คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าสินไหมทดแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารซึ่งเป็นรถมีขนาดใหญ่ถอยหลังคนที่อยู่ด้านหลังรถดังกล่าวมีโอกาสที่จะถูกรถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนได้ง่าย จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อน เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารถอยหลังชนและทับผู้ตายเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อนดังนี้เหตุรถโดยสารชนและทับผู้ตายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
โจทก์ที่ 1 ทำศพผู้ตายทั้งประเพณีไทยและจีนเนื่องจากผู้ตายเป็นคนเชื้อชาติจีน สิ้นค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 76,692 บาท เนื่องจากผู้ตายมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีค่าโดยสาร ได้รับเงินเดือน 8,317.75 บาท ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพจำนวนดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่ฐานานุรูปของผู้ตายแล้ว ที่ศาลล่าง-ทั้งสองกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเป็นเงินจำนวน 68,185 บาท จึงเป็นการสมควร
ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1461 วรรคสอง นั้น โจทก์ที่ 1 มีอายุ 47 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 50 ปี ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่โจทก์ที่ 1 เรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นระยะเวลา 10 ปีจึงเป็นระยะเวลาที่สมควร
ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรมีอายุเกิน 20 ปีเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะแล้ว และค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม จะต้องเป็นการขาดไร้อุปการะตามกฎหมายหาได้มีความหมายรวมไปถึงการขาดไร้อุปการะตามหน้าที่ศีลธรรมไม่ อีกทั้งในข้อที่บิดาจำต้องให้อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายนั้น ป.พ.พ.มาตรา 1564 บัญญัติให้บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 มิใช่ผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ โจทก์ที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 แม้ว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็จะได้รับค่าอุปการะเท่าที่อยู่ในข่ายตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม บัญญัติไว้กล่าวคือเท่าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเว้นแต่จะเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 เป็นผู้ทุพพลภาพ โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8แต่ละคนจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายนับแต่วันเกิดเหตุไปจนกระทั่งมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อันเป็นบุคคลที่พ้นจากภาวะผู้เยาว์และเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ หาใช่แต่ละคนมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะไปจนถึง 10 ปี นับจากวันเกิดเหตุไม่
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งแปดนั้นศาลได้กำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เป็นหนี้เงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระทันที จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ถ้าศาลเห็นว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมโดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของบุคคลผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถา ซึ่งค่าฤชา-ธรรมเนียมที่ผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถานั้นได้ยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ซึ่งจะต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้เป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนที่โจทก์ทั้งแปดชนะคดีได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้
หนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาและศาลฎีกากำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีขาดไร้อุปการะที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดน้อยลง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต: ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณี
ข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยในส่วนที่เป็นการประสบอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตเป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่งการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา889หาใช่การประกันวินาศภัยแต่เพียงอย่างเดียวไม่ซึ่งตามบทบัญญัติว่าด้วยการประกันชีวิตไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิได้อย่างกรณีการประกันวินาศภัยดังนั้นแม้โจทก์จะได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนจำนวน50,000บาทให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปโจทก์ก็หามีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิเพื่อฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดต่อความเสียหายจากสิ่งปลูกสร้างบกพร่อง ทำให้สต็อกสินค้าเสียหาย โจทก์มีสิทธิรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่2เป็นเจ้าของเสาโครงเหล็กและตาข่ายสนามฝึกกอล์ฟซึ่งจำเลยที่2ทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ออกแบบโครงสร้างได้ออกแบบผิดพลาดมาตั้งแต่แรกและไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิชาที่จะรับแรงปะทะจากพายุธรรมดาได้ทั้งก่อนเกิดเหตุได้มีสัญญาณบอกเหตุว่าโครงเหล็กบางส่วนล้มลงแม้ผู้รับเหมาก่อสร้างได้เสริมเหล็กค้ำยันโครงเหล็กก็กระทำเพียงบางส่วนแต่โครงสร้างยังเหมือนเดิมเมื่อปรากฏว่าพายุฝนในวันเกิดเหตุเป็นพายุฝนที่เกิดขึ้นตามธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติทำให้โครงเหล็กและตาข่ายซึ่งก่อสร้างไว้บกพร่องล้มลงทับคลังสินค้าซึ่งมีสต๊อกสินค้าของบริษัทล. ได้รับความเสียหายจำเลยที่2ซึ่งเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา434วรรคหนึ่ง แม้ว่าตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยได้ระบุไว้ในช่องหมายเหตุว่าการประกันภัยรายนี้ได้ขยายความคุ้มครองการสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดขึ้นจากลมพายุฯลฯเปียกน้ำฯลฯตามเงื่อนไขแนบท้ายกรมธรรม์ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดจากภัยพายุที่ทำให้สต็อกสินค้าของผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายไม่เกี่ยวกับการกระทำของบุคคลภายนอกก็ตามแต่พายุฝนที่เกิดขึ้นทำให้เสาโครงเหล็กและตาข่ายซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างของจำเลยที่2ล้มทับคลังสินค้าเป็นเหตุให้สต๊อกสินค้าของบริษัทล. เปียกน้ำฝนได้รับความเสียหายซึ่งจำเลยที่2เจ้าของสิ่งก่อสร้างต้องรับผิดชอบโจทก์ซึ่งรับประกันอัคคีภัยสต็อกสินค้าและประกันภัยความเสียหายต่อเนื่องจากบริษัทดังกล่าวและกรมธรรม์ประกันภัยอัคคีภัยให้ความคุ้มครองภัยอันเกิดจากพายุและน้ำฝนจึงเป็นผลต่อเนื่องมาจากความผิดของจำเลยที่2นั่นเองเมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทล. แล้วโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทล. ผู้เอาประกันภัยซึ่งมีต่อจำเลยที่2บุคคลภายนอกเพียงนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความประกันภัย: การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกินกำหนดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยร่วมทั้งสองสำนวนในวันที่ 30เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่จำเลยร่วมยื่นฎีกาว่า รับฎีกาจำเลยร่วมสำเนาให้โจทก์ทั้งสี่ให้จำเลยร่วมส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงให้ทราบภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา จำเลยร่วมจึงทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว ต่อมาปรากฏว่าส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2539ตามรายงานเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2539 หลังจากนั้นจำเลยร่วมไม่ได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบเพื่อดำเนินการต่อไปแต่อย่างใด ถือว่าจำเลยร่วมทิ้งฎีกาสำนวนแรกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174
จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยให้การเกี่ยวกับอายุความว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องในมูลละเมิดเหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526 โจทก์ไม่ติดใจใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาจากจำเลยร่วมมาแต่แรก คงมีจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่ใช้สิทธิเรียกให้จำเลยร่วมเข้ามารับผิด แต่ก็เพิ่งเรียกเข้ามาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531อันเป็นเวลาล่วงเลยจากวันเกิดเหตุถึง 5 ปี คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ดังนี้ จำเลยร่วมให้การโดยชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความเรื่องการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว แม้จำเลยร่วมจะยกบทกฎหมายขึ้นอ้างว่าขาดอายุความละเมิดตามมาตรา 448 ก็ตาม แต่ถ้าตัดข้อความคำว่า "ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448" ออกเสียคำให้การของจำเลยร่วมเกี่ยวกับอายุความในส่วนที่เหลือก็ยังพออนุมานได้ว่าจำเลยร่วมได้ยกอายุความตามมาตรา 882 ขึ้นต่อสู้แล้ว และการจะปรับบทมาตราใดเป็นหน้าที่ของศาลจะยกขึ้นปรับแก่คดี คำให้การของจำเลยร่วมจึงมีประเด็นเรื่องอายุความการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคแรก
คดีนี้เหตุวินาศภัยเกิดในวันที่ 5 กันยายน 2526 จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยถูกเรียกเข้ามาในคดีเพื่อให้รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อวันที่7 มิถุนายน 2531 เป็นเวลาล่วงเลยจากวันเกิดเหตุกว่า 2 ปี คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องค่าสินไหมทดแทนจากวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ยื่นในคดีเดิมได้ หากเกิดจากความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอ
การที่จำเลยซึ่งถูกบังคับโดยวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาจะยื่นคำร้องขอให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 263 (เดิม) มิใช่เป็นเรื่องโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งแต่เป็นเรื่องในคดีเดิมที่ศาลได้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยมีความเห็นหลงไปว่าสิทธิของผู้ขอมีข้อมูลหรือวิธีการนั้นมีเหตุผลเพียงพอ ทั้งนี้โดยความผิดหรือเลินเล่อของโจทก์ผู้ขอ ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องทำเป็นคำฟ้องต่างหาก เพียงแต่ยื่นคำขอเข้ามาในคดีเดิมก็ใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากคดีอาญาที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้รับฟ้องเพื่อพิจารณาค่าสินไหมทดแทน
เมื่อโจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองด้วยการนำข้อความเท็จมาฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นคดีอาญาในข้อหาว่าร่วมกันนำสืบหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีและร่วมกันเบิกความเท็จจนศาลชั้นต้นหลงเชื่อลงโทษจำคุกโจทก์ทั้งสองแต่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นฟ้องที่ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7224/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากยาฆ่าแมลง: ความรับผิดของผู้ฉีดพ่นและค่าสินไหมทดแทน
การที่จำเลยที่1และที่3ฉีดยาฆ่าแมลงในนาข้าวเพียง1สัปดาห์ซึ่งขณะนั้นยาดังกล่าวยังไม่ทันสลายตัวหมดก็ว่าจ้างให้ผู้ตายเข้าไปเกี่ยวข้างเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจึงเป็นการร่วมกันกระทำละเมิดต่อผู้ตาย ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่1เป็นค่าสินไหมทดแทนที่เป็นตัวเงินจำเลยที่1และที่3จะต้องชำระทันทีที่เกิดการละเมิดโจทก์ที่1จึงมีสิทธิได้รับนับแต่วันนั้นการที่โจทก์ที่1ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหาทำให้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนที่โจทก์ที่1ฟ้องเรียกเป็นค่าขาดไร้อุปการะมาระงับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยค้ำจุน แม้ผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมก่อนทำสัญญา แต่หากจ่ายค่าสินไหมทดแทนแล้ว ถือเป็นสัญญาที่ผูกพัน
จำเลยที่2ทำสัญญารับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้โดยในกรมธรรม์ระบุวันทำสัญญาประกันภัยเป็นวันหลังจากที่พ.ถึงแก่ความตายแต่ระบุชื่อผู้เอาประกันคือพ. หลังจากพ.ถึงแก่กรรมจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกของพ.ได้ดำเนินกิจการแทนพ. และได้จ้างอ.เป็นลูกจ้างและในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยอ. ได้ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแม้พ. ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนวันที่ทำสัญญาประกันภัยก็ตามแต่เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้วจำเลยที่2ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการที่รถยนต์บรรทุกสินค้าที่รับประกันภัยไว้เสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้แก่จำเลยที่1ไปจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกของพ. เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่2โดยตรงเหตุที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าพ.เป็นผู้เอาประกันภัยเป็นเรื่องผิดพลาดไปหรือเป็นการเข้าใจผิดของคู่กรณีเท่านั้นหาได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำสัญญาประกันภัยต่อกันไม่ดังนี้เมื่อจำเลยที่2เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองจึงฟ้องให้จำเลยที่2รับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้ ปัญหาว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่2รับประกันภัยไว้หรือไม่และจำเลยที่2ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเพียงใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ที่1จำนวน30,000บาทแก่โจทก์ที่2จำนวน50,000บาททุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่1และที่2แต่ละคนจึงไม่เกิน50,000บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งแม้ศาลฎีกาจะเห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ก็วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อัตราค่าทนายความตามตาราง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ว่าทุนทรัพย์เกิน25,000บาทอัตราค่าทนายความในศาลชั้นต้นขั้นสูงร้อยละ5นั้นการกำหนดค่าทนายความดังกล่าวคิดจากทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องหาใช่คิดจากจำนวนที่ศาลพิพากษาให้ไม่เพราะมิฉะนั้นแล้งหากศาลพิพากษายกฟ้องจะกำหนดค่าทนายความให้ไม่ได้เลยเมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่1จำนวน40,000บาทและโจทก์ที่2จำนวน521,700บาทการที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจำนวน25,000บาทจึงไม่เกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดแต่ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองรวมกันมาโดยไม่ได้แยกว่าให้ใช้แทนโจทก์คนไหนเท่าใดและให้จำเลยที่2ร่วมใช้แทนด้วยทั้งหมดเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6529/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน: สิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นเมื่อใด และคิดดอกเบี้ยได้เมื่อใด
รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เพิ่งซ่อมเสร็จหลังจากโจทก์ที่ 1ฟ้องคดีแล้ว แต่สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวมีต่อจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยบังเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันเกิดเหตุดังนั้น โดยนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 จึงชอบที่จะฟ้องเรียกดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลยนับแต่วันฟ้องซึ่งเป็นวันในระหว่างเวลาที่จำเลยผิดนัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6529/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนประกันภัยเกิดขึ้นตั้งแต่เกิดเหตุ แม้ซ่อมเสร็จหลังฟ้อง
รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เพิ่งซ่อมเสร็จหลังจากโจทก์ที่1ฟ้องคดีแล้วแต่สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่1ในฐานะผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวมีต่อจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยบังเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันเกิดเหตุดังนั้นโดยนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งโจทก์ที่1จึงชอบที่จะฟ้องเรียกดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลยนับแต่วันฟ้องซึ่งเป็นวันในระหว่างเวลาที่จำเลยผิดนัดได้
of 36