พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์: คำสั่งยังชอบ แม้ส่งคำสั่งเกิน 90 วัน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 125กำหนดให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องกล่าวหาตามมาตรา 124 ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหา เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาโจทก์ต่อจำเลยทั้งสิบสามซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2542และจำเลยทั้งสิบสามได้มีคำสั่งลงวันที่ 9 เมษายน 2542 ซึ่งไม่เกิน90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหา คำสั่งของจำเลยทั้งสิบสามจึงออกภายในกำหนดเวลา แม้จะส่งคำสั่งให้โจทก์ในวันที่ 28เมษายน 2542 ซึ่งเกินกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหาก็ไม่ถือว่าเป็นการออกคำสั่งเกินกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824-1825/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่สืบเนื่องจากคำสั่งธนาคารแห่งประเทศไทยให้ถอดถอนกรรมการ ถือเป็นการเลิกจ้างโดยชอบธรรม
การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งถอดถอนโจทก์ออกจากกรรมการของธนาคารพาณิชย์จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเนื่องจากจำเลยดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ซึ่งเป็นอำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะออกคำสั่งดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 24 ตรีซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505(ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2540 มาตรา 4 และให้ถือว่าเป็นการออกคำสั่งโดยมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของจำเลยด้วย ทำให้โจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยเป็นการอีกต่อไป จึงถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8793/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน: การพิสูจน์สิทธิก่อนคำสั่งเจ้าพนักงานที่ดิน
บทบัญญัติมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินฯ เป็นเพียงการกำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการสอบสวนเปรียบเทียบและสั่งการในกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิกันในการขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่านั้น แม้จะมีข้อกำหนดไว้ว่าเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินสั่งการอย่างไรแล้ว ให้ฝ่ายที่ไม่พอใจไปดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งก็ตาม แต่ข้อกำหนดดังกล่าวคงเป็นเพียงการกำหนดขั้นตอนเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติภายหลังจากที่ได้สั่งการไปแล้ว คือหากมีการฟ้องคดีต่อศาลก็ให้เจ้าพนักงานที่ดินรอเรื่องไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดประการใดก็ให้ดำเนินการไปตามนั้น ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดก็ให้ดำเนินการไปตามที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสั่งหาใช่เป็นเงื่อนไขในการฟ้องคดีต่อศาลไม่ ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้ห้ามมิให้ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ดังที่บัญญัติห้ามไว้ในกฎหมายอื่นดังนั้น เมื่อโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาคดี: ต้องทำหลังมีคำพิพากษา และต้องโต้แย้งคำสั่งก่อน
โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตและถือว่าไม่ติดใจสืบพยาน ซึ่งเป็นคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ และเมื่อจำเลย แถลงไม่สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้นัดฟังคำพิพากษา คำสั่งไม่อนุญาต ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่าง พิจารณา โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ และต้อง อุทธรณ์คำสั่งภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าว และโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนี้ก่อนเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ไว้ ศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ และถือว่าปัญหานี้ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์ฎีกาปัญหานี้ขึ้นมาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกอุทธรณ์กับยกฎีกาของโจทก์ คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีทุนทรัพย์และการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 สั่งคดีผิดพลาด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน จำเลยให้การว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีไม่มีทุนทรัพย์และต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์แล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและให้ยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกฎีกาของจำเลย
คดีไม่มีทุนทรัพย์และต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์แล้วให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและให้ยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4806/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีปกครอง: คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น vs. นิติบุคคล จำเลยไม่ใช่ผู้มีอำนาจออกคำสั่ง
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่อย่างใดการที่ผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่มีหนังสือถึงโจทก์ก็เป็นการกระทำในฐานะปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งของจำเลย ดังนั้นจำเลยจึงมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แต่ประการใดโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขออนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าเป็นการจงใจ ขาดนัดและไม่มีเหตุสมควร ยกคำร้องคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้อง ขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่ง ไม่รับคำให้การของจำเลยอันจะถือได้ว่าเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18กรณีจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มี คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดแห่งคดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7688/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คดี และหน้าที่การปฏิบัติตามมาตรา 234 ว.พ.พ. แม้ยังไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษา
แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาก็ตาม หากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นย่อมจะถูกยกไปในตัว ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำขอให้พิจารณาคดีใหม่หากจำเลยยังประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจำเลยก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234โดยต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง หาใช่ไม่ต้องนำเงินมาชำระหรือประกันให้ไว้ต่อศาลไม่แต่เมื่อจำเลยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงว่า "รับอุทธรณ์คำสั่ง สำเนาให้โจทก์แก้" โดยที่มิได้สั่งเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยไม่วางเงินหรือหาประกันมาวางเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงมีเหตุน่าเชื่อว่าจำเลยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนที่จะไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าวให้ถูกต้องเสียก่อนยังไม่ควรด่วนยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา: ศาลอนุญาตแม้คำสั่งไม่ชัดเจน หากส่งสำนวนไปศาลฎีกา
การที่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเพียงว่าสำเนาให้จำเลยโดยให้ส่งไปพร้อมกับสำเนาอุทธรณ์ อนุญาตให้ปิด จำเลยจะคัดค้านประการใดให้ยื่นเข้ามาพร้อมระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจคัดค้านและสั่งในอุทธรณ์ว่า รับอุทธรณ์ของโจทก์ ให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายแก้ไม่มีผู้รับให้ปิดนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และได้ส่งสำนวนมาศาลฎีกาพออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3811/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเฉพาะส่วนที่โต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จึงจะฟ้องคดีได้
ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเสมอไป ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งจำเลยแต่เพียงค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 369,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจำนวนดังกล่าวได้
ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเสมอไป ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งจำเลยแต่เพียงค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 369,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจำนวนดังกล่าวได้