พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำผ่านสหภาพแรงงานมีผลผูกพันสมาชิก แม้จะไม่ได้ฟ้องร้องค้างเก่า
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานของจำเลยตกลงกันได้ว่าจำเลยตกลงนำเงินค่าครองชีพเดือนละ500บาทไปรวมกับเงินเดือนของพนักงานและพนักงานไม่ติดใจที่จะนำปัญหาการคิดคำนวณค่าล่วงเวลาย้อนหลังไปฟ้องร้องต่อไปอีกบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานของจำเลยต่อจำเลยผู้แทนทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อในบันทึกข้กตกลงที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้บันทึกไว้แล้วคู่กรณีนำไปจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมแรงงานจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นโดยชอบตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มีผลใช้บังคับและผูกพันคู่กรณีรวมทั้งโจทก์ทั้งหมดซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุดค่าล่วงเวลาในวันหยุดโดยนำค่าครองชีพไปรวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณย้อนหลัง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดสำหรับพนักงานขับรถ: การคำนวณอัตราการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมโจทก์เป็นพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถรับส่งพนักงานฝ่ายบริหารไปกลับระหว่างที่พักกับที่ทำงาน ไม่เกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม งานของโจทก์จึงเป็นงานอื่นจำเลยกำหนดเวลาทำงานปกติของโจทก์ได้สัปดาห์ละ 54 ชั่วโมงหรือวันละ 9 ชั่วโมงโจทก์ทำงานตั้งแต่เวลา 6.00 นาฬิกา เลิกงาน18.00 นาฬิกาเป็นเวลา 12 ชั่วโมงหักเป็นเวลาพัก 1 ชั่วโมง และเวลาทำงานปกติ 9 ชั่วโมงจำเลยจึงให้โจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติไปวันละ 2 ชั่วโมงฉะนั้นค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานในวันทำงานตลอด 24 ชั่วโมงระยะเวลา12ชั่วโมงแรกซึ่งมีการทำงานเกินเวลาทำงานปกติอยู่ 2 ชั่วโมงนั้น จำเลยรวมเอาค่าล่วงเวลาไว้ในค่าจ้างปกติด้วย กล่าวคือ เมื่อจำเลยจ่ายค่าจ้างปกติให้โจทก์แล้ว จึงได้จ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับ 2ชั่วโมงดังกล่าวแก่โจทก์ ส่วนระยะเวลา 12 ชั่วโมงหลังเมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นสองเท่าของค่าจ้างปกติเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงหนึ่งเท่าครึ่งจึงเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาครบถ้วนแล้วเช่นเดียวกัน
จำเลยให้โจทก์ทำงานในวันหยุดมีกำหนด 12 ชั่วโมง จึงมีการทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่ 2 ชั่วโมงด้วย จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นค่าทำงานในวันหยุดสำหรับ 2ชั่วโมงนี้เพียงสองเท่าของค่าจ้างปกติของวันทำงานเท่านั้นจึงขาดไปหนึ่งเท่า และจะถือว่าจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าที่ขาดรวมกับเงินเดือนไปแล้วก็ไม่ได้ เพราะในวันหยุดไม่มีการทำงานจึงไม่มีค่าล่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดสำหรับ 2 ชั่วโมงที่ยังขาดให้โจทก์
จำเลยให้โจทก์ทำงานในวันหยุดมีกำหนด 12 ชั่วโมง จึงมีการทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่ 2 ชั่วโมงด้วย จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นค่าทำงานในวันหยุดสำหรับ 2ชั่วโมงนี้เพียงสองเท่าของค่าจ้างปกติของวันทำงานเท่านั้นจึงขาดไปหนึ่งเท่า และจะถือว่าจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าที่ขาดรวมกับเงินเดือนไปแล้วก็ไม่ได้ เพราะในวันหยุดไม่มีการทำงานจึงไม่มีค่าล่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดสำหรับ 2 ชั่วโมงที่ยังขาดให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด: การคำนวณอัตราค่าจ้างและการจ่ายค่าล่วงเวลาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมโจทก์เป็นพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถรับส่งพนักงานฝ่ายบริหารไปกลับระหว่างที่พักกับที่ทำงานไม่เกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมงานของโจทก์จึงเป็นงานอื่นจำเลยกำหนดเวลาทำงานปกติของโจทก์ได้สัปดาห์ละ54ชั่วโมงหรือวันละ9ชั่วโมงโจทก์ทำงานตั้งแต่เวลา6.00นาฬิกาเลิกงาน18.00นาฬิกาเป็นเวลา12ชั่วโมงหักเป็นเวลาพัก1ชั่วโมงและเวลาทำงานปกติ9ชั่วโมงจำเลยจึงให้โจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติไปวันละ2ชั่วโมงฉะนั้นค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานในวันทำงานตลอด24ชั่วโมงระยะเวลา12ชั่วโมงแรกซึ่งมีการทำงานเกินเวลาทำงานปกติอยู่2ชั่วโมงนั้นจำเลยรวมเอาค่าล่วงเวลาไว้ในค่าจ้างปกติด้วยกล่าวคือเมื่อจำเลยจ่ายค่าจ้างปกติให้โจทก์แล้วจึงได้จ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับ2ชั่วโมงดังกล่าวแก่โจทก์ส่วนระยะเวลา12ชั่วโมงหลังเมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นสองเท่าของค่าจ้างปกติเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงหนึ่งเท่าครึ่งจึงเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาครบถ้วนแล้วเช่นเดียวกัน จำเลยให้โจทก์ทำงานในวันหยุดมีกำหนด12ชั่วโมงจึงมีการทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่2ชั่วโมงด้วยจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นค่าทำงานในวันหยุดสำหรับ2ชั่วโมงนี้เพียงสองเท่าของค่าจ้างปกติของวันทำงานเท่านั้นจึงขาดไปหนึ่งเท่าและจะถือว่าจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าที่ขาดรวมกับเงินเดือนไปแล้วก็ไม่ได้เพราะในวันหยุดไม่มีการทำงานจึงไม่มีค่าล่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดสำหรับ2ชั่วโมงที่ยังขาดให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149-2150/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้ไม่มีสิทธิค่าล่วงเวลา นายจ้างยังต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับการทำงานเกินเวลาปกติ
แม้ลูกจ้างซึ่งทำงานขนส่งจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาในชั่วโมงที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 36 (3) ก็ตาม แต่นายจ้างก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกตินั้น หาใช่ว่าเมื่อลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาแล้วจะถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับค่าจ้างธรรมดาไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2279-2280/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา: การทำงานนอกเวลาปกติ แม้มีช่วงพัก ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาเต็มตามเวลาที่ต้องประจำหน้าที่
นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างไว้แน่นอน และกำหนดให้วันเสาร์และวันอาทิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ การที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานนอกเหนือจากกำหนดเวลาดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันทำงานหรือทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์เกินกำหนดเวลาทำงานปกติหรือเกินกำหนดเวลาทำงานปกติของวันทำงานระยะเวลาซึ่งจะนำมาคำนวณค่าล่วงเวลาย่อมนับเวลาทั้งหมดคือ ตั้งแต่ลูกจ้างเริ่มทำงานนอกเวลาจนถึงเวลาหมดหน้าที่หรือเสร็จสิ้นการงานแม้ในระหว่างเวลาดังกล่าว ลูกจ้างมีงานทำเพียงบางครั้งบางคราวแต่เวลาที่ไม่มีงานทำลูกจ้างก็มีหน้าที่ต้องอยู่ประจำตามหน้าที่เพื่อรอรับคำสั่ง ต้องถือว่าลูกจ้างทำงานอย่างหนึ่งให้นายจ้าง นายจ้างจะจ่ายค่าล่วงเวลาโดยคิดเฉพาะระยะเวลาช่วงที่ลูกจ้างปฏิบัติงานเท่านั้นหาได้ไม่ นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาเต็มตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแทนค่าล่วงเวลาสำหรับงานขนส่งรถไฟ
จำเลยให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่เป็นนายสถานีหรือผู้ช่วยทำงานวันละ 12 ชั่วโมงมานานแล้ว โดยจำเลยจ่ายแต่เงินค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มให้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเท่านั้น และลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา เพราะงานที่ทำเป็นงานขบวนการจัดงานรถไฟและงานขนส่ง ดังนี้ ลูกจ้างต้องผูกพันได้รับเพียงค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว หามีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับเวลาที่ทำเกินวันละ 8 ชั่วโมงอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง, ค่าครองชีพเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลา, และดอกเบี้ยจากเงินที่ค้างจ่าย
กรณีที่สหภาพแรงงานและนายจ้างต่างแจ้งข้อเรียกร้องฝ่ายละหลายข้อ ซึ่งต้องแบ่งข้อเรียกร้องเจรจากันเป็นคราว ๆ ไป แม้ในการเจรจาคราวแรกจะตกลงกันได้และทำเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ในการเจรจาข้อเรียกร้องข้ออื่น ๆ ต่อมา สหภาพแรงงานก็มีอำนาจที่จะตกลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกได้ ดังนั้น เมื่อข้อตกลงในการเจรจาคราวแรกกำหนดเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จไว้ประการหนึ่ง แล้วต่อมาทำความตกลงเพิ่มเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จอีกประการหนึ่ง อันเป็นเงื่อนไขซึ่งจะตัดสิทธิของลูกจ้างที่จะกระทำผิดในอนาคต ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของลูกจ้างทั่วไปที่ได้รับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกอยู่ก่อนแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังนี้จึงมีผลใช้บังคับ
เมื่อค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลาฯ นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น การที่สหภาพแรงงานตกลงกับนายจ้างว่าไม่ให้นำค่าครองชีพมาเป็นฐานคำนวณจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงนี้จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง
ลูกจ้างฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากเงินบำเหน็จ ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดจากนายจ้างก่อนวันฟ้อง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างผิดนัดเมื่อใดจึงกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
เมื่อค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลาฯ นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น การที่สหภาพแรงงานตกลงกับนายจ้างว่าไม่ให้นำค่าครองชีพมาเป็นฐานคำนวณจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงนี้จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง
ลูกจ้างฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากเงินบำเหน็จ ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดจากนายจ้างก่อนวันฟ้อง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างผิดนัดเมื่อใดจึงกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจสหภาพแรงงานในการแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และฐานคำนวณค่าล่วงเวลา
กรณีที่สหภาพแรงงานและนายจ้างต่างแจ้งข้อเรียกร้องฝ่ายละหลายข้อ ซึ่งต้องแบ่งข้อเรียกร้องเจรจากันเป็นคราวๆไปแม้ในการเจรจาคราวแรกจะตกลงกันได้และทำเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ในการเจรจาข้อเรียกร้องข้ออื่นๆต่อมา สหภาพแรงงานก็มีอำนาจที่จะตกลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกได้ ดังนั้น เมื่อข้อตกลงในการเจรจาคราวแรกกำหนดเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จไว้ประการหนึ่ง แล้วต่อมาทำความตกลงเพิ่มเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จอีกประการหนึ่ง อันเป็นเงื่อนไขซึ่งจะตัดสิทธิของลูกจ้างที่จะกระทำผิดในอนาคต ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของลูกจ้างทั่วไปที่ได้รับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกอยู่ก่อนแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังนี้จึงมีผลใช้บังคับ เมื่อค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลาฯ นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น การที่สหภาพแรงงานตกลงกับนายจ้างว่าไม่ให้นำค่าครองชีพมาเป็นฐานคำนวณจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงนี้จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง ลูกจ้างฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากเงินบำเหน็จ ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดจากนายจ้างก่อนวันฟ้อง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างผิดนัดเมื่อใดจึงกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติของนายจ้าง นายจ้างก็ต้องจ่าย หากมีข้อตกลงเรื่องการระงับข้อพิพาท ไม่ตัดสิทธิฟ้องร้องต่อศาล
แม้โจทก์จะไม่ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานและไม่มีลายเซ็นรับรองของวิศวกรและโฟร์แมนในการทำงานล่วงเวลาตามข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาก็ตาม แต่ระเบียบตามข้อบังคับนี้เป็นเพียงวิธีปฏิบัติในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นหลักฐานและประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาเท่านั้น ทั้งมิได้กำหนดยกเว้นว่าลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาอีกด้วย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา จำเลยก็จะอ้างข้อบังคับดังกล่าวเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์หาได้ไม่
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใด ๆ ให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ" นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงากลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใด ๆ ให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ" นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงากลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา: ระเบียบวิธีปฏิบัติภายในบริษัทมิใช่เงื่อนไขตัดสิทธิ, สัญญาให้เสนอข้อพิพาทต่อเจ้าหน้าที่บรูไนมิได้ตัดสิทธิฟ้องร้องต่อศาลไทย
แม้โจทก์จะไม่ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานและไม่มีลายเซ็นรับรองของวิศวกรและโฟร์แมนในการทำงานล่วงเวลาตามข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาก็ตาม แต่ระเบียบตามข้อบังคับนี้เป็นเพียงวิธีปฏิบัติในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นหลักฐานและประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาเท่านั้นทั้งมิได้กำหนดยกเว้นว่าลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาอีกด้วยดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา จำเลยก็จะอ้างข้อบังคับดังกล่าวเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์หาได้ไม่
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใดๆให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ"นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใดๆให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ"นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้