พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการรับฟังคำเบิกความเดิมในคดีอื่นเป็นหลักฐานยืนยันสิทธิภารจำยอม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากโจทก์เห็นว่าการงดสืบพยานไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เมื่อโต้แย้งแล้วจึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษานานประมาณ 45 วันเวลาที่โจทก์จะโต้แย้งได้ ก็หาโต้แย้งไม่ และที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ไว้ซึ่งมีประเด็นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์รวมอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้ประเด็นที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์กลับเป็นสิทธิอุทธรณ์ขึ้นได้ โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1) และมาตรา 247 โจทก์เคยเบิกความเกี่ยวกับเรื่องทางพิพาทในคดีอื่น ยอมรับว่าถ้าจะใช้ทางพิพาทจะต้องขออนุญาตจาก ส.เจ้าของที่ดินเดิมก่อนเป็นการยอมรับในสิทธิของทางพิพาทว่าเป็นของ ส.และในวันชี้สองสถานโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้เบิกความไว้จริงโจทก์ ก็มิได้กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของตนไม่ถูกต้อง ทั้งมิได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเพื่อขอนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น คำเบิกความของโจทก์ในคดีดังกล่าวจึงนำมารับฟังในคดี นี้ได้ว่า โจทก์ต้องขออนุญาตใช้ทางพิพาทจากบุคคลอื่นเมื่อทางพิพาท เปลี่ยนกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลย จำเลยย่อมได้รับประโยชน์นั้นด้วยแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทนานเท่าใด ก็อ้างสิทธิเป็นทางภาระจำยอมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการรับฟังคำเบิกความเดิมในคดีอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องทางภาระจำยอม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากโจทก์เห็นว่าการงดสืบพยานไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ เมื่อโต้แย้งแล้วจึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษานานประมาณ 45 วัน มีเวลาที่โจทก์จะโต้แย้งได้ ก็หาโต้แย้งไม่ และที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ไว้ซึ่งมีประเด็นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์รวมอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้ประเด็นที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์กลับเป็นมีสิทธิอุทธรณ์ขึ้นได้ โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 242(1) และมาตรา 247
โจทก์เคยเบิกความเกี่ยวกับเรื่องทางพิพาทในคดีอื่นยอมรับว่าถ้าจะใช้ทางพิพาทจะต้องขออนุญาตจาก ส. เจ้าของที่ดินเดิมก่อนเป็นการยอมรับในสิทธิของทางพิพาทว่าเป็นของส. และในวันชี้สองสถานโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้เบิกความไว้จริง โจทก์ก็มิได้กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของตนไม่ถูกต้องทั้งมิได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเพื่อขอนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น คำเบิกความของโจทก์ในคดีดังกล่าวจึงนำมารับฟังในคดีนี้ได้ว่า โจทก์ต้องขออนุญาตใช้ทางพิพาทจากบุคคลอื่นเมื่อทางพิพาทเปลี่ยนกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลย จำเลยย่อมได้รับประโยชน์นั้นด้วยแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทนานเท่าใด ก็อ้างสิทธิเป็นทางภาระจำยอมหาได้ไม่.
โจทก์เคยเบิกความเกี่ยวกับเรื่องทางพิพาทในคดีอื่นยอมรับว่าถ้าจะใช้ทางพิพาทจะต้องขออนุญาตจาก ส. เจ้าของที่ดินเดิมก่อนเป็นการยอมรับในสิทธิของทางพิพาทว่าเป็นของส. และในวันชี้สองสถานโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้เบิกความไว้จริง โจทก์ก็มิได้กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของตนไม่ถูกต้องทั้งมิได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเพื่อขอนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น คำเบิกความของโจทก์ในคดีดังกล่าวจึงนำมารับฟังในคดีนี้ได้ว่า โจทก์ต้องขออนุญาตใช้ทางพิพาทจากบุคคลอื่นเมื่อทางพิพาทเปลี่ยนกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลย จำเลยย่อมได้รับประโยชน์นั้นด้วยแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทนานเท่าใด ก็อ้างสิทธิเป็นทางภาระจำยอมหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์ โดยการรับฟังพยานหลักฐานจากคำเบิกความและพฤติการณ์ที่จำเลยกระทำ
โจทก์ฟ้องว่าเกิดเหตุระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2526 ถึงวันที่19 ธันวาคม 2526 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนว่าในวันที่ 13 ธันวาคม 2526 จำเลยลักอะไหล่รถยนต์ของผู้เสียหายรวม 5 กล่องนำไปฝากไว้กับ ม. และในวันที่ 15ธันวาคม 2526 จำเลยได้ลักเอาอะไหล่รถยนต์อีก 5 กล่องไปฝากไว้กับม. อีกเช่นกัน แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยนำสืบว่า จำเลยมิได้รับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน และจำเลยไม่รู้จักกับ ม. ดังนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยลักอะไหล่รถยนต์ของผู้เสียหายไปในวันที่ 13 และ 15 ธันวาคม2526 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงมิได้แตก ต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3065/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐาน: การพิพากษาคดีชิงทรัพย์ที่ขัดแย้งกัน และผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือคำเบิกความ
ผู้เสียหายถูกคนร้ายชิงทรัพย์ ผู้เสียหายเบิกความในคดีนี้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ตีศีรษะและใช้มีดจี้ปลดทรัพย์ของผู้เสียหาย ระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม ส. กล่าวหาว่าเป็นคนร้ายชิงทรัพย์ผู้เสียหายในวันเวลาเดียวกันกับคดีนี้ ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้อง ส. เป็นจำเลยในข้อหาเดียวกันกับคดีนี้ ส. ให้การรับสารภาพ ผู้เสียหายเบิกความในคดีดังกล่าวว่า ส. เป็นคนร้ายกระทำการเช่นเดียวกับที่เบิกความว่าจำเลยคดีนี้กระทำในขณะเดียวกัน เมื่อศาลคดีดังกล่าวฟังว่า ส. เป็นคนร้ายและพิพากษาลงโทษคดีถึงที่สุดแล้ว ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยเป็นคนร้ายคดีนี้จึงฟังไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างเหตุผลคัดค้านคำเบิกความผู้เสียหายในอุทธรณ์ถือเป็นการระบุข้อเท็จจริงตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดโดยอาศัยคำเบิกความของผู้เสียหายเป็นหลัก เมื่อจำเลยอ้างคำเบิกความบางตอนของผู้เสียหาย มาในอุทธรณ์และให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่ควรเชื่อคำเบิกความของผู้เสียหาย ถือว่าจำเลยได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อที่ยกขึ้นอ้างอิงตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างเหตุผลโต้แย้งคำเบิกความของผู้เสียหายในอุทธรณ์ ถือเป็นการระบุข้อเท็จจริงตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดโดยอาศัยคำเบิกความของผู้เสียหายเป็นหลัก เมื่อจำเลยอ้างคำเบิกความบางตอนของผู้เสียหายมาในอุทธรณ์และให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่ควรเชื่อคำเบิกความของผู้เสียหาย ถือว่าจำเลยได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อที่ยกขึ้นอ้างอิงตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสองแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารประกอบคำเบิกความที่ไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาท ไม่ต้องส่งสำเนาให้คู่ความ
โจทก์อ้างเอกสารเป็นพยานโดยไม่ได้ส่งสำเนาให้แก่จำเลย แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารนั้นโจทก์เพียงใช้ประกอบคำเบิกความของพยานซึ่งมิได้เป็นประเด็นโต้เถียงกันในคดี ทั้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยข้อเท็จจริงก็ไม่ได้อ้างถึงหรือนำเอกสารนั้นมาใช้ในการวินิจฉัย ส่วนเอกสารฉบับที่ศาลใช้ในการวินิจฉัยคดี จำเลยก็ยอมรับข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในเอกสารนั้นแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138-4139/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การ/คำเบิกความในคดีอื่นมิใช่ข้อผูกพัน มิให้เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในคดีปัจจุบัน ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานประกอบ
ในประเด็นว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทหรือไม่นั้นลำพังเพียงแต่โจทก์ยื่นคำให้การไว้ในคดีแพ่งคดีหนึ่งว่า โจทก์มิได้เป็นเจ้าของห้องแถวพิพาท กับโจทก์ได้เบิกความไว้ในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งว่าจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินโจทก์ปลูกห้องพิพาทเองนั้น ไม่ถึงกับปิดปากโจทก์มิให้เถียงเป็นอย่างอื่นได้ คำให้การและคำเบิกความรับของโจทก์ในคดีเรื่องอื่นถือว่าเป็นเพียงพยานหลักฐานที่จำเลยจะนำสืบอ้างอิงมายันโจทก์เท่านั้น ส่วนการที่ศาลจะรับฟังว่าห้องพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่ายต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วด่วนวินิจฉัยว่าห้องพิพาทมิใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138-4139/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การ/คำเบิกความในคดีอื่น ไม่ผูกพันปิดปากโจทก์ในคดีปัจจุบัน ศาลต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
ในประเด็นว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทหรือไม่นั้นลำพังเพียงแต่โจทก์ยื่นคำให้การไว้ในคดีแพ่งคดีหนึ่งว่า โจทก์มิได้เป็นเจ้าของห้องแถวพิพาท กับโจทก์ได้เบิกความไว้ในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งว่าจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินโจทก์ปลูกห้องพิพาทเองนั้น ไม่ถึงกับปิดปากโจทก์มิให้เถียงเป็นอย่างอื่นได้ คำให้การและคำเบิกความรับของโจทก์ในคดีเรื่องอื่นถือว่าเป็นเพียงพยานหลักฐานที่จำเลยจะนำสืบอ้างอิงมายันโจทก์เท่านั้นส่วนการที่ศาลจะรับฟังว่าห้องพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่ายต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วด่วนวินิจฉัยว่าห้องพิพาทมิใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเบิกความที่เป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหา ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้
คำเบิกความของ ต. พยานโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเคยมาขอร้องให้ ต. เป็นพยานให้และช่วยปกปิดไว้เป็นความลับนั้น ปรากฏจากคำเบิกความของ ต. เองว่า ต. ถูกกำนัน ก. เรียกตัวไปสอบถามว่าเป็นคนฆ่า ป. หรือไม่ ต. ปฏิเสธว่าไม่ได้ฆ่า กำนัน ก. เอาจดหมายฉบับหนึ่งมาให้ ต.ดูแล้วพูดว่าถ้าไม่รับจะส่งตัวไปอำเภอ ต. จึงเล่าเรื่องให้ฟังและบอกแก่สารวัตรใหญ่ในวันรุ่งขึ้นว่าจำเลยเป็นคนฆ่าป.คำเบิกความของ ต. ดังกล่าวแล้วจึงมีลักษณะเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาในคดี ไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้