสนแต่อย่างใด จำเลยจึงมีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณารูปแบบโดยรวม สำเนียงเรียกขาน และสินค้าประเภทเดียวกัน เพื่อป้องกันความสับสน
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดในขณะที่จดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาภาพรวมของเครื่องหมายการค้านั้นเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วว่ามีความเหมือนหรือคล้ายกันในสาระสำคัญหรือในลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้านั้นหรือไม่ หากเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีภาคส่วนถ้อยคำประกอบรูป นอกจากจะพิจารณาลักษณะเด่น หรือสาระสำคัญ ของเครื่องหมายการค้าแล้วยังต้องพิจารณาถึงสำเนียงเรียกขานเครื่องหมายการค้านั้น และต้องพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้านั้นใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน
แม้สาระสำคัญหรือลักษณะเด่นในเครื่องหมายการค้าจะเป็นภาพปลาโลมาซึ่งเป็นสัตว์ตามธรรมชาติเช่นเดียวกัน แต่เมื่อภาพประดิษฐ์ปลาโลมาในเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวมีความแตกต่างกันในภาพรวม เช่น จำนวนของปลาโลมา หรือการจัดองค์ประกอบของภาพที่แสดงให้เห็นว่าปลาโลมาได้หันไปคนละทิศทางกันและมีคลื่นทะเลประกอบอยู่ด้วย เครื่องหมายการค้าของโจทก์และบริษัท ช. จึงต่างก็มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองตามมาตรา 7 (6) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ทั้งภาพปลาโลมาก็มิใช่สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าข้าวที่โจทก์จะต้องแสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2537 มาตรา 17 แต่อย่างใด
เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีภาคส่วนถ้อยคำเป็นอักษรจีนและภาคส่วนของอักษรโรมัน คำว่า "TWIN DOLPHINS" ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ช. มีภาคส่วนถ้อยคำเป็นอักษรโรมันคำว่า "BLUE DOLPHIN" จึงมีเพียงอักษรโรมันคำว่า "DOLPHIN" ที่เหมือนกันเท่านั้น ทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในส่วนของอักษรจีนอ่านออกเสียงได้ว่า "ซวงห่ายถุน" และอักษรโรมันคำว่า "TWIN DOLPHINS" มีความหมายว่า ปลาโลมาคู่ จึงอาจออกเสียงเรียกขานได้ว่า ซวงห่ายถุน หรือ ทวินดอลฟิน หรือปลาโลมาคู่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ช. มีอักษรโรมันคำว่า "BLUE DOLPHIN" มีความหมายว่า ปลาโลมาสีน้ำเงิน จึงอาจออกเสียงเรียกขานได้ว่า บลูดอลฟิน หรือปลาโลมาสีน้ำเงิน สำเนียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับบริษัท ช. จึงแตกต่างกัน แม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันเป็นรายการสินค้าข้าว ก็ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
of 8