คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความสัมพันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์จ้างแรงงาน: แม้มีเอกสารจ้างเหมา หากพฤติการณ์เป็นจ้างแรงงาน ศาลยึดพฤติการณ์จริง
จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ขับรถยนต์ตามคำสั่งของบริษัทจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2สั่งให้จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จากที่ทำการของจำเลยที่ 1ไปส่งยังที่ทำการของจำเลยที่ 2 เพื่อนำไปขายเดือนละประมาณ 10 คันคันละเที่ยว จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างให้เที่ยวละ 550 บาท ระหว่างปฏิบัติงานอยู่กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จะไปขับรถยนต์ที่อื่นไม่ได้เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ทำการงานให้แก่จำเลยที่ 2 และอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นรายเที่ยว ก็เป็นเพียงวิธีการคำนวณสินจ้างและกำหนดการจ่ายเงิน เมื่องานที่ทำแล้วเสร็จเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 เมื่อจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ไปในทางการที่จ้างและได้ทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในความเสียหายที่จำเลยที่ 3 ก่อขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายมรดกในราคาต่ำกว่าราคาตลาด และความสัมพันธ์ของผู้ขายกับผู้ซื้อ อาจเข้าข่ายเป็นการฉ้อฉล
ราคาที่ดินและบ้านพิพาทรวมกันประมาณ 70,000-100,000 บาทการที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 2 ในราคา 15,000 บาท จึงเป็นราคาที่ต่ำไม่เหมาะสมนอกจากนี้จำเลยที่ 1 ขอจำเลยที่ 2 มาเลี้ยงดูอย่างลูกและอยู่บ้านเดียวกัน ทายาทโดยธรรมของผู้ตายไม่มีโอกาสรู้เห็นการขายที่ดินและบ้านพิพาท มีวี่แววให้น่าสงสัยถึงความไม่สุจริตของจำเลยทั้งสองจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยเป็นการฉ้อฉลทำให้โจทก์ทั้งสองและทายาทโดยธรรมเสียเปรียบ ศาลเพิกถอนเสียได้ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทกันในราคา 60,000 บาท แต่จดทะเบียนเพียง 15,000 บาท นั้น จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น จึงไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยที่ 1 มิใช่ผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายตั้งใจจัดการทำศพทายาทผู้ตายก็ไม่ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการศพจำเลยกระทำตามอำเภอใจ ใช้จ่ายค่าจัดการศพผู้ตายไปเองค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ที่เจ้ามรดกต้องชดใช้ให้แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 จำเลยจึงหามีสิทธิที่จะหักหนี้ค่าจัดการศพผู้ตายไว้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง vs. นายจ้าง: การพิจารณาความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้อำนวยการธนาคารจำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างตามคำนิยาม"นายจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2แต่ก็เป็นนายจ้างของพนักงานของจำเลยมิใช่เป็นนายจ้างของจำเลยฐานะระหว่างโจทก์และจำเลยนั้น โจทก์ก็เป็นผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่จำเลยเพื่อรับค่าจ้างของจำเลย โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลยตามคำนิยาม "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยนั้นในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันที่1 ตุลาคม 2528 ซึ่งเป็นวันเลิกจ้างเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่นับจากวันที่ฟ้องย้อนหลังไปเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างยศทหารและอำนาจศาล
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งมีอาชีพรับราชการทหารกับพวกคือสิบเอก ส.ร่วมกันกระทำผิดฆ่าผู้ตาย ผู้ตายได้ใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส.ถึงแก่ความตาย ก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าตามฟ้องสิบเอก ส.เป็นนายทหารประทวนประจำการ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16 (3) เพราะยศทหารมิได้ใช้เฉพาะทหารประจำการเท่านั้น และการที่ผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส.อาจเป็นการป้องกันโดยชอบไม่มีความผิดก็ได้ จึงถือว่าผู้ตายกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้ต่อมาโจทก์นำสืบได้ความว่าขณะถูกโจทก์กล่าวหาว่ากระทำผิด สิบเอก ส.รับราชการทหาร เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังจากเมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้วว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ซึ่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 15 วรรคสอง ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ แม้โจทก์จะมิได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับสิบเอก ส.ขึ้นฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจศาลซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยา แม้ต่างมีคู่สมรสเดิม
โจทก์จำเลยต่างมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้มาอยู่กินฉันสามีภริยาและช่วยกันประกอบอาชีพขับรถรับส่งผู้โดยสารทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันคนละเท่า ๆ กัน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้ และแม้ทรัพย์สินดังกล่าวจะเกิดขึ้นในขณะที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันโดยยังมิได้ขาดจากการสมรสอยู่กับคู่สมรสเดิมก็หาเป็นเหตุขัดข้องในการขอแบ่งไม่ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5251/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสลากกินแบ่งและการผิดสัญญา ไม่เข้าข่ายความผิดฐานยักยอก
โจทก์ร่วมมอบหมายให้จำเลยขายสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ร่วมตามราคาในสลาก จำเลยย่อมมีอิสระที่จะขายสลากแก่ผู้ใดในราคาใดหรือราคาสูงกว่าราคาในสลากก็ได้ โจทก์ร่วมหาได้สนใจการจำหน่ายของจำเลยไม่ คงคำนึงแต่เพียงว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าสลากมาชำระให้เท่านั้น กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยขายสลากอย่างเป็นของตนเอง หาใช่เป็นตัวแทนไปขายในนามของโจทก์ร่วมไม่ และการที่มีข้อตกลงให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นเงิน30 บาท ต่อการขายสลาก 1 เล่ม ก็ไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยไม่นำเงินค่าสลากมาชำระให้โจทก์ร่วมจึงเป็นเรื่องผิดข้อตกลงในทางแพ่ง มิใช่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นตัวแทน ไม่ใช่รับขนส่ง ทำให้จำเลยต้องชำระค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง
ประเด็นที่ว่า โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยหรือไม่นั้น โจทก์ได้กล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่โจทก์เป็นผู้จัดส่งสินค้าให้จำเลยโดยเป็นผู้ติดต่อสายการบินทำการชนส่งให้ ติดต่อเกี่ยวกับพิธีการศุลกากร เป็นการกระทำแทนจำเลยทั้งสิ้นมิใช่กระทำในนามของโจทก์เองโดยตรง ใบตราส่งซึ่งเป็นของสายการบินก็ระบุว่าจำเลยในนามโจทก์เป็นผู้ส่งของ รายการในใบเสร็จรับเงินที่โจทก์เรียกเก็บเงินจากจำเลยก็ได้ระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายแทนจำเลยไว้ว่า มีค่าระวางสินค้าทางอากาศ ค่าล่วงเวลาศุลกากร/เปิดศุลกสถานค่าอากร ค่านายตรวจ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่าธรรมเนียมคลังสินค้าค่ารถบรรทุกและอื่น ๆ แยกต่างหากจากค่าบริการของโจทก์ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดว่าโจทก์คิดแต่เพียงค่าบริการในการจัดส่งสินค้าให้จำเลยเท่านั้น มิได้คิดค่าระวางพาหนะในฐานะเป็นผู้ขนส่งแต่อย่างใดลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการให้บริการในการจัดส่งสินค้ายิ่งกว่าเป็นผู้ขนส่งเสียเอง เพราะไม่มีการกระทำอันแสดงว่าโจทก์ตกลงขนของหรือสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อบำเหน็จซึ่งได้แก่ค่าระวางพาหนะ และโจทก์ได้ออกใบตราส่งเองแต่อย่างใดความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนมิใช่รับขนทั้งโจทก์ไม่ได้ทำการชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญากับผู้ใด และไม่ได้จัดการให้จำเลยได้ทำสัญญากับผู้ใดด้วยการกระทำของโจทก์ จึงไม่เข้าลักษณะนายหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 การที่สินค้าของจำเลยสูญหาย เสียหายหรือถึงที่หมายล่าช้าเนื่องจากการขนส่งของสายการบินโดยไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบจำเลยต้องชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้ออกไปเนื่องในการจัดทำกิจการแก่โจทก์พร้อมทั้งบำเหน็จตามสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2500/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะเจ้าของโรงงาน: โจทก์ฟ้องแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ แม้เป็นเจ้าของที่ดิน
โจทก์ฟ้องคดีในนามของตนเอง หาได้ฟ้องในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ไม่ แม้ฟ้องโจทก์จะได้บรรยายว่า โจทก์เป็นเจ้าของโรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์ แต่ก็มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าโจทก์ได้กระทำการแทนนิติบุคคลดังกล่าว ดังนั้น เมื่อโรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์เป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของโรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ เป็นประเด็นไว้ ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927-1928/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์ระหว่างคดีอาญาและคดีแพ่ง: โจทก์ในคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง
คดีสำนวนหลังซึ่งจำเลยเป็นโจทก์เป็นคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านในปัญหาข้อนี้ แต่กลับฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายประมาท และฎีกาเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าเสียหาย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อัยการศาลทหารกรุงเทพได้ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าอัยการศาลทหารกรุงเทพฟ้องคดีอาญาแทนโจทก์ โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่คู่ความรายเดียวกับโจทก์ในคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพผลของคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพย่อมไม่ผูกพันโจทก์ ศาลที่พิจารณาคดีแพ่งจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง ต้องพิจารณาอำนาจบังคับบัญชาเป็นหลัก
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ตาม สัญญาเอกสารหมาย ล.2 มิใช่ลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ดังนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าสัญญาเอกสารหมาย ล.2 ไม่ใช่สัญญาตัวแทนนั้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมานั้นแปรเปลี่ยนเป็นสัญญาจ้างได้ อุทธรณ์โจทก์ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
of 20