คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำนวณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803-807/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จ: ศาลต้องอาศัยข้อเท็จจริงในสำนวน และสืบพยานเพิ่มเติมหากข้อเท็จจริงไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเฉพาะส่วนที่ขาดว่าจำเลยจ่ายบำเหน็จให้โจทก์ไม่ครบเพราะไม่นำค่าครองชีพที่จำเลยจ่ายให้มารวมเป็นฐานคำนวณบำเหน็จด้วย ขอให้จ่ายบำเหน็จส่วนที่ขาดตามจำนวนที่เรียกร้องดังนี้ เป็นการบรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับพอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้วจึงไม่เคลือบคลุม
ในสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณบำเหน็จเมื่อจำเลยไม่นำมารวมคำนวณจำเลยจึงจ่ายบำเหน็จให้โจทก์ขาดไปเท่ากับค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับแต่ละเดือนคูณด้วยจำนวนปีที่โจทก์ทำงาน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่มีในสำนวน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243(2)ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 ศาลฎีกาต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803-807/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จต้องใช้ข้อมูลในสำนวน ศาลมิอาจวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่มีในสำนวน
จำเลยได้จ่ายบำเหน็จให้แก่โจทก์รับไปแล้วบางส่วน ซึ่งเป็นการจ่ายตามข้อบังคับของจำเลยที่มีอยู่ และจำเลยทราบถึงข้อบังคับดังกล่าวดีแล้ว เพียงแต่จำเลยไม่นำค่าครองชีพมารวมคำนวณบำเหน็จให้โจทก์เท่านั้น โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเฉพาะส่วนที่ขาดโดยตามฟ้องได้ระบุจำนวนค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือน และจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายขาดไป เป็นการบรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับในส่วนนี้พอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไม่เคลือบคลุม ในสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณบำเหน็จ เมื่อจำเลยไม่นำมารวมคำนวณจำเลยจึงจ่ายบำเหน็จให้โจทก์ขาดไปเท่ากับค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับแต่ละเดือนคูณด้วยจำนวนปีที่โจทก์ทำงาน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่มีในสำนวน ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อไปว่า ตามข้อบังคับของจำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จว่าอย่างไร และโจทก์จะได้รับบำเหน็จเพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803-807/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จจากข้อบังคับภายในองค์กร และการพิจารณาค่าครองชีพ
จำเลยได้ จ่ายบำเหน็จให้แก่โจทก์รับไปแล้วบางส่วน ซึ่ง เป็นการจ่ายตาม ข้อบังคับของจำเลยที่มีอยู่ และจำเลยทราบถึง ข้อบังคับดังกล่าวดี แล้ว เพียงแต่ จำเลยไม่นำค่าครองชีพมารวมคำนวณบำเหน็จให้โจทก์เท่านั้น โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยจ่ายบำเหน็จ เฉพาะ ส่วนที่ขาดโดย ตาม ฟ้องได้ ระบุจำนวนค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือนและจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายขาดไป เป็นการบรรยายโดย แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับในส่วนนี้พอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไม่เคลือบคลุม ในสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างต้อง นำมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณบำเหน็จ เมื่อจำเลยไม่นำมารวมคำนวณจำเลยจึงจ่ายบำเหน็จให้โจทก์ขาดไปเท่ากับค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับแต่ละเดือน คูณด้วย จำนวนปีที่โจทก์ทำงาน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีโดย อาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่มีในสำนวน ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อไปว่า ตาม ข้อบังคับของจำเลยได้ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จว่าอย่างไร และโจทก์จะได้รับบำเหน็จเพียงใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512-523/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องเงินบำเหน็จลูกจ้าง: การคำนวณค่าจ้าง (รวมค่าครองชีพ) และดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 มาใช้บังคับเพราะโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างประจำของจำเลย หากศาลฟังว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธินำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จเพราะค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้างตามระเบียบดังกล่าว หากศาลฟังว่าโจทก์มีสิทธินำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จ โจทก์ก็มีอายุงานที่จะได้รับเงินบำเหน็จตามฟ้อง เป็นคำให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ที่ชัดแจ้งแล้ว ส่วนที่ว่าหากศาลฟังว่าอย่างไรนั้น เป็นการกล่าวอ้างถึงคำวินิจฉัยของศาลหาใช่ยืนยันข้อเท็จจริงนั้นไม่ดังนี้ เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสองแล้ว
เงินบำเหน็จลูกจ้างไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องจ่ายให้ลูกจ้างทันที่เมื่อเลิกจ้างจึงต้องทวงถามก่อน มิฉะนั้นจะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินบำเหน็จ: เกณฑ์การรวมระยะเวลาทำงานนักเรียนอบรม, จำนวนวันทำงานรายวัน, และค่าครองชีพ
ตามข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างว่าด้วยกองทุนบำเหน็จกำหนดว่า 'พนักงาน' หมายถึง พนักงานประจำตามอัตรากำลังขององค์การทอผ้า และ 'อายุการทำงาน' หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจน ถึงวันพ้นตำแหน่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้บรรจุโจทก์เป็นนักเรียนอบรมโดยได้รับเบี้ยเลี้ยงในระหว่างเป็นนักเรียนอบรมตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม2512 และโจทก์ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำรายวันตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2517 ดังนั้นโจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานตามข้อบังคับดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2517 ก่อนหน้านี้โจทก์ยังมิได้เป็นพนักงานประจำของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธินำระยะเวลาระหว่างที่เป็นนักเรียนอบรมมารวมคำนวณเงินบำเหน็จได้
ในการคำนวณเงินบำเหน็จ ข้อบังคับของจำเลยมิได้กำหนดว่าค่าจ้างเดือนสุดท้ายของพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างกี่วัน เพียงแต่ให้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือน หรือค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีของอายุการทำงานเท่านั้น จึงต้องถือจำนวนค่าจ้างที่ได้รับจริง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำงานเดือนละ 23 วัน แม้ระเบียบใหม่ของจำเลยจะระบุให้คิดเดือนหนึ่ง 26 วัน แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยออกใช้บังคับสำหรับพนักงานใหม่ที่ได้รับการบรรจุตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2519 โดยเฉพาะโดยจำเลยมีสิทธิที่จะกำหนดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสำหรับพนักงานใหม่ได้หาใช่จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับโจทก์ไม่โจทก์จึงมีสิทธิคำนวณค่าจ้างรายวันโดยคิดได้เพียงจำนวน 23วันเป็นหนึ่งเดือนเท่านั้น
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์เดือนละ 400 บาท เป็นจำนวนแน่นอน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานเช่นเดียวกับค่าจ้างเมื่อข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ยกเว้นไว้โดยชัดแจ้งว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จให้โจทก์ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงิน พ.ส.ร. ไม่ใช่ค่าจ้าง จึงไม่นำมารวมคำนวณค่าชดเชย
เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ (พ.ส.ร.) ตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเงินที่ กระทรวงกลาโหม สั่งให้จำเลยจ่ายแก่โจทก์ เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่สู้รบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม มิใช่เป็นเงินที่จำเลยตกลงจ่ายแก่โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ไม่อาจนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงิน พ.ส.ร. ไม่ใช่ค่าจ้าง จึงไม่นำมารวมคำนวณค่าชดเชย
เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ (พ.ส.ร.) ตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเงินที่ กระทรวงกลาโหม สั่งให้จำเลยจ่ายแก่โจทก์ เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่สู้รบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม มิใช่เป็นเงินที่จำเลยตกลงจ่ายแก่โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ไม่อาจนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินได้พึงประเมินจากเงินที่ได้รับเมื่อออกจากงาน ต้องเป็นไปตามประกาศกรมสรรพากร โดยพิจารณาเงินได้ทั้งหมด ไม่เฉพาะเงินเดือน
เงินได้ที่โจทก์ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน มีวิธีการคำนวณจ่ายตามระเบียบของบริษัทผู้เป็นนายจ้างแตกต่างจากวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญ การคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องเป็นไปตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดระเบียบการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานโดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงาน ที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม เงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสามทั้งสิ้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) คำว่า เงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายและเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ยของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) หมายความถึงเงินได้ที่ได้รับในระยะเวลาดังกล่าวทั้งหมด มิได้หมายความถึงเฉพาะเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรเพียงอย่างเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าสินไหมทดแทนทางประกันภัย: การหักค่าซากรถจากค่าซ่อมหรือวงเงินประกันภัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์โดยนำค่าซากรถไปหักจากค่าซ่อมรถแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระในส่วนที่เหลือ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขคำพิพากษาโดยให้นำค่าซากรถไปหักออกจากราคารถมิได้เพราะเป็นการแก้ไขจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จะพึง เรียกได้ มิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 143.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าปรับจากยาสูบที่ไม่มีแสตมป์: ปรับตามน้ำหนักทั้งหมด ไม่หัก 500 กรัม
จำเลยมียาสูบต่างประเทศหนัก 1,920 กรัม ที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครอง ยาสูบทั้ง 1,920 กรัมเป็นเหตุให้เกิดความผิด มิใช่เฉพาะจำนวนที่เกิน 500 กรัมเท่านั้น จึงต้องปรับจำเลยตามจำนวนน้ำหนักของยาสูบทั้งหมด โดยไม่ต้องหักจำนวนยาสูบ 500 กรัมที่พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 19 วรรคแรกให้มีไว้ในครอบครองได้ออกก่อน
of 14