คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คู่สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกกรณีทรัพย์สินระคนกันระหว่างคู่สมรสและบุคคลอื่น ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก
ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นบุตรของ ล. กับ ช. หลังจากช. ตายแล้ว ล. ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายเมื่อปี 2495และผู้ตายถูกฆ่าตายเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2530 โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดตายก่อนหลัง เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองไม่ใช่ทายาทของผู้ตายผู้คัดค้านทั้งสองจึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะที่จะได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย ดังนี้ เมื่อทรัพย์มรดกของ ล. และผู้ตายระคนปนกันอยู่ ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทของผู้ตาย ส่วนทรัพย์สินของ ล.ย่อมเป็นมรดกได้แก่ทายาทของ ล. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 การแบ่งแยกทรัพย์สินของผู้ตายและ ล. ที่ระคนปนกันอยู่ออกเป็นทรัพย์มรดกของแต่ละคนย่อมเป็นประโยชน์และส่วนได้เสียแก่ทายาทของผู้ตายและทายาทของ ล. แต่ละฝ่ายต่างหากจากกันการแบ่งแยกทรัพย์สินเช่านี้เป็นผลได้เสียแก่ทายาทแต่ละฝ่ายขัดแย้งกัน ทายาทแต่ละฝ่ายต่างมีสิทธิดูแลรักษาผลประโยชน์ของตน ทายาทของ ล. มีสิทธิขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของ ล. เพื่อดูแลผลประโยชน์ได้อยู่แล้วหากให้ทายาทของ ล. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยย่อมมีเหตุให้น่าระแวงว่าจะเกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทของผู้ตายได้ จึงไม่สมควรให้ผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของนายเล็กเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5950/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ซื้อขายไก่: ความรับผิดของคู่สมรสที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าโดยตรง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายไก่กับโจทก์เพียงคนเดียว ใบรับไก่ก็มีแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงชื่อรับ แม้จำเลยที่ 2 จะอยู่กิน ฉันสามีภรรยากับจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอาชีพทำไร่และ ขับรถบรรทุกและไม่ได้มาที่ร้านของจำเลยที่ 1 ทุกวัน ปกติจำเลย ที่ 1 จะอยู่กับลูกจ้างจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนหรือกระทำ การค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 เมื่อมีการผิดสัญญาซื้อขายไก่ โจทก์ต้อง บังคับเอากับจำเลยที่ 1 โดยตรง จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด หนี้ดังกล่าวไม่ใช่หนี้ร่วมตามป.พ.พ. มาตรา 291.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การให้ความยินยอมของคู่สมรสไม่ถือเป็นการรับบุตรบุญธรรม
สามีผู้ตายได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ตายให้ความยินยอมและลงชื่อท้ายบันทึกทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมว่าเป็นคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม สามีผู้ตายแต่ผู้เดียวจึงเป็นผู้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม แม้บันทึกดังกล่าวจะมีข้อความว่าผู้ตายได้รับเป็นมารดาผู้ร้องด้วย ก็ไม่เป็นการรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย เมื่อผู้ตายมิได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ดังนี้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่บุตรบุญธรรมของผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสและบุตร: หลักเกณฑ์การพิจารณาตามความสามารถและฐานะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 วรรคสอง กำหนดให้สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน จำเลยจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูภริยาใหม่ด้วยเพราะเป็นหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องกระทำ จะอ้างว่าภริยาใหม่มีรายได้มากไม่น่าจะเดือดร้อน จำเลยไม่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูหาได้ไม่ และมาตรา 1564 วรรคแรก กำหนดให้บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันในการให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ ดังนั้นโจทก์จำเลยจึงสมควรร่วมกันจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์คนละครึ่ง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/38และมาตรา 1598/39 บัญญัติให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้และฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ทั้งศาลจะสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มอีกในภายหลังก็ได้ ขณะฟ้องโจทก์และจำเลยต่างมีรายได้ จำเลยมีภริยาใหม่และมีบุตร จำเลยย่อมจะต้องมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูภริยาและบุตร มิใช่จำเลยมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูแต่เพียงผู้เยาว์คนเดียว การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ผู้เยาว์ต้องคำนึงถึงรายได้จำเลยกับรายจ่ายในครอบครัวของจำเลย ความจำเป็นทางด้านการเงินของผู้เยาว์ อายุและระดับการศึกษาของผู้เยาว์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกสินสมรสระหว่างทายาทและคู่สมรสก่อนกึ่งหนึ่ง
จำเลยยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นกำหนด เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มิได้วินิจฉัยให้ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงวินิจฉัยไม่ครบถ้วนตาม ประเด็นพิพาทของคู่ความอันเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควร วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ส.และห. อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดมีสินเดิม ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส ห.ผู้เป็นภริยามีสิทธิได้รับสินสมรส 1 ใน 3 ส่วน ทายาทโดยธรรมของ ส.มี6คนคือห. และผู้สืบสันดานจึงต้องแบ่งทรัพย์สินออกเป็นมรดกของ ส. จำนวน 2 ใน 3 ส่วนแล้วแบ่งทรัพย์มรดกของ ส. ออกเป็น 6 ส่วนเท่า ๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ต้องมียินยอมคู่สมรส กรณีสามีภรรยาแยกกันอยู่และขาดการติดต่อ
โจทก์ที่ 1 เป็นสามีของผู้ตายจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายต่อมาโจทก์ที่ 1 และผู้ตายต่างย้ายภูมิลำเนาจากที่เดิมไปอยู่ที่อื่นซึ่งเป็นคนละแห่งกันโดยมิได้มีการติดต่อเยี่ยมเยียน หรือส่งข่าวคราวให้แก่กันเลยเป็นเวลานานหลายปีจึงถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การที่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมในระหว่างที่แยกกันอยู่กับโจทก์ที่ 1 เช่นนี้ กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/25 การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส กรณีสามีภรรยาแยกกันอยู่เป็นเวลานาน
โจทก์ที่ 1 เป็นสามีของผู้ตายจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายต่อมาโจทก์ที่ 1 และผู้ตายต่างย้ายภูมิลำเนาจากที่เดิมไปอยู่ที่อื่นซึ่งเป็นคนละแห่งกันโดยมิได้มีการติดต่อเยี่ยมเยียน หรือส่งข่าวคราวให้แก่กันเลยเป็นเวลานานหลายปีจึงถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การที่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมในระหว่างที่แยกกันอยู่กับโจทก์ที่ 1 เช่นนี้กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/25การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยา แม้ต่างมีคู่สมรสเดิม
โจทก์จำเลยต่างมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้มาอยู่กินฉันสามีภริยาและช่วยกันประกอบอาชีพขับรถรับส่งผู้โดยสารทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันคนละเท่า ๆ กัน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้ และแม้ทรัพย์สินดังกล่าวจะเกิดขึ้นในขณะที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันโดยยังมิได้ขาดจากการสมรสอยู่กับคู่สมรสเดิมก็หาเป็นเหตุขัดข้องในการขอแบ่งไม่ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินจากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้มีคู่สมรสอื่น ย่อมมีสิทธิแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน
โจทก์จำเลยต่างมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้มาอยู่กินฉันสามีภริยาและช่วยกันประกอบอาชีพขับรถรับส่งผู้โดยสารทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันคนละเท่า ๆ กัน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้ และแม้ทรัพย์สินดังกล่าวจะเกิดขึ้นในขณะที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันโดยยังมิได้ขาดจากการสมรสอยู่กับคู่สมรสเดิมก็หาเป็นเหตุขัดข้องในการขอแบ่งไม่ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินหลังสมรส: สิทธิของคู่สมรสในทรัพย์สินที่ได้มาหลังจดทะเบียนสมรส และขอบเขตการยกประเด็นใหม่ในคดี
คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวโดยไม่สืบพยานว่าจำเลยมีสิทธิจะไม่ขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมหรือไม่โดยคู่ความแถลงรับกันว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2524 จำเลยจดทะเบียนสมรสกับจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2525 อันถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้ว การที่จำเลยและจำเลยร่วมยกข้อโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันมาในฐานะหุ้นส่วน จำเลยร่วมจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นการตั้งประเด็นใหม่อีกหาอาจกระทำได้ไม่ ข้อโต้แย้งของจำเลยและจำเลยร่วมดังกล่าวอยู่นอกคำท้าศาลไม่รับวินิจฉัยให้
of 20