พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5529/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความขัดแย้งในคำให้การและฟ้องแย้ง การพิจารณาฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและเรียกค่าเสียหาย โดยโจทก์มิได้ขอให้จำเลยส่งคืนโรงเรือนบนที่ดินแก่โจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์รับซื้อที่ดินพิพาทไว้แล้วผิดสัญญาไม่ยอมให้จำเลยไถ่การขายฝาก ขอให้ยกฟ้อง โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์รับไถ่การขายฝาก แต่กลับฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นโดยอ้างว่าจำเลยก่อสร้างโรงเรือนบนที่ดินพิพาทโดยสุจริตเพียงประการเดียว คำให้การที่ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้ใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นจึงขัดกันเองอยู่ในตัว ไม่สามารถที่จะพิพากษาให้เป็นไปตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยได้ แต่ต้องพิพากษาไปในทางใดทางหนึ่ง คือหากฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก็ต้องพิพากษายกฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลย หรือหากฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงอาจจะยกฟ้องแย้งของจำเลยขึ้นพิจารณาต่อไป ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุต่างกันกับฟ้องเดิม เป็นฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5529/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งขัดแย้งกับคำให้การ: ศาลไม่รับพิจารณาฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและเรียกค่าเสียหาย โดยโจทก์มิได้ขอให้จำเลยส่งคืนโรงเรือนบนที่ดินแก่โจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์รับซื้อที่ดินพิพาทไว้แล้วผิดสัญญาไม่ยอมให้จำเลยไถ่การขายฝาก ขอให้ยกฟ้อง โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์รับไถ่การขายฝาก แต่กลับฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นโดยอ้างว่าจำเลยก่อสร้างโรงเรือนบนที่ดินพิพาทโดยสุจริตเพียงประการเดียว คำให้การที่ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้ใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นจึงขัดกันเองอยู่ในตัว ไม่สามารถที่จะพิพากษาให้เป็นไปตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยได้ แต่ต้องพิพากษาไปในทางใดทางหนึ่ง คือหากฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก็ต้องพิพากษายกฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลย หรือหากฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงอาจจะยกฟ้องแย้งของจำเลยขึ้นพิจารณาต่อไปฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุต่างกันกับฟ้องเดิมเป็นฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4664/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานนอกประเด็นคำให้การ ถือเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ ศาลล่างพิพากษาถูกต้องแล้ว
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างก่อสร้างในส่วนที่ค้างเนื่องจากโจทก์ก่อสร้างเสร็จตามสัญญา จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยชำระค่าจ้างครบถ้วนทั้งเกินไปกว่าที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จและไม่เรียบร้อย จำเลยต้องจ้างผู้รับเหมารายอื่นเข้าทำงานแทน ทั้งต้องสั่งซื้อวัสดุเครื่องมือก่อสร้างให้โจทก์ด้วยจำเลยสามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปหักออกจากค่าจ้างที่จะต้องจ่ายได้นั้น เป็นการสืบนอกประเด็นไปจากคำให้การ หาใช่เป็นการนำสืบพยานในรายละเอียดเพื่อขยายข้อความในคำให้การไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายจำเลยขาดนัดพิจารณาคดีจำเลยขาดนัดตามไปด้วย แม้จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี
จำเลยแต่งตั้งให้ น.เป็นทนายความแก้ต่างแล้ว ต้องถือว่า น.เป็นตัวแทนของจำเลยในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อ น.ทราบวันนัดของศาลแล้วไม่ไปศาลตามนัดและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดโดยจงใจ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไป ตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งป.วิ.พ.มาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาลแม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไป ตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งป.วิ.พ.มาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาลแม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานขัดแย้งกัน: ศาลเชื่อพยานฝ่ายโจทก์ที่ให้การสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนมากกว่าคำเบิกความในศาล
ร้อยตำรวจเอก ส. ได้สอบปากคำพยานโจทก์ทั้งสามหลังเกิดเหตุเพียงเล็กน้อยและทำบันทึกคำให้การทั้งหมดในวันรุ่งขึ้น น่าเชื่อว่ารายละเอียดต่าง ๆ ในบันทึกคำให้การเป็นความจริงและพันตำรวจตรี ข. สอบสวนเพิ่มเติมให้พยานโจทก์ทั้งสามดังกล่าวดูตัวจำเลยในเวลาต่อมาหลังเกิดเหตุถึงสามปีเศษ พยานโจทก์ทั้งสามก็ยังยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้าย นอกจากนั้นโจทก์ยังมีร้อยตำรวจเอก ป. พยานโจทก์อีกปากหนึ่งซึ่งนำกำลังเจ้าพนักงานตำรวจไปที่เกิดเหตุหลังจากได้รับแจ้งเหตุว่าพยานในที่เกิดเหตุยืนยันว่าคนร้ายคือจำเลย ดังนั้น การที่พยานโจทก์ทั้งสามมาเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลว่าชายคนร้ายที่ยิงผู้ตายไม่ทราบว่าเป็นผู้ใดนั้น เป็นการเบิกความบ่ายเบี่ยงไปอย่างขัดเหตุผล คำให้การชั้นสอบสวนของพยานโจทก์ทั้งสามเชื่อได้ว่าเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาของศาล เมื่อรับฟังคำเบิกความของ ม. ภริยาผู้ตาย ประกอบกับคำให้การชั้นสอบสวนของพยานโจทก์ทั้งสามแล้วรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2179/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความ: คำให้การไม่ชัดเจนถือเป็นประเด็นข้อพิพาท และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องดอกเบี้ย
คำให้การของจำเลยที่ 2 ที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่าไม่ทราบและไม่รับรองว่า ป. เป็นผู้ตกลงว่าจ้างโจทก์ด้วยตนเองหรือไม่ และตกลงค่าจ้างเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่า ป. ไม่ได้ติดต่อว่าจ้างโจทก์ด้วยตนเองโดยให้ค่าจ้างว่าความ 6,000,000 บาท ถือได้ว่าเป็นคำให้การไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
ป. ตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความโดยตกลงค่าจ้างว่าความ 6,000,000 บาท ภายหลังจากโจทก์ตกลงรับจ้างว่าความให้แก่ ป. โจทก์สอบถามข้อเท็จจริงจาก ป. ทางโทรศัพท์ อีกประมาณ 10 วัน โจทก์เรียงคำให้การเสร็จและนำใบแต่งทนายไปให้ ป. ลงชื่อนำไปยื่นต่อศาล ต่อมาโจทก์ทราบว่าคู่ความได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันแล้ว ผลงานที่โจทก์กระทำให้ ป. มีอยู่ประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองคำนวณผลงานดังกล่าวและกำหนดค่าจ้างว่าความให้โจทก์ 200,000 บาท จึงเหมาะสมแก่รูปคดี
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่กำหนดดอกเบี้ยให้ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไร คงมีแต่คำขอในอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 จ่ายดอกเบี้ยด้วยเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เรื่องดอกเบี้ยและปัญหานี้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาโจทก์เรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป. ตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความโดยตกลงค่าจ้างว่าความ 6,000,000 บาท ภายหลังจากโจทก์ตกลงรับจ้างว่าความให้แก่ ป. โจทก์สอบถามข้อเท็จจริงจาก ป. ทางโทรศัพท์ อีกประมาณ 10 วัน โจทก์เรียงคำให้การเสร็จและนำใบแต่งทนายไปให้ ป. ลงชื่อนำไปยื่นต่อศาล ต่อมาโจทก์ทราบว่าคู่ความได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันแล้ว ผลงานที่โจทก์กระทำให้ ป. มีอยู่ประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองคำนวณผลงานดังกล่าวและกำหนดค่าจ้างว่าความให้โจทก์ 200,000 บาท จึงเหมาะสมแก่รูปคดี
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่กำหนดดอกเบี้ยให้ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไร คงมีแต่คำขอในอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 จ่ายดอกเบี้ยด้วยเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เรื่องดอกเบี้ยและปัญหานี้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาโจทก์เรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำให้การข้ามขั้นตอนหลังขาดนัดพิจารณาคดี ศาลไม่อาจรับคำร้องได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแล้วสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จ จำเลยจึงมาศาลและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ขณะอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งก็คืออยู่ระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียวจึงล่วงเลยขั้นตอนที่จำเลยจะยื่นคำร้องเช่นนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 แล้ว สิ่งที่จำเลยพึงกระทำในตอนนั้น คือการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสอง แล้วจึงจะเชื่อมโยงไปบังคับเรื่องขออนุญาตยื่นคำให้การ ตามมาตรา 199 ต่อไป จริงอยู่การที่จำเลยไม่ทราบว่าศาลสืบพยานโจทก์ในการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเสร็จไปแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องผิดขั้นตอน เป็นเรื่องน่าเห็นใจ แต่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นได้สั่งคำร้องนั้นชัดเจนว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิจารณาคดีฝ่ายเดียวไปจนเสร็จสิ้นแล้วพร้อมทั้งมีคำพิพากษา คำสั่งศาลเช่นนี้ย่อมช่วยให้จำเลยทราบขั้นตอนของกระบวนพิจารณาที่ผ่านไปแล้ว และจำเลยสามารถที่จะยื่นคำร้องขอเสียใหม่ให้ตรงตามเรื่อง แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ฎีกายืนยันให้รับคำร้องที่ข้ามขั้นตอนนั้นไว้พิจารณา เมื่อคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยขั้นตอน ศาลจึงไม่อาจรับไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดร่วมกันเกี่ยวกับยาเสพติด การขัดแย้งในคำให้การชั้นสอบสวนและชั้นศาลเป็นเหตุให้ฟังได้ว่ามีส่วนร่วม
จำเลยที่ 2 ไม่ได้นำสืบโต้แย้งและกล่าวยอมรับในคำฟ้องฎีกาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การในชั้นสอบสวนต่อพนักงานสอบสวนไว้ซึ่งมีข้อความว่า วันเกิดเหตุ ย. เจ้ามือสลากกินรวบได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ไปรับเมทแอมเฟตามีนของกลางซึ่งจะมีผู้นำมาส่งให้ศาลาที่พักผู้โดยสารริมทางในเวลา 20 นาฬิกา และให้นำไปส่งแก่หญิงคนหนึ่ง ซึ่งย.เคยพาจำเลยที่ 1 ไปดูตัวไว้แล้ว แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องไปรับเมทแอมเฟตามีนของกลางและนำไปส่งให้แก่ผู้รับในทันทีตามเวลาและสถานที่ที่ผู้ว่าจ้างกำหนดไว้ จึงย่อมไม่มีเวลาเหลือพอที่จะไปรับจำเลยที่ 2 ที่บ้านและชวนไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารตามที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ได้ทั้งจำเลยที่ 2 ก็ให้การว่าจำเลยที่ 1 มาชวนจำเลยที่ 2 ไปเป็นเพื่อนโดยไม่ทราบว่าไปที่ใด หาใช่มาชวนไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารดังที่จำเลยที่ 2 นำสืบต่อสู้ไม่ อีกทั้งจุดที่จำเลยทั้งสองถูกตรวจค้นจับกุมก็ผ่านร้านอาหารที่จำเลยที่ 2 นำสืบว่าจะไปรับประทานอาหารแล้ว ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ขัดต่อเหตุผลและข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองเคยให้การไว้ในชั้นสอบสวน ขาดน้ำหนักไม่น่าเชื่อถือพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 เป็นน้องของภริยาจำเลยที่ 1 รู้จักคุ้นเคยกัน ขับรถจักรยานยนต์ของกลางให้จำเลยที่ 1 นั่งซ้อนท้าย ถือเมทแอมเฟตามีนของกลางซึ่งมีจำนวนถึง 1,979 เม็ดไปส่งให้แก่ผู้อื่น ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ ห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่า การขาดนัดเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุสมควรให้ยกคำร้อง คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลย อันถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดีตาม มาตรา 226 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขออนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าเป็นการจงใจ ขาดนัดและไม่มีเหตุสมควร ยกคำร้องคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้อง ขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่ง ไม่รับคำให้การของจำเลยอันจะถือได้ว่าเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18กรณีจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มี คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดแห่งคดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1)