คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำวินิจฉัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำวินิจฉัย คชก. ไม่ถึงที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับตามคำวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 ขาดนัดพิจารณาและให้สืบพยานโจทก์ทั้งสองไปฝ่ายเดียว ซึ่งทำให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคหนึ่ง ศาลจะวินิจฉัยให้คู่ความฝ่ายที่มาศาลชนะคดีได้ต่อเมื่อข้ออ้างของคู่ความฝ่ายนั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของ คชก.ตำบล ตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 58 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3ที่ 4 ให้การต่อสู้ว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวจำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ต้องปฏิบัติตามเพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของ คชก.จังหวัด เท่ากับต่อสู้ว่าคำวินิจฉัย คชก.ตำบลยังไม่ถึงที่สุด ซึ่งตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 57 วรรคสองประกอบมาตรา 56 วรรคสอง คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่อุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดเช่นนี้จะถึงที่สุดต่อเมื่อ คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้ว และคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย โจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลถึงที่สุดแล้ว ซึ่งข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า จำเลยที่ 3ที่ 4 ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด แต่ คชก.จังหวัดประชุมแล้วมีมติเห็นว่าผู้อุทธรณ์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่าน คชก.ตำบล และเห็นควรพิจารณาอุทธรณ์รายอื่นต่อไปจึงไม่อาจฟังได้ว่า คชก.จังหวัดได้วินิจฉัยไปในทางหนึ่งทางใดและแจ้งให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบ เพื่อผู้อุทธรณ์จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล ถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าว ตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองจึงนำสืบไม่ได้ว่า คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลถึงที่สุดแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องโดยชัดแจ้ง แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 ที่ 4 ย่อมฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6871/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีโดยไม่ฟ้องจำเลยร่วมที่มีคำวินิจฉัยเกี่ยวข้อง ทำให้ศาลไม่อาจเพิกถอนคำวินิจฉัยได้ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำฟ้องโจทก์เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืน แต่ปรากฏว่า โจทก์ฟ้องจำเลยโดยมิได้ฟ้อง คชก.จังหวัดซึ่งมีคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นจำเลยร่วมด้วย ศาลจึงไม่อาจเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวตามคำขอของโจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การยกฟ้องคดีนิ้เป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีของโจทก์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ศาลเห็นสมควรไม่ตัดสิทธิที่จะให้โจทก์ฟ้องใหม่ภายใน30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6871/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีซื้อขายที่ดิน: การไม่ฟ้อง คชก. จังหวัดซึ่งมีคำวินิจฉัยเกี่ยวข้อง ทำให้ศาลไม่อาจเพิกถอนคำวินิจฉัยได้
คำฟ้องโจทก์เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืน แต่ปรากฏว่า โจทก์ฟ้องจำเลยโดยมิได้ฟ้อง คชก. จังหวัดซึ่งมีคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นจำเลยร่วมด้วย ศาลจึงไม่อาจเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวตามคำขอของโจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การยกฟ้องคดีนี้เป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีของโจทก์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ศาลเห็นสมควรไม่ตัดสิทธิที่จะให้โจทก์ฟ้องใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6871/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีซื้อขายที่ดิน: ต้องฟ้องคชก.จังหวัดหากโต้แย้งคำวินิจฉัย
คำฟ้องโจทก์เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนแต่ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยมิได้ฟ้องคชก.จังหวัดซึ่งมีคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นจำเลยร่วมด้วยศาลจึงไม่อาจเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวตามคำขอของโจทก์ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การยกฟ้องคดีนี้เป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีของโจทก์ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ศาลเห็นสมควรไม่ตัดสิทธิที่จะให้โจทก์ฟ้องใหม่ภายใน30วันนับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดิน: คชก.มีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทเช่า และผลของคำวินิจฉัยถึงที่สุด
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทมาและจะเข้าทำประโยชน์ แต่จำเลยขัดขวางอ้างว่าเช่าที่พิพาทเพื่อทำนาจากช. คชก.ตำบลได้พิจารณาและมีคำสั่งว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยออกไป แต่จำเลยเพิกเฉยเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองเสียหายฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งสอง และคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสองไม่เคลือบคลุม ตามรายงานการประชุมของ คชก.ตำบล ปรากฏว่ามีรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 9 คน ครบองค์ประชุม โดยจำเลยเข้าร่วมประชุมด้วยจึงมีกรรมการของ คชก.ตำบลเข้าร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งครบองค์ประชุมตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ประชุมมีมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาท จำเลยไม่เห็นด้วย แต่มิได้อุทธรณ์มติดังกล่าวต่อ คชก. จังหวัดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่คชก. ตำบลมีคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลจึงเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 56 วรรคสองจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะทำนาในที่ดินพิพาทต่อไป โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องจำเลยได้ จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในปัญหาที่ว่ามติของ คชก.ตำบล ชอบด้วยกฎหมายเพราะมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่เป็นการไม่ชอบในปัญหานี้เป็นประเด็นเดียวกับเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและยังคงโต้แย้งตลอดมาจนถึงชั้นฎีกา แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยไว้จึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองพิจารณาพิพากษาใหม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยยังมีสิทธิทำนาในที่ดินพิพาทและ คชก.ตำบลไม่มีอำนาจวินิจฉัยและลงมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทตามคำร้องของโจทก์ทั้งสอง ดังนี้ ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยการเช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนา คชก.ตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทอันเกิดแต่การเช่าตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองได้ ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 13(2) สำหรับฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดิน: คชก.มีอำนาจวินิจฉัยสิทธิเช่า คำวินิจฉัยถึงที่สุดเป็นเหตุให้ฟ้องขับไล่ชอบ
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทมาและจะเข้าทำประโยชน์แต่จำเลยขัดขวางอ้างว่าเช่าที่พิพาทเพื่อทำนาจากช. คชก.ตำบลได้พิจารณาและมีคำสั่งว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยออกไปแต่จำเลยเพิกเฉยเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองเสียหายฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งสองและคำขอบังคับอีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองฟ้องโจทก์ทั้งสองไม่เคลือบคลุม ตามรายงานการประชุมของคชก.ตำบลปรากฎว่ามีรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม9คนครบองค์ประชุมโดยจำเลยเข้าร่วมประชุมด้วยจึงมีกรรมการของคชก.ตำบลเข้าร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่งซึ่งครบองค์ประชุมตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา18วรรคหนึ่งที่ประชุมมีมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจำเลยไม่เห็นด้วยแต่มิได้อุทธรณ์มติดังกล่าวต่อคชก.จังหวัดภายใน30วันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลแต่ต้องไม่เกิน60วันนับแต่วันที่คชก.ตำบลมีคำวินิจฉัยคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลจึงเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา 56วรรคสองจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะทำนาในที่ดินพิพาทต่อไปโจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องจำเลยได้ จำเลยฎีกาว่าการที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในปัญหาที่ว่ามติของคชก.ตำบลชอบด้วยกฎหมายเพราะมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่เป็นการไม่ชอบในปัญหานี้เป็นประเด็นเดียวกับเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและยังคงโต้แย้งตลอดมาจนถึงชั้นฎีกาแต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยไว้จึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองพิจารณาพิพากษาใหม่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องขอไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยยังมีสิทธิทำนาในที่ดินพิพาทและคชก.ตำบลไม่มีอำนาจวินิจฉัยและลงมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองดังนี้ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยการเช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนาคชก.ตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทอันเกิดแต่การเช่าตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา13(2)สำหรับฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจึงเป็นฎีกาที่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดิน: คชก.มีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทเช่า และผลผูกพันเมื่อไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัย
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทมาและจะเข้าทำประโยชน์แต่จำเลยขัดขวางอ้างว่าเช่าที่พิพาทเพื่อทำนาจากช. คชก.ตำบลได้พิจารณาและมีคำสั่งว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยออกไปแต่จำเลยเพิกเฉยเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองเสียหายฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งสองและคำขอบังคับอีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองฟ้องโจทก์ทั้งสองไม่เคลือบคลุม ตามรายงานการประชุมของคชก.ตำบลปรากฏว่ามีรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม9คนครบองค์ประชุมโดยจำเลยเข้าร่วมประชุมด้วยจึงมีกรรมการของคชก.ตำบลเข้าร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่งซึ่งครบองค์ประชุมตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา18วรรคหนึ่งที่ประชุมมีมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจำเลยไม่เห็นด้วยแต่มิได้อุทธรณ์มติดังกล่าวต่อคชก.จังหวัดภายใน30วันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลแต่ต้องไม่เกิน60วันนับแต่วันที่คชก.ตำบลมีคำวินิจฉัยคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลจึงเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา56วรรคสองจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะทำนาในที่ดินพิพาทต่อไปโจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องจำเลยได้ จำเลยฎีกาว่าการที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในปัญหาที่ว่ามติของคชก.ตำบลชอบด้วยกฎหมายเพราะมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่เป็นการไม่ชอบในปัญหานี้เป็นประเด็นเดียวกับเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและยังคงโต้แย้งตลอดมาจนถึงชั้นฎีกาแต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยไว้จึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองพิจารณาพิพากษาใหม่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยยังมีสิทธิทำนาในที่ดินพิพาทและคชก.ตำบลไม่มีอำนาจวินิจฉัยและลงมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองดังนี้ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยการเช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนาคชก.ตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทอันเกิดแต่การเช่าตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา13(2)สำหรับฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดิน: ต้องรอคำวินิจฉัย คชก.ตำบลก่อน จึงค่อยฟ้องคู่กรณี หรือฟ้องบังคับ คชก.ตำบล
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคสอง,56วรรคหนึ่ง,57กำหนดขั้นตอนในกรณีที่ผู้รับโอนไม่ยอมขายนาให้แก่ผู้เช่านาว่าผู้เช่านาต้องร้องขอต่อคชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยก่อนเมื่อคชก.ตำบลวินิจฉัยแล้วคู่กรณีไม่พอใจก็อุทธรณ์ต่อคชก.จังหวัดและเมื่อคชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่พอใจจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ายื่นคำร้องต่อคชก.ตำบลภายในกำหนดแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับคำวินิจฉัยจากคชก.ตำบลตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา13และมาตรา54หากคชก.ตำบลไม่วินิจฉัยในเวลาอันควรก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปฟ้องบังคับให้คชก.ตำบลวินิจฉัยเสียก่อนมิใช่มาฟ้องคู่กรณีโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ยื่นคำร้องต่อคชก.ตำบลแล้วแต่คชก.ตำบลยังมิได้มีคำวินิจฉัยดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำวินิจฉัยอธิบดีกรมสรรพากรเป็นที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากร
คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มาตรา 17 นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้กลั่นแกล้งหรือไม่สุจริต ผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจะอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(1)ไม่ได้ โจทก์ผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจึงไม่มีอำนาจฟ้อง การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตามมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 หมายถึงกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานดังกล่าวเป็นที่สุดเท่านั้น หากมีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรถือเป็นที่สุดก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติเป็นพิเศษเฉพาะ กรณีนั้น ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเป็นที่สุด
คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นที่สุดนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่า อธิบดีกรมสรรพากรได้กลั่นแกล้งหรือไม่สุจริตผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจะอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา7(1)หาได้ไม่เพราะการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตามมาตรา7(1)นั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานดังกล่าวเป็นที่สุดเท่านั้นหากมีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรถือเป็นที่สุดแล้วก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติเป็นพิเศษเฉพาะกรณีนั้นๆดังนั้นโจทก์ผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจึง ไม่มี อำนาจฟ้อง
of 14