พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า: พิจารณาความแตกต่างของชื่อและลักษณะสินค้าเพื่อป้องกันความเข้าใจผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คือ GQ ของจำเลยใช้ RQ และมีอักษรกำกับว่า ROSEQUEEN บอกที่ผลิต ไม่ทำให้หลงว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตตามมาตรา 1312 ผู้สร้างเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนไม่ต้องรื้อ
การสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินผู้อื่นโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 นั้น หมายความว่าผู้สร้างโรงเรือนต้องรู้ในขณะสร้างว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของคนอื่น จึงจะเรียกได้ว่าไม่สุจริต ถ้าผู้สร้างเข้าใจว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของตนจึงสร้างโรงเรือนรุกล้ำไปครั้นต่อมาจึงทราบว่าที่ตรงรุกล้ำนั้นไม่ใช่ของตนต้องถือว่าเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อ้างว่าจำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวเข้ามาในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต อ้างเพียงว่าที่ดินที่จำเลยปลูกตึกรุกล้ำเข้ามาเป็นที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อ้างถึงความไม่สุจริตของจำเลย จำเลยก็ไม่จำต้องให้การต่อสู้ถึงความไม่สุจริตได้ แต่ที่จำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์หาจำเลยรุกล้ำปลูกตึกเป็นที่ดินของจำเลยนั้น ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการแสดงว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างตึกแถวโดยสุจริต และที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นนำสืบไว้ว่า "จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์หรือไม่ จะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่" นั้น ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ในตัวของประเด็นที่ตั้งไว้นั้นที่จะต้องพิจารณาถึงด้วยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปนั้นเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยจะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่ และการจะให้จำเลยรื้อตึกแถวนั้นหรือไม่ก็ต้องอาศัยข้อเท็จจริงถึงความสุจริตของจำเลยว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้สร้างรุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตก็จำต้องยก มาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาปรับบทให้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ยกเหตุจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อ้างว่าจำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวเข้ามาในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต อ้างเพียงว่าที่ดินที่จำเลยปลูกตึกรุกล้ำเข้ามาเป็นที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อ้างถึงความไม่สุจริตของจำเลย จำเลยก็ไม่จำต้องให้การต่อสู้ถึงความไม่สุจริตได้ แต่ที่จำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์หาจำเลยรุกล้ำปลูกตึกเป็นที่ดินของจำเลยนั้น ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการแสดงว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างตึกแถวโดยสุจริต และที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นนำสืบไว้ว่า "จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์หรือไม่ จะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่" นั้น ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ในตัวของประเด็นที่ตั้งไว้นั้นที่จะต้องพิจารณาถึงด้วยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปนั้นเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยจะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่ และการจะให้จำเลยรื้อตึกแถวนั้นหรือไม่ก็ต้องอาศัยข้อเท็จจริงถึงความสุจริตของจำเลยว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้สร้างรุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตก็จำต้องยก มาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาปรับบทให้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ยกเหตุจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำให้การล่าช้าเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องวันรับหมาย และการไต่สวนคำร้องยื่นคำให้การ
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีในวันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2518ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ครบกำหนดยื่นคำให้การวันที่ 31 ตุลาคม 2518 จำเลยยื่นคำให้การเลยกำหนดจึงไม่รับคำให้การ และสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำร้องว่าไม่ได้จงใจขาดนัดเพราะจำเลยป่วยเป็นไข้ และจำวันรับหมายผิดจึงบอกวันรับหมายกับทนายผิดไป ทนายจึงยื่นคำให้การล่วงเลยกำหนดไป 1 วัน ศาลชั้นต้นสั่งว่าการบอกวันรับหมายผิดไม่ใช่ข้อแก้ตัวให้ยกคำร้อง จำเลยโต้แย้งคำสั่งไว้แล้ว ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์ไปตามนัด แล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี เมื่อปรากฏตามใบรับหมายเรียกท้ายรายงานเจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในวันที่ 25 ตุลาคม2518 ซึ่งถ้าเป็นความจริง คำให้การที่จำเลยยื่นไว้ก็เป็นการยื่นในกำหนดเวลาตามกฎหมายและคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยก็อ้างเหตุเจ็บป่วยจึงมีเหตุสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและสั่งคำร้องของจำเลย แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890-2891/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาความผิดทางอาญา: การกระทำที่ขาดเจตนาเนื่องจากความเข้าใจผิดจากเจ้าหน้าที่
หลังจากทางราชการเข้าไปรังวัดเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วทางราชการมิได้แจ้งหรือฟ้องขับไล่ให้จำเลยออกจากป่าสงวนแห่งชาติ แต่กลับออกประกาศกำหนดให้ผู้ครอบครองที่ดินแจ้งการครอบครองเพื่อจะพิจารณาสอบสิทธิของผู้ครอบครองที่ดิน จำเลยก็ยื่นคำร้องว่าตนมีสิทธิในที่ดินที่ครอบครองภายในกำหนด นอกจากนี้ทางราชการยังเรียกประชุมราษฎรห้ามมิให้บุกเบิกป่าสงวนแห่งชาติต่อไป คงให้ทำกินเฉพาะที่ทำกินอยู่แล้วจึงทำให้จำเลยเชื่อว่าตนมีสิทธิทำกินในที่ดินที่ตนยึดถือครอบครองอยู่จนกว่าทางราชการจะสอบสิทธิของจำเลยเสร็จและแจ้งผลการสอบสิทธิให้จำเลยทราบว่าจำเลยไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่าต่อมาทางราชการแจ้งผลการสอบสิทธิว่าจำเลยไม่มีสิทธิในที่ดิน ที่จำเลยยึดถือครอบครองอยู่แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิด จำเลยจึงไม่มีความผิดดังฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิไม่สุจริตทางการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภค
โจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วยโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "HALLS" และได้จดทะเบียนเครื่องหมายดังกล่าวในจำพวกที่ 3 สำหรับสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วย ซึ่งกองเครื่องหมายการค้าได้จดทะเบียนแล้วเมื่อวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2506 ครั้นวันที่ 23 มีนาคม 2510 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า "HALL" ในสินค้าจำพวก 48 เครื่องสำอาง ดังนี้ ความสำคัญที่เห็นเด่นชัดที่ผู้ซื้อสนใจหรือสังเกตว่าเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าอยู่ตรงที่มีอักษรโรมัน และสำเนียงที่เรียกขานทั้งของโจทก์และของจำเลยก็อ่านว่า "ฮอลล์"อย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์นำสืบให้เห็นว่าสินค้าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลาย โดยโจทก์ได้แพร่ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เอกสารสิ่งพิมพ์แผ่นป้ายโฆษณา และหน่วยรถฉายภาพยนตร์แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวจึงส่อให้เห็นถึงการฉวยโอกาสเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพื่อแสวงหาประโยชน์จำหน่ายสินค้าของจำเลย อันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย เพราะผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น การกระทำของจำเลยเป็นการส่อเจตนาที่จะลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาส่งมอบวัตถุตามสัญญาจ้างเหมา คุณภาพวัตถุเป็นสาระสำคัญ ผู้รับจ้างต้องรับผิดแม้จะอ้างความเข้าใจผิด
จำเลยทำสัญญากับโจทก์รับจ้างเหมาขุดขนลูกรังและทรายกองรายทางตามคุณภาพและลักษณะซึ่งกำหนดไว้ในประกาศเรียกประกวดราคาและจำเลยต้องส่งตัวอย่างไปให้โจทก์วินิจฉัยก่อน แต่ตัวอย่างที่จำเลยส่งไปโจทก์วินิจฉัยแล้วแจ้งว่าใช้ไม่ได้ ให้นำทรายหยาบแม่น้ำผสมด้วยแม้ตัวอย่างนั้นจำเลยจะนำไปจากแหล่งที่โจทก์แนะนำในประกาศประกวดราคา ประกาศนั้นก็ระบุไว้แล้วว่าการระบุแหล่งวัตถุเป็นการแนะนำ ผู้รับจ้างจะถือเป็นเหตุเพื่อปัดความรับผิดใด ๆ ของตนไม่ได้ การสืบแสวงหาวัตถุตามสัญญา เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างที่จะต้องจัดหาตามคุณภาพและลักษณะที่กำหนด เมื่อจำเลยประกวดราคาได้และได้ทำสัญญากับโจทก์ดังนี้แล้ว จำเลยจึงจะอ้างเอาความเข้าใจหรือความเชื่อในลักษณะและคุณสมบัติของวัตถุที่โจทก์แนะนำและข้อแนะนำให้เอาทรายหยาบแม่น้ำผสมว่า ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งลูกรังและทรายให้มีคุณภาพและลักษณะตามสัญญา แต่จำเลยเอาลูกรังและทรายที่มีลักษณะไม่ถูกต้องส่งไปให้โจทก์วิจัย แม้จำเลยจะได้รับแจ้งผลการวิจัยว่าใช้ไม่ได้ก่อนสิ้นกำหนดสัญญาเพียง 5 วัน เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานวิเคราะห์ของโจทก์ได้กลั่นแกล้งให้ล่าช้าหรือกระทำการโดยไม่สุจริต จำเลยจะอ้างเป็นเหตุสุดวิสัยว่าทำการขนให้ไม่ทันหาได้ไม่
ข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยส่งตัวอย่างวัตถุไปให้โจทก์วิจัยก่อนเป็นแต่ข้อหนึ่งในสัญญาที่จำเลยต้องปฏิบัติก่อนส่งลูกรังและทรายให้โจทก์ตามสัญญา มิใช่เงื่อนไขแห่งสัญญา
ข้อสัญญาที่ว่าถ้าปรากฏว่าผู้รับจ้างส่งวัตถุไม่ถูกต้องตามคุณภาพและลักษณะตามสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องนำวัตถุที่ถูกต้องมาเปลี่ยนให้จนเป็นการถูกต้อง โดยผู้รับจ้างจะคิดยืดเวลาเอากับผู้ว่าจ้างไม่ได้นั้นเป็นข้อสัญญาที่กำหนดไว้เพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับวัตถุตรงตามสัญญาไม่เป็นโมฆะ
จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งลูกรังและทรายให้มีคุณภาพและลักษณะตามสัญญา แต่จำเลยเอาลูกรังและทรายที่มีลักษณะไม่ถูกต้องส่งไปให้โจทก์วิจัย แม้จำเลยจะได้รับแจ้งผลการวิจัยว่าใช้ไม่ได้ก่อนสิ้นกำหนดสัญญาเพียง 5 วัน เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานวิเคราะห์ของโจทก์ได้กลั่นแกล้งให้ล่าช้าหรือกระทำการโดยไม่สุจริต จำเลยจะอ้างเป็นเหตุสุดวิสัยว่าทำการขนให้ไม่ทันหาได้ไม่
ข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยส่งตัวอย่างวัตถุไปให้โจทก์วิจัยก่อนเป็นแต่ข้อหนึ่งในสัญญาที่จำเลยต้องปฏิบัติก่อนส่งลูกรังและทรายให้โจทก์ตามสัญญา มิใช่เงื่อนไขแห่งสัญญา
ข้อสัญญาที่ว่าถ้าปรากฏว่าผู้รับจ้างส่งวัตถุไม่ถูกต้องตามคุณภาพและลักษณะตามสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องนำวัตถุที่ถูกต้องมาเปลี่ยนให้จนเป็นการถูกต้อง โดยผู้รับจ้างจะคิดยืดเวลาเอากับผู้ว่าจ้างไม่ได้นั้นเป็นข้อสัญญาที่กำหนดไว้เพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับวัตถุตรงตามสัญญาไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและการสร้างความเข้าใจผิด: ศาลฎีกาตัดสินว่าการใช้ชื่อและบรรจุภัณฑ์ยาที่คล้ายคลึงกันไม่ถือเป็นการละเมิด หากไม่ทำให้ผู้ใช้หลงเชื่อว่าเป็นสินค้าเดียวกัน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า "PENSTREP" และใช้คำว่า "PENSTREP 4 1/2" ลงบนหีบห่อยาของโจทก์ จำเลยใช้คำว่า P-STREPTO ลงบนหีบห่อยาของจำเลย การอ่านออกเสียงชื่อยาทั้งสองขนานห่างไกลกันมาก รูปลักษณะการวางตัวอักษรบนกล่องยาก็ไม่เหมือนกัน แถบสีขาวบนหีบห่อยาไม่ถือว่าเป็นรอยประดิษฐ์ของโจทก์ เพราะไม่เป็นสัญลักษณ์พิเศษ นอกจากนั้น กล่องยาของจำเลยยังระบุชื่อห้างหุ้นส่วนของจำเลยไว้ชัดเจนยาของโจทก์จำเลยเป็นยาอันตราย บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่จะใช้ยานี้ ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอย ไม่มีทางที่ผู้ใช้จะหลงผิดเข้าใจว่ายาของจำเลยเป็นยาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความแตกต่างของภาพและชื่อเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดของสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปคนแก่มีหนวดยาวถึงอก สีเหลืองสลับแดง และพื้นสีเขียว โจทก์เรียกว่า 'ผู้เฒ่า' แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปคนแก่มีหนวดเคราสั้น ๆ ไม่ยาวเหมือนอย่างของโจทก์ เห็นเต็มตัวตลอดถึงเท้า จำเลยเรียกว่า 'ซานตาครอส' กำลังยืนอยู่ที่ถนนภายในวงกลม มือขวาถือขวด มือซ้ายถือปากถุงซึ่งพาดอยู่ที่ไหล่ซ้าย ภายในวงกลมมีสีต่าง ๆ หลายสีเป็นภาพถนน ต้นไม้และบ้านเรือนอยู่เบื้องหลัง เมื่อพิจารณาภาพทั้งสองนี้แล้วเห็นได้ชัดว่า ไม่เหมือนกันทั้งการเรียกชื่อและส่วนประกอบต่าง ๆ จึงไม่มีลักษณะถึงขนาดทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาหลังขอผัดฟ้องโดยเข้าใจผิด ไม่ขัดต่อข้อห้ามตามกฎหมาย
เมื่อไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องแล้ว หากเผอิญไปขอผัดฟ้องเข้าเพราะความเข้าใจผิด กรณีจึงไม่เข้าข้อห้ามตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 ที่ห้ามไว้ไม่ให้ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอผัดฟ้องโดยไม่จำเป็นและการฟ้องคดีอาญาภายหลัง กรณีไม่เข้าข้อห้ามตามกฎหมาย
เมื่อไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องแล้วหากเผอิญไปขอผัดฟ้องเข้าเพราะความเข้าใจผิด กรณีจึงไม่เข้าข้อห้ามตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499. ที่ห้ามไว้ไม่ให้ฟ้อง